หลังจากที่จบการศึกษา เส้นทางชีวิตของหลายคนคงเข้าสู่วงจรของมนุษย์เงินเดือน และคำถามต่อมาที่จะเข้ามาในความคิดของคุณคือ จะต้องยื่นภาษีไหม? หรือยื่นภาษีอย่างไร? ซึ่งในปัจจุบันนี้มีวิธียื่นภาษาออนไลน์เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการดำเนินเรื่องเกี่ยวกับภาษี และในบทความชิ้นนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ พร้อมกับเทคนิคลดหย่อนที่เด็กจบใหม่ต้องรู้ จะมีรายละเอียดที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?
สิ่งแรกที่คุณจะเป็นต้องรู้ก่อนคือ นิยามของคำว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” นั้นมีความหมาย และเกี่ยวข้องกับคุณอย่างไร โดยกรมสรรพากรซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้นิยามไว้ว่า “ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป..”ใครที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบ้าง?
เมื่อได้รู้นิยาม และความหมายที่แท้จริงของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันไปแล้ว คำถามต่อมาที่หลายคนสงสัยคือ ใครบ้างที่ต้องทำเรื่องยื่นภาษี คำตอบคือ คนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณีตามสถานะคือ โสด และสมรสแล้ว- คนโสด
- คนสมรสแล้ว
เอกสารที่ต้องใช้ยื่นภาษีมีอะไรบ้าง?
การยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงช่องทางเดียว และ 2. ภ.ง.ด. 90 สำหรับผู้ที่มีรายได้ช่องทางอื่นๆ นอกจากเงินเดือน แต่ทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับการยื่นภาษีตามรายละเอียด ดังนี้- ใบ 50 ทวิ หรือหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะเป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้ตลอดทั้งปีที่มีการหักชำระกองทุน และเงินทุนสำรองต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย
- รายการต่างๆ ที่เตรียมไว้เพื่อลดหย่อนภาษี ตัวอย่าง ค่าลดหย่อนคู่สมรส, ค่าลดหย่อนบุตร, ค่าลดหย่อนบิดามารดา, ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือค่าฝากครรภ์และทำคลอด เป็นต้น
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อประกอบการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี ตัวอย่าง ประกันสุขภาพ, กองทุนเบี้ยประกันชีวิต หรือรายการซื้อสินค้า และบริการต่างๆ เองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
วิธีการยื่นภาษีออนไลน์แบบง่ายๆ
การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเรื่องใกล้ตัว และควรทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เพราะทุกคนที่มีรายรับจำเป็นต้องเสียภาษีนั้นเอง ระบบการจัดการด้านภาษีในปัจจุบันเป็นเรื่องสะดวก และเข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น เมื่อมีวิธียื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ E-filing ของกรมสรรพากรที่พร้อมใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยขั้นตอนพื้นฐานมีดังต่อไปนี้1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ลำดับแรกเข้าไปยังหน้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร เมื่อเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์แล้ว ให้ทำการกดเข้าสู่เมนู “ยื่นแบบออนไลน์” หากใครที่นี่เป็นการเข้าครั้งแรก และยังไม่มีบัญชีกับทางเว็บไซต์ ให้ทำการสมัครสมาชิกก่อน เพื่อเปิดบัญชีใช้งาน โดยจะต้องกรอกแบบฟอร์มที่ทางเว็บไซต์มีให้ครบถ้วน2. เข้าระบบ E-filing ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
หากคุณทำการสมัครสมาชิก และเปิดบัญชีกับทางเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไปที่หน้าต่างเข้าระบบ E-filing ของกรมสรรพากรได้เลย โดยที่หน้านี้คุณจะต้องทำการกรอกเลขบัตรประชาชนในช่องชื่อผู้ใช้งาน และกรอกรหัสผ่านที่ทำการตั้งค่าไว้ เมื่อกดตกลงแล้ว ระบบจะทำการส่งรหัสยืนยันตัวตน หรือรหัส OTP เข้ามายังเบอร์โทรศัพท์มือถือของคุณ3. เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91
หน้าต่างจะปรากฏรายละเอียดเงื่อนไข และข้อตกลงในการใช้งานระบบของสรรพากรให้คุณยอมรับ และเข้าสู่ระบบของเว็บไซต์ พร้อมกดเลือก “ยื่นแบบออนไลน์” ประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/914. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษีให้ถูกต้อง
เมื่อหน้าจอโหลดเข้ามาสู่หน้าต่างถัดมา จะสังเกตได้ว่าหน้าต่างจะมีแบบฟอร์มข้อมูลผู้เสียภาษีให้คุณทำการใส่รายละเอียดตามแบบฟอร์มทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชื่อ-นามสกุล, เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, วัน-เดือน-ปีเกิด, สถานที่ที่สามารถติดต่อได้ และอื่นๆ ควรตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะกดยืนยันเพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ ถ้าตรวจสอบมั่นใจแล้วก็กดถัดไปได้เลย5. กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน
ข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นการใส่รายละเอียดเกี่ยวกับเงินเดือนที่คุณได้รับมา โดยจะอยู่ในเอกสารอย่างใบ 50 ทวิ ที่เป็นหนังสือรับรองภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งข้อมูลที่ต้องนำมาใส่คือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่คุณทำงานซึ่งในแบบฟอร์มจะเขียนว่า ผู้จ่ายเงินได้ นั้นเอง ในกรณีที่คุณทำการย้ายบริษัทก็จำเป็นต้องขอใบ 50 ทวิมาเพื่อกรอกข้อมูลส่วนนี้ด้วยทุกครั้งที่ทำการยื่นภาษี6. กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ที่มี
ในส่วนนี้จะเป็นการลดหย่อนภาษี หากใครที่มีเอกสาร หรือสิทธิในการลดหย่อนภาษีได้เช่น ค่าลดหย่อนคู่สมรส, ค่าลดหย่อนบุตร, ค่าลดหย่อนบิดามารดา, ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือค่าฝากครรภ์และทำคลอด เป็นต้น ให้นำมาใส่ข้อมูลในส่วนนี้ หากตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ให้กดถัดไปเพื่อดำเนินการต่อ7. ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี
หน้าต่างจะปรากฏการคำนวณภาษีที่คุณต้องชำระโดยอัตโนมัติ ให้คุณตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดให้ดีเพื่อป้องกันการผิดพลาด ในกรณีที่คุณทำการจ่ายภาษีไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพบว่ามีจำนวนเงินที่จ่ายไปเกิน สามารถที่จะขอคืนเงินภาษีกลับคืนได้ หรือจะเลือกบริจาคให้กับพรรคการเมืองก็ยังได้อีกด้วย หากตรวจสอบ และพบว่าทุกอย่างถูกต้องก็สามารถกดถัดไปเพื่อยืนยันการยื่นภาษีออนไลน์ต่อได้เลย8. ยืนยันการยื่นแบบ
หน้าต่างสุดท้ายจะปรากฏขึ้น ในส่วนนี้จะเป็นการยืนยันการยื่นภาษีออนไลน์ให้คุณตรวจสอบอีกครั้งเพื่อความแน่ใจในข้อมูลที่กรอกมา หากไม่มีอะไรที่ผิดเพี้ยนก็กดยืนยันการยื่นภาษีแบบออนไลน์เพื่อสิ้นสุดวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ แน่นอนว่าในส่วนนี้จะมีคนที่ทั้งเสียภาษีเกิน, เสียภาษีเพิ่ม และบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษี โดยบุคคลที่เสียภาษีเกิน สามารถที่จะรับเงินภาษีคืนได้ ทางกรมสรรพากรจะทำการอนุมัติเงินทันที คุณสามารถที่จะเลือกรับเงินได้ผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น พร้อมเพย์ หรือบัญชีของธนาคารกรุงไทย ซึ่งสามารถติดตามเส้นทางการเงินในส่วนนี้ได้ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร กรณีที่คุณต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้กับทางกรมสรรพากร สามารถที่จะชำระได้หลายช่องทางตามความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น QR Code, E-Payment, Internet Credit Card, ATM on Internet, บัตรภาษี หรือจะเลือกใช้บริการอื่นๆ อย่าง Counter Service หรือ Tele-Banking ก็สามารถชำระภาษีเพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ทั้งสิ้น สุดท้ายนี้ หากคุณไม่มีการกำหนดให้ต้องเสียภาษี ระบบจะทำการยื่นแบบ และหมายเลขอ้างอิงเพื่อออกเอกสารรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมกับใบเสร็จรับเงินให้อัตโนมัติ คุณสามารถใช้เอกสารในส่วนนี้เพื่อเป็นการยืนยันการยื่นภาษีออนไลน์ของตัวเองได้เทคนิคการลดหย่อนภาษีที่ควรรู้ไว้
หน้าที่การจ่ายภาษีเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในหน้าที่พลเมืองชาวไทย แต่มีหลายเรื่องพอตัวเลยทีเดียว ที่ผู้คนยังไม่รู้ และไม่เข้าใจดีพอเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี เพื่อให้คุณได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และนำเงินไปใช้ประโยชน์ในส่วนอื่นได้ โดยวิธีการลดหย่อนภาษีนี้ก็เป็นการดีกับทั้งตัวคุณเอง และการลงทุนในอนาคต เพราะคุณสามารถที่จะซื้อประกันภัย ลงทุนกองทุนรวม หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ และนำมาลดหย่อนภาษีได้ เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้กันแล้วว่าจะมีลู่ทางใดบ้างในการลดหย่อนภาษี ไปติดตามเนื้อหาที่นำมาฝากกันได้เลย ดังนี้ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
รายการค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว มีรายละเอียดดังนี้- 1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- 2.ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท
- 3.ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- 4.ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท
- 5.ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเอง และของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท
- 6.ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการ หรือบุคคลทุพพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
รายการค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน มีรายละเอียดดังนี้- 1.เงินประกันสังคม สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท
- 2.เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- 3.เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
- 4.เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
- 5.เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- 6.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF : Retirement Mutual Fund สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- 7.กองทุนรวมเพื่อการออม หรือ SSF : Super Saving Funds สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
- 8.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- 9.กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
- 10.เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
รายการค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค มีรายละเอียดดังนี้- 1.เงินบริจาคทั่วไป สูงสุดไม่เกิน 10%
- 2.เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สูงสุดไม่เกิน 10%
- 3.เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง ไม่เกิน 10,000 บาท
ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
รายการค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ มีรายละเอียดดังนี้- 1.โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- 2.ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
รวมตัวช่วยคำนวณภาษีและวางแผนสำหรับการลดหย่อน
ใครที่อ่านรายละเอียดมาทั้งหมดนี้แล้ว รู้สึกว่าการคำนวณภาษีเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และยังมีข้อสงสัยในการวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษี ปัจจุบันมีเครื่องมือที่จะช่วยในการคำนวณ พร้อมกับช่วยในการวางแผนลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะกันอีกด้วย จะมีโปรแกรมคำนวณภาษีออนไลน์อะไรบ้างไปติดตามกันได้เลย ดังนี้- 1. RD Smart Tax
- 2. เว็บไซต์ของธนาคาร
- 3. iTAX Pro