Table of Contents
ทำความรู้จัก บริษัท คืออะไร
นิยามของคำว่า บริษัท เป็นหลักการของการดำเนินกิจการต่างๆ ภายใต้การก่อตั้งและจดทะเบียนด้วยตัวบุคคลตั้งแต่ 3 คนเป็นต้นไป และจะมีการแบ่งทุนการจดบริษัทอย่างเป็นสัดส่วนตามที่กำหนดได้เอง หรือที่เรียกกันว่า การแบ่งหุ้นบริษัท ส่วนจุดประสงค์สำหรับการจัดตั้งกิจการประเภทบริษัท มีทั้งแบบบริษัทที่ก่อตั้งเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งเงินกำไรที่ได้รับมาก็จะต้องแบ่งให้กับผู้ถือหุ้นตามเปอร์เซ็นต์แต่ละคน และบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยไม่แสวงหากำไร ในส่วนนี้ผู้ถือหุ้นจะต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด บริษัทจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- บริษัทเอกชนจำกัด ประเภทบริษัทที่มีชื่อย่อคุ้นตากันดีอย่าง Co., Ltd หรือ Company Limited ตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นบริษัทที่มีสถานะแบบนิติบุคคล มีการแบ่งสัดส่วนจำนวนหุ้นจากผู้ถือหุ้นตามที่ต้องการได้เอง และราคาหุ้นขั้นต่ำอย่างน้อยต้องเริ่มต้นที่หุ้นละ 5 บาท โดยให้จำนวนหุ้นทั้งหมดมาจากการลงทุนของทางผู้ก่อตั้ง หรือที่เรียกกันว่า ผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และบริษัทเอกชนจำกัดไม่สามารถเปิดให้ประชาชนเข้าซื้อหุ้นหรือเข้าร่วมลงทุนทุกประเภทกับทางบริษัทได้
- บริษัทมหาชนจำกัด ประเภทบริษัทที่เรียกกันว่า Public Company Limited (PCL) เป็นรูปแบบการจัดตั้งบริษัทจากผู้ถือหุ้นจดทะเบียนร่วมกันตั้งแต่ 15 คนเป็นต้นไป และยังสามารถเปิดจำหน่ายหุ้นของบริษัทไปยังประชาชนทั่วไปให้เข้าระดมทุนได้ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลกลางของการดำเนินขั้นตอนนี้ ทำให้ผู้ถือหุ้นทุกคน ทุกกรณี จะมีสิทธิ์ในการออกเสียงหรือรับทราบกิจการต่างๆ ตามบทบาทและสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
ทำความรู้จัก ห้างหุ้นส่วน คืออะไร
ห้างหุ้นส่วน หรือชื่อที่พูดกันติดปากว่า หจก. เป็นการจัดตั้งรูปแบบกิจการที่จดทะเบียนได้ง่ายมาก โดยมีผู้ลงทุนจดทะเบียน หรือที่เรียกกันว่าผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนเป็นต้นไป และใช้เงินทุนที่น้อย พร้อมกับการแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นที่มีอัตราส่วนเท่าๆ กันทุกคน รวมถึงการแบ่งสัดส่วนของกำไรที่เฉลี่ยเท่าๆ กันตามสัดส่วนหุ้นด้วยเช่นกัน จึงถูกเรียกว่า ห้างหุ้นส่วน ตามความหมายด้านสิทธิ์การเป็นเจ้าของนั่นเอง ในด้านรูปแบบการจัดการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
- กิจการห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือแบบที่เรียกกันว่า กิจการเจ้าของคนเดียว (Ordinary Partnership) รูปแบบการจัดตั้ง หจก. นี้ หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบหนี้สินของกิจการต่างๆ ร่วมกัน และเจ้าของกิจการสามารถเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการสามารถใช้หนี้สินจากสินทรัพย์ส่วนตัวในการชำระด้วยได้ ด้านสิทธิ์การตัดสินใจดำเนินทิศทางกิจการจะต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทั้งหมด
- กิจการแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นรูปแบบการก่อตั้งที่ต้องเลือกว่าจะจัดผู้ถือหุ้นแบบไหน ระหว่างหุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง สัดส่วนการรับผิดชอบหนี้สินที่ให้รับผิดชอบเพียงแค่ส่วนการลงทุนของตนเองเท่านั้น ไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนของผู้จัดการร่วมด้วยได้ และหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง การรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดของกิจการแบบร่วมกันทุกคน โดยที่ทุกคนสามารถเป็นหุ้นส่วนร่วมของผู้จัดการได้เต็มสิทธิ์
ไขข้อข้องใจ บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน ต่างกันยังไง
จำนวนผู้ร่วมลงทุน
การลงทุน
การประชุมประจำปี
การปิดงบประมาณประจำปี
การทำบัญชี และการเสียภาษี
ค่าธรรมเนียม
ความรับผิดชอบในหนี้สิน
ความน่าเชื่อถือ
บริษัทกับห้างหุ้นส่วน มีอะไรเหมือนกัน
สิ่งที่เหมือนกันของการเลือกจดทะเบียนกิจการเป็นแบบบริษัทกับห้างหุ้นส่วน ที่เรียกได้ว่าเป็นข้อดีที่ยากต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการและผู้ลงทุนหลายๆ คน ดังนี้
- การหาเงินทุนจัดตั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วนสามารถทำได้ง่ายมาก และไม่ต้องยื่นโครงการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสามารถรวบรวมเงินทุนจากผู้ถือหุ้นตามจำนวนที่ต้องการจดทะเบียนร่วมกันได้เลย
- อัตราการจ่ายภาษีของทั้ง 2 รูปแบบจะเป็นการจ่ายอัตราภาษีก้าวหน้า หรือการจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเมื่อมีฐานภาษีเพิ่มตาม รวมถึงกฎหมายด้านการทำมาตรฐานบัญชีและด้านภาษีทั้งหมดก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน
- การปิดงบการเงินประจำปีจะต้องทำตามมาตรฐานเหมือนกันทั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วน
- ระยะเวลาของการดำเนินการก่อตั้งจดทะเบียนไม่แตกต่างกัน
จดทะเบียนแบบ บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน แบบไหนดีกว่ากัน
ข้อดีของการจดทะเบียนบริษัท
- การเลือกจดทะเบียนแบบบริษัท จะเหมาะกับการเน้นสร้างความน่าเชื่อถือเมื่อเข้าติดต่อลูกค้าจำนวนมาก หรือต้องมีการประสานงานกับทางองค์กรใหญ่ เน้นเป็นรูปแบบการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพสูง
- ด้านความเสี่ยงของการจดทะเบียนรูปแบบบริษัทเมื่อเกิดการขาดทุนหรือเกิดเป็นคดีความขึ้นมา ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเพียงแค่หุ้นที่ได้ลงทุนไปเมื่อตอนก่อตั้งเท่านั้น
- บริษัทยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถือหุ้นเสียชีวิต หรือถูกศาลสั่งฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย
- ในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นที่ลงทุนอยู่ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์ในการยึดทรัพย์ส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้
- ความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นทุกคนแบกรับจากการก่อตั้งบริษัทจะน้อยมาก เพราะทุกคนจะกระจายความเสี่ยงไปยังจำนวนหุ้นที่เฉลี่ยเท่าๆ กัน หรือรับผิดชอบเพียงแค่สัดส่วนตามที่ตนเองลงทุนไว้เท่านั้น
ข้อดีของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
- สำหรับการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจะคล้ายกับธุรกิจเล็กๆ ที่เปิดร่วมกันกับเพื่อนหรือครอบครัวเพราะมีขั้นตอนรายละเอียดการดำเนินการก่อตั้งที่ไม่ยุ่งยากเท่ากับบริษัท และใช้ทุนน้อยกว่ามาก จึงขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจการของคุณ สามารถเลือกได้ตามจุดประสงค์การดำเนินงานได้
- ความเสี่ยงของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของกลุ่มผู้ถือหุ้นทุกคนร่วมกันว่าจะต้องรับผิดชอบรวมทั้งหมดด้วยกัน หรือรับผิดชอบแค่ส่วนที่ตนเองได้ลงทุนไปเท่านั้น
- ทุนสำหรับการใช้จดทะเบียนก่อตั้งห้างหุ้นส่วน สามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนขั้นต่ำเท่าไรก็ได้ และยังสามารถใช้ทุนเป็นด้านแรงงานที่ต้องดำเนินการร่วมกับผู้จัดการ หรือใช้เป็นทรัพย์สินแทนก็ได้ จึงง่ายในการเริ่มต้นอย่างรวดเร็วและความเสี่ยงน้อย
- ค่าธรรมเนียมของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนน้อยมากกว่าการจดทะเบียนบริษัทถึง 5 เท่า โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถเชิญชวนบุคคลอื่นเข้ามาร่วมกิจการในฐานะการลงทุนแบบแรงงานแทนเงินทุนด้วยได้ เพื่อต่อยอดทักษะสำหรับการทำธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น โดยที่ใช้เงินทุนน้อยมากด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการจดทะเบียนเพื่อดำเนินการขยายความมั่นคงให้กับกิจการทั้งสองรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างก็มีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ลงทุนว่าสนใจต่อยอดหรือเริ่มต้นทำธุรกิจประเภทใด มีทิศทางการบริหารด้วยจุดประสงค์แบบไหน แล้วค่อยดึงจุดเด่นความแตกต่างระหว่าง หจก. กับบริษัทมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับว่าข้อดีและข้อเสียของแต่ละประเภทจะตอบโจทย์กับกิจการของเราหรือไม่
สรุป
เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง พร้อมทั้งข้อดีของทั้งการจดทะเบียนบริษัทและการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนไปแล้ว พอจะเห็นภาพขึ้นมาบ้างหรือยังว่าธุรกิจที่คุณกำลังจะทำนั้นเหมาะกับการจดทะเบียนแบบใดมากกว่ากัน ขอให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการจดทะเบียนจะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เข้ามากำหนดทิศทางธุรกิจของคุณ
รับรองว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะช่วยไขข้อสงสัยให้กับเจ้าของกิจการได้อย่างแน่นอน กับคำถามยอดนิยมว่าควรเลือกจดทะเบียนบริษัทกับหจก.แบบไหนดีกว่า อาจสรุปได้ว่าต้องพิจารณาข้อมูลโดยรวมหลายๆ ด้าน ร่วมกับจุดประสงค์ในการบริหารและรูปแบบของธุรกิจสำหรับของคุณด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น การเลือกกระจายความเสี่ยงจากการเริ่มต้นจดทะเบียนให้เหมาะสมจึงง่ายต่อการเติบโตได้รวดเร็วขึ้น