เช็กสิทธิประกันสังคมแบบง่ายๆ ว่ามีอะไรบ้าง แค่ใช้เลขบัตรประชาชน

เช็กสิทธิประกันสังคมแบบง่ายๆ

ประกันสังคมเป็นสิ่งที่ดูแลชีวิตของคนวัยทำงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ มนุษย์เงินเดือน ลูกจ้าง หรือคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ หากมีประกันสังคมไว้ก็จะช่วยให้เอื้อต่อการใช้สิทธิต่างๆ ดังนั้น จึงควรเช็กสิทธิประกันสังคมก่อนว่าตนเองมีสิทธิอะไรที่จะได้รับบ้าง เผื่อเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือยามจำเป็น

Table of Contents

ทำความรู้จักกับ ประกันสังคม

ทำความรู้จักกับ ประกันสังคม

ประกันสังคม คือ สวัสดิการของรัฐที่มอบแก่พนักงานและลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างและนายจ้างจะต้องสมทบทุนเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายกำหนด โดยจะหักจากเงินเดือนของพนักงาน 5% แต่ไม่เกิน 750 บาท/เดือน ซึ่งเป็นการสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ เสียชีวิต และอื่นๆ โดยก่อนลูกจ้างจะใช้สิทธิประกันสังคม ก็อย่าลืมเช็กประกันสังคมก่อนเพื่อความแน่ใจ

ผู้ประกันตนคือใคร

ผู้ประกันตนคือใคร

ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างหรือพนักงานที่ทำงานในบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างร้านต่างๆ โดยมีสัญญาว่าจ้างงานตามกฎหมายกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 : คือพนักงานประจำที่มีอายุมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี หากไม่แน่ใจให้เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ได้
  • ผู้ประกันตนสมัครใจตามมาตรา 39 : คืออดีตพนักงานประจำที่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน แล้วลาออกจากงานมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ หากต้องการเป็นผู้ประกันตนต่อต้องแจ้งกับสำนักงานภายใน 6 เดือน โดยจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ผู้ประกันตนอิสระตามมาตรา 40 : คือบุคคลที่ทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ และไม่เคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39 มาก่อน โดยต้องมีอายุ 15-60 ปี
วิธีเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยตนเอง

วิธีเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยตนเอง

เมื่อรู้กันแล้วว่าประกันสังคมคืออะไร ผู้ประกันตนคือใคร เรามาดูกันต่อที่วิธีการเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยตนเองว่ามีวิธีการไหนบ้าง ทำได้อย่างไร ไปดูกันเลยดีกว่า

เช็กสิทธิประกันสังคมผ่านเว็บไซต์

ผู้ประกันตนสามารถเช็กประกันสังคมออนไลน์ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th ประกันสังคมเช็กเงินสะสม โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th
  2. กดเข้าสู่ระบบ กรอกรหัสบัตรประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน (หากไม่เคยเป็นสมาชิก ให้เลือกสมัครสมาชิก)
  3. กดยอมรับข้อตกลงการใช้บริการ
  4. กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน
  5. สามารถเช็กสิทธิและเช็กประกันสังคมว่าขาดหรือยังได้เลย

เช็กสิทธิประกันสังคมผ่านแอปพลิเคชัน

อีกวิธีหนึ่งเป็นการเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเช็กประกันสังคม SSO Connect โดยสามารถโหลดได้ทั้ง iOS และ Android
  2. เปิดแอปพลิเคชัน กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน จากนั้นกดเข้าสู่ระบบ (หากยังไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อนให้เลือกสมัครสมาชิก)
  3. สามารถเช็กสิทธิประกันสังคมต่างๆ ได้เลย
เช็กสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับ

เช็กสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนจะได้รับ

สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง เราจะมาบอกสิทธิต่างๆ ให้ได้รู้กัน ซึ่งเป็นการเช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 และมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย โดยผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีสิทธิได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลตามที่กำหนด โดยไม่ต้องเสียค่ารักษา ยกเว้นต้องการห้องพิเศษ หรือการดูแลที่พิเศษยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง และสามารถแจ้งเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ ยังได้รับเงินทดแทนรายได้ระหว่างเจ็บป่วยอีกด้วย ใครที่กำลังสงสัยว่าตนเองมีสิทธิหรือไม่ ก็อย่าลืมไปเช็กสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลกันก่อนเพื่อความแน่ใจ

2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ซึ่งทางประกันสังคมจะออกค่าใช้จ่ายให้ตามจริง โดยหากเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะออกให้พร้อมค่าห้องไม่เกิน 700 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะจ่ายค่ารักษาให้ไม่เกิน 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามที่กำหนดเท่านั้น ที่สำคัญคืออย่าลืมไปเช็กสิทธิประกันสังคมว่าเรามีอยู่หรือเปล่าด้วย ไม่เช่นนั้นอาจต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดแทน

3. การรักษาฟัน

ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาฟัน เฉพาะการอุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน ปีละไม่เกิน 700 บาท ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่ลืมเช็กประกันสังคมก่อนไปทำฟันด้วย

4. กรณีคลอดบุตร

ผู้ประกันตนต้องสมทบเงินไม่ต่ำกว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนการคลอดบุตร โดยจะได้รับเงินไม่เกิน 15,000 บาทต่อครั้ง และจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงาน 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง รวมทั้งค่าตรวจและรับฝากครรภ์ตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ทางที่ดีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ควรรีบไปเช็กสิทธิประกันสังคมก่อนเลย

5. กรณีเงินสงเคราะห์บุตร

ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 12 เดือนภายใน 36 เดือนก่อนคลอดบุตร โดยบุตรแรกเกิดจนถึง 6 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์ 600 บาท/เดือน/คน ครั้งละไม่เกิน 3 คน โดยใครที่วางแผนจะมีบุตรควรเริ่มส่งเงินประกันสังคมไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และเช็กสิทธิประกันสังคมว่าสามารถใช้ได้สำหรับในกรณีนี้หรือไม่

6. กรณีทุพพลภาพ

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจไม่เกิน 40,000 บาทต่อคน ได้รับเงินค่าอุปกรณ์และอวัยวะเทียมอื่นๆ รวมทั้งค่าพาหนะเดือนละ 500 บาท โดยต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ ซึ่งสามารถเช็กประกันสังคมได้ตามวิธีที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น

7. กรณีชราภาพ

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินในกรณีชราภาพ เมื่ออายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดเป็นผู้ประกันตน โดยหากสมทบไม่ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับเพียงเงินบำเหน็จ แต่หากสมทบครบจะได้รับเงินบำนาญเป็นรายเดือนร้อยละ 20 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยสามารถเช็กเงินประกันสังคมได้จากเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของสำนักงานประกันสังคม

8. กรณีคนว่างงาน

หากใครกำลังว่างงาน ต้องไม่ลืมเช็กเงินว่างงานประกันสังคม ซึ่งเป็นสิทธิประกันสังคมสำหรับคนว่างงานสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ซึ่งจะต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะว่างงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน ดังนี้

  1. กรณีลาออก : ได้เงิน 30% ของเงินเดือน ปีละไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน
  2. กรณีเลิกจ้าง : ได้เงิน 50% ของเงินเดือน ปีละไม่เกิน 180 วัน หรือ 6 เดือน
  3. กรณีเหตุสุดวิสัย : ได้เงิน 50% ของเงินเดือน ปีละไม่เกิน 180 วัน หรือ 6 เดือน

9. กรณีเสียชีวิต

เป็นสิทธิประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33, 39 และ 40 ที่ทายาทจะได้รับในกรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ซึ่งสามารถไปเช็กสิทธิประกันสังคมด้วยเลขบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิตได้ผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือหากไม่รู้รหัสผ่านก็สามารถโทรเช็กได้กับสายด่วนประกันสังคม 1506 โดยจะแบ่งออกเป็น 3 สิทธิที่ทายาทผู้ประกันตนจะได้ดังนี้

1. เงินสงเคราะห์

ผู้ที่จะได้รับเงินสงเคราะห์จากประกันสังคมที่ผู้ประกันตนส่งไว้จะแตกต่างกัน โดยมีทั้งที่ผู้เสียชีวิตระบุไว้ ผู้เสียชีวิตไม่ได้ระบุไว้ และผู้เสียชีวิตไร้ญาติ ดังนี้

  • ผู้เสียชีวิตระบุไว้ : ผู้ที่จะได้รับเงิน คือ บุคคลที่ผู้ประกันตนระบุไว้
  • ผู้เสียชีวิตไม่ได้ระบุไว้ : ผู้ที่จะได้รับเงินจะได้แก่ สามี ภรรยา บิดา มารดา และบุตร โดยแบ่งให้เท่าๆ กัน
  • ผู้เสียชีวิตไร้ญาติ : ผู้ประกันตนต้องทำหนังสือให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผลประโยชน์ โดยมีพยาน 2 คน และเก็บหนังสือไว้ที่ผู้ประกันตนกับผู้รับผลประโยชน์คนละชุด

สำหรับผู้ประกันตนมาตราต่างๆ ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินไม่เท่ากัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 (ลูกจ้าง หรือ ลาออกแล้วยังส่งต่อ) : จะได้เงินสงเคราะห์ 2 เท่า จากเงินที่นำส่ง สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 36-120 เดือน และจะได้เงินสงเคราะห์ 6 เท่า จากเงินที่นำส่ง สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบ 120 เดือนขึ้นไป
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 : จะได้รับเงินสงเคราะห์ 8,000 บาท สำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบมาไม่ต่ำกว่า 60 เดือนก่อนเสียชีวิต

หากทายาทผู้เสียชีวิตต้องการทราบจำนวนเงินที่จะได้ สามารถเช็กเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์ได้เลย โดยเงินจะจ่ายให้กับทายาทวันที่ 4 หลังจากวันอนุมัติจ่าย

2. ค่าทำศพ

ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินค่าทำศพให้แก่ผู้จัดการศพตามที่ทำหนังสือรับรองเป็นผู้จัดงานศพของผู้ประกันตนในแต่ละมาตราแตกต่างกันไป ดังนี้

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 (ลูกจ้าง) : ได้เงินค่าทำศพ 50,000 บาท หากขาดส่งต้องมีจ่ายอย่างน้อย 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ลาออกแล้วยังส่งต่อ) : ได้เงินค่าทำศพ 50,000 บาท หากขาดส่งต้องมีจ่ายอย่างน้อย 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 : กลุ่มที่จ่ายเดือนละ 70 และ 100 บาทได้เงินค่าทำศพ 25,000 บาท และกลุ่มที่จ่ายเดือนละ 300 บาท และจ่ายมาไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้เงินค่าทำศพ 50,000 บาท

หากผู้จัดการศพไม่แน่ใจว่าผู้ประกันตนจัดอยู่ในมาตราไหนให้เช็กประกันสังคมของผู้เสียชีวิตก่อนได้ผ่านช่องทางต่างๆ

3. เงินชราภาพ

เงินชราภาพเป็นเงินสำหรับผู้ประกันตนที่เสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปีและหลัง 55 ปี โดยทายาทจะได้รับเงินเท่า ๆ กัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี : ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับที่ผู้ประกันตนจ่าย และผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่าย
  • ผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังอายุ 55 ปี : ทายาทจะได้รับเงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน หากเสียชีวิตภายใน 5 ปีหลังรับเงินบำนาญชราภาพ

สิ่งที่ควรรู้คือก่อนไปขอยื่นรับเงินจากประกันสังคม ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตาม อย่าลืมเช็กเงินประกันสังคมก่อนเสมอ เพื่อที่เราจะได้รู้จำนวนเงินที่ส่งไป ระยะเวลา และสิทธิต่างๆ ที่จะได้รับนั่นเอง

สรุป

การเช็กสิทธิประกันสังคมทำได้ทั้งผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของสำนักงานประกันสังคม ทำได้ง่ายๆ เพียงกรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่าน โดยมีสิทธิต่างๆ ที่ดูแลผู้ประกันตนในทุกมาตรา เพื่อให้รู้ไว้ก่อนว่าเงินประกันสังคมที่จ่ายไปทุกเดือน เราได้สิทธิอะไรบ้าง เมื่อต้องใช้สิทธิจะได้เลือกใช้ได้ถูกต้องเหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

16 กันยายน 2024
16 กันยายน 2024
16 กันยายน 2024
23 สิงหาคม 2024
23 สิงหาคม 2024
22 สิงหาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย