ทำความรู้จักการทำงานแบบ Hybrid Working รูปแบบการทำงานทางเลือก มัดใจเด็กจบใหม่

Hybrid Working

อย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่ว่าการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ส่งผลวิถีชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปหลายด้าน ไม่เว้นรูปแบบการทำงานที่จากเดิมต้องเดินทางเข้าออฟฟิศทุกวันก็เปลี่ยนเป็นทำงานจากบ้านหรือ Work from home รับส่งงานสื่อสารผ่านแอพพลิเคชั่น Line และประชุมกันผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom, Google Meet, Microsoft Teams หรือ Skype เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยที่พนักงานไม่ต้องเสี่ยงติดโรค COVID-19 อย่างไรก็ตามกลับกลายเป็นว่าพนักงานส่วนใหญ่ชอบการทำงานรูปแบบนี้มากกว่าการทำงานแบบเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน โดยที่ประเทศอเมริกาพนักงานกว่า 55% ต้องการรูปแบบการทำงานแบบเข้าออฟฟิศสลับกับการทำงานที่ใดไหนก็ได้ ในขณะที่กลุ่มนายจ้างในสหราชอาณาจักรมีการคาดการณ์ว่าอัตราส่วนของการทำงานแบบ work from home จะเพิ่มขึ้นจาก 18% เป็น 37% แต่การ work from home อย่างเดียวเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาขาดปฏิสัมพันธ์ในขององค์กรและก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตตามมาภายหลัง ดังนั้นจึงทำให้ hybrid working คือ รูปแบบการทำงานที่ตอบโจทย์และกำลังได้รับความนนิยมและในอนาคตที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

Table of Contents


Hybrid Working คืออะไร ทำไมจึงเป็นที่นิยม

Hybrid Working คืออะไร ทำไมจึงเป็นที่นิยม

ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า hybrid working มีรูปแบบเดียวกับ work from home เนื่องจากถูกพูดถึงเป็นวงกว้างในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 เหมือนกัน แต่ในความจริงแล้ว hybrid working คือ การผสมผสานรูปแบบการทำงานแบบเดิมที่ให้พนักงานทำงานในออฟฟิศกับแบบใหม่ที่ให้พนักงานทำงานที่ใดก็ได้เหมือนการ  work from home เข้าด้วยกัน โดยบ้างออฟฟิศอาจเลือกกำหนดให้พนักงานเข้าออฟฟิศอย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์ ส่วนวันอื่นๆ สามารถทำงานที่ใดก็ได้ตามสะดวก แต่ถึงอย่างนั้นก็มีไม่น้อยที่เลือกให้อิสระพนักงานอย่างเต็มที่ด้วยการไม่กำหนดวันเข้าออฟฟิศต่อสัปดาห์หรือต่อเดือนและให้พนักงานเข้าออฟฟิศเฉพาะมีประชุมหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเท่านั้น จากประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่ต่างไปจากเดิมทำให้ hybrid working ได้รับความนิยมและมีการกำหนดเป็นนโยบายการทำงานหลักในบริษัทชื่อดังระดับโลก ทั้งบริษัท Microsoft ที่ให้พนักงานทำงานที่บ้านได้สูงสุด 50%ของเวลาทำงานทั้งหมด บริษัท Google และ Twitter ให้พนักงานทำงานที่บ้านได้และไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ 100% และบริษัท Uber กำหนดให้พนักงานเข้าออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์ สำหรับประเทศไทยปัจจุบันเริ่มมีการนำ hybrid working มาใช้ในการทำงานแล้วเช่นกัน เช่น บริษัท AXA Partners ในเครือ AXA GROUP บริษัทประกันภัยอันดับสองของโลก บริษัท ทิงค์เน็ต ผู้จัดทำและให้บริการแพลตฟอร์มหางานสัญชาติไทย และบริษัท ไปด้วยกันมั้ย บริษัทพัฒนาระบบซอฟแวร์ชื่อดังของไทย เป็นต้น

เพราะโควิด-19 จึงเกิด Hybrid Working 

เพราะโควิด-19 จึงเกิด Hybrid Working 

แม้ว่า hybrid working คือ รูปแบบการทำงานที่เริ่มมีการในบ้างบริษัทมา แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า COVID-19 เป็นตัวกระตุ้นให้การทำงานรูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น  เพราะในระหว่างการระบาดของ COVID-19 หลายๆ บริษัทจำเป็นต้องปรับการทำงานส่วนใหญ่ให้เป็นแบบ work from home แต่ก็มีพนักงานบ้างส่วนที่ไม่สามารถ  work from home และจำเป็นต้องเดินทางมาทำงานตามปกติ ซึ่งข้อดีคือ ทำให้ทราบว่างานส่วนไหนจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ 100% งานส่วนไหนดำเนินการได้ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ และหากนำเรื่องต้นทุนมาพิจารณาก็คงต้องยอมรับว่า Hybrid Working เป็นรูปแบบการทำงานที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยไม่ต้องใช้ออฟฟิศขนาดใหญ่และลดต้นทุนค่าสาธารณูปโภคได้พร้อมๆ กัน แต่ทั้งนี้การนำ Hybrid Working Model มาใช้ประกอบด้วย 3 สิ่งหลักๆ ได้แก่

  • People หมายถึง ความต้องการของพนักงานที่มีต่อรูปแบบการทำงานแบบใหม่ เพราะถึงจะมีการสำรวจว่ากลุ่มพนักงานในหลายๆ บริษัทที่นำเอา Hybrid Working Model มาใช้เกินกว่าครึ่งจะมีความรู้สึกพึงพอใจ แต่อาจไม่ใช่กับทุกบริษัทที่พนักงานพอใจ หากบังคับใช้โดยที่พนักงานไม่ต้องการอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานและจิตใจของพนักงาน จึงจำเป็นต้องประเมินความต้องการของพนักงานด้วย
  •  Place หมายถึง การจัดพื้นที่ภายในออฟฟิศให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working Model เช่นการจัดพื้นที่โซนออฟฟิศทั่วไปสำหรับพนักงานที่มาทำงานปกติและจัดพื้นที่โซน Flexible Workplace หรือ Satellite Office สำหรับรองรับการทำงานของพนักงานกลุ่ม Hybrid Working
  • Technology หมายถึง เครื่องมือที่ทำให้องค์กรตัดสินใจบริหารงานและวิเคราะห์ Insight Data ได้อย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนจัดการพื้นที่ภายในออฟฟิศได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

สิ่งที่ทำให้เด็กจบใหม่เลือกทำงานในระบบ Hybrid Working

สิ่งที่ทำให้เด็กจบใหม่เลือกทำงานในระบบ Hybrid Working

หากถามว่าระบบ Hybrid Working ทำงานถูกใจคนกลุ่มไหนมากที่สุด แน่นอนว่าคำตอบนั้นหนีไม่พ้นเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นวัยทำงาน เพราะ hybrid working คือ รูปแบบการทำงานที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากกว่าการทำงานแบบเดิมที่ต้องตื่นเช้า ฝ่ารถติด เดินทางไปทำงานในออฟฟิศในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • การเพิ่มความรู้สึกเป็นอิสระทางมากขึ้น ส่งผลดีกับประสิทธิภาพการทำงาน
  • ชีวิตที่มีความยืดหยุ่น ปรับสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้ง่ายกว่าการทำงานรูปแบบเดิม เหลือเวลาในการพักผ่อน ท่องเที่ยว หรือพัฒนาตัวเองมากขึ้น
  • การทำงานรูปแบบ Hybrid Working ช่วยให้พนักงานประหยัดค่าเดินทางและค่าอาหาร เพราะมาทำงานที่ออฟฟิศย่อมเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า
  • เป็นลักษณะงานที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า ทำให้อุ่นใจเรื่องโรคระบาดมากขึ้น ทั้งโรค COVID-19 และกลุ่มโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

Hybrid Working มีกี่รูปแบบ?

ถึงนิยามของรูปแบบการทำงาน hybrid working คือ การทำงานที่ออฟฟิศสลับกับการทำงานที่บ้านหรือสถานที่ได้ ทำให้มีคนเข้าใจว่า hybrid working  หมายถึงพนักงานมีสิทธิ์เข้าทำงานได้อย่างอิสระ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดมหัสต์  เพราะกำหนดรูปแบบการทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายและเป้าหมายของแต่ละบริษัท  โดยการจัดรูปแบบที่นิยมใช้กันทั่วไปมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ 

พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้

พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้

รูปแบบแรก hybrid working คือ การกำหนดให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ หรือ work from anywhere หรือ  Remote Working โดยพนักงานสามารถตัดสินใจวันหรือเวลาในการเข้าออฟฟิศได้อย่างอิสระ ไม่มีการบังคับหรือตรวจสอบการเข้างาน  สำหรับการทำงานรูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทที่มีการกำหนดหน้าที่ให้กับพนักงานรายบุคคลแบบหนึ่งงานหนึ่งคน 

ข้อดี

  • ทั้งพนักงานและบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ฝ่ายพนักงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาทำงาน  ในขณะเดียวกันเมื่อพนักงานที่นั่งในออฟฟิศน้อยลงบริษัทเองก็สามารถลดขนาดออฟฟิศและโต๊ะทำงานได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความแออัด  
  • หมดปัญหาเรื่องระยะทาง เพราะบริษัทสามารถจ้างงานพนักงานในต่างประเทศได้ง่ายกว่า ซึ่งนอกจากบริษัทจะได้พนักงานเก่งๆ มาทำงานให้องค์กรแล้ว ด้านพนักงานเองก็ได้ประสบการณ์ด้านภาษาและมุมมองใหม่ๆ จากการทำงานร่วมกับชาวต่างชาติอีกด้วย
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เพราะหลังจากที่ทั่วโลกจำเป็นต้องจัดรูปแบบการทำงานแบบ Work from home ในช่วงโควิด ทำให้บริษัทพบว่าเมื่อไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลาเข้าทำงาน พนักงานส่วนใหญ่โฟกัสกับการทำงานมากขึ้น ผลงงานที่ได้จึงมีประสิทธิภาพสูงขึ้นตามไปด้วย

ข้อเสีย

  • การติดต่อสื่อสารที่ยากขึ้น เพราะพนักงานไม่ได้อยู่รวมกันที่เดิมแบบการทำงานรูปเก่า จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานงานผ่านแอพพลิเคชั่น หากมีพนักงานคนใดคนหนึ่งไม่ตอบกลับหรือตอบล่าช้าส่งให้งานล่าช้าเสียหายตามมา อีกทั้งยังอาจมีปัญหาเรื่องทีมเวิร์คภายในทีมจากการที่พนักงานไม่มีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
  • บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณเรื่องซอฟแวร์มากขึ้น เพราะอีกหนึ่งในหัวใจสำคัญของ hybrid working คือ ซอฟแวร์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของพนักงานที่อยู่ต่างสถานที่กัน จึงทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในส่วนนี้มากขึ้น
  • เสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลมากกว่า เพราะการให้พนักงานทุกคนทำงานที่ใดก็ได้จะควบคุมการทำงานได้ยากกว่า ซึ่งในกรณีที่งานที่เป็นความลับระหว่างบริษัทและลูกค้าอาจต้องถึงขั้นร่างหนังสือสัญญาปกปิดความลับกับพนักงานก่อนเริ่มทำงานเลยก็ได้ 
  • กรณีที่มีทั้งกลุ่มพนักงานที่ทำงานในรูปแบบเดิมและกลุ่มพนักงานแบบ hybrid working อาจต้องปรับพื้นที่ออฟฟิศให้กลายเป็น hybrid office แยกโซนระหว่างพนักงานที่มาทำงานทุกวันกับพนักงานกลุ่ม work from anywhere ที่บางวันอาจต้องเข้ามาทำงานในออฟฟิศ เพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานซึ่งกันและกัน

Flexible Working Policy

Flexible Working Policy

รูปแบบที่สองของ hybrid working คือ Flexible Working Policy เป็นรูปแบบการทำงานที่มีการกำหนดวันเข้าทำงานในออฟฟิศและวันที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศอย่างชัดเจน ทำให้การจัดรูปแบบการทำงานแบบนี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ วันที่พนักงานต้องเข้าออฟฟิศและสถานที่ทำงานที่เหมาะสมต่อการทำงาน สำหรับการทำงานรูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่มีทั้งงานที่ต้องทำในออฟฟิศและแบบที่สามารถทำที่ใดก็ได้

ข้อดี

  • ประหยัดค่าสาธารณูปโภคมากขึ้น เพราะพนักงานไม่ได้เข้าออฟฟิศแบบเต็มวัน 5 – 6 วัน เหมือนรูปแบบเดิม
  • การทำงานและรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนร่วมงานไปพร้อมกัน ซึ่งส่งผลให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสีย

  • การจัดรูปแบบการทำงานแบบ Flexible Working Policy มีข้อเสียคล้ายกับการทำงานแบบwork from anywhere ในเรื่องของการติดต่อประสานงานในวันที่พนักงานทำงานนอกออฟฟิศ การจัดหาซอฟแวร์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของพนักงาน และมีโอกาสที่ความลับของบริษัทจะรั่วไหลได้เช่นกัน
  • เนื่องด้วยวันและเวลาในการเข้าออฟฟิศเป็นเรื่องสำคัญของการทำงานรูปแบบนี้ จึงต้องพิจารณากำหนดการอย่างละเอียด เพราะหากกำหนดไม่ชัดเจนอาจส่งกระทบต่อการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนใหญ่ในบริษัทได้ 

สร้างสำนักงานย่อย (Satellite Office)

สร้างสำนักงานย่อย (Satellite Office)

รูปแบบที่สามของ hybrid working คือ การสร้างสำนักงานย่อย หรือ Satellite Office ซึ่งการทำงานรูปแบบนี้ไม่เน้นที่การกำหนดวันทำงาน แต่จะสร้างออฟฟิศย่อยกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ใกล้กับพื้นที่พักอาศัยของพนักงานส่วนใหญ่ ช่วยให้พนักงานสะดวกในการเดินทางมาทำงาน สำหรับการทำงานรูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทใหญ่ที่งานส่วนใหญ่ต้องทำในออฟฟิศ แต่ต้องการกระจายธุรกิจไปยังจุดต่างๆ  

ข้อดี

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าสำนักงานและค่าสาธารณูปโภคของออฟฟิศ เพราะไม่จำเป็นต้องหาสถานที่ทำงานที่มีขนาดใหญ่
  • การกระจายสำนักงานไปยังชานเมืองจะช่วยให้พนักงานรู้สึกสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และมีเวลาเหลือในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น
  • การจัดระบบงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในแง่ของเนื้องานและการรักษาความลับ
  • ลดความยากในการติดต่อสื่อสาร เพราะพนักงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกันยังคงมาทำงานรวมกันแบบปกติ

ข้อเสีย

จำเป็นต้องสร้างศูนย์กลางหรือสำนักงานใหญ่ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสำนักงานย่อย เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายในการทำงาน 

ประโยชน์ของ Hybrid Working

การจัดรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working นั้นมีประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและพนักงานในด้านต่าง ๆ ดังนี

  • บริษัทหรืองค์กร ประหยัดต้นทุนในการบริหารงานในระยะยาว เพราะไม่จำเป็นต้องเช่าสำนักงานขนาดและการที่พนักงานน้อยลงทำให้ประหยัดค่าสาธารณูปโภค อย่างค่าไฟฟ้า ค่าประปา และของใช้สำนักงานมากขึ้น นอกจากนั้นยังลดข้อจำกัดการจ้างงานพนักงานเก่งที่พักอาศัยในต่างจังหวัดและต่างประเทศด้วย
  • พนักงาน มีความยืดหยุ่น มีอิสระในการทำงานมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางฝ่ารสติดในการมาทำงาน ทำให้มีเวลาเหลือไปเที่ยวพักผ่อนหรือพัฒนาศักยภาพตัวเองมากขึ้น 

สรุป

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า hybrid working คือ รูปแบบการทำงานของคนยุคใหม่ ซึ่งในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการทำงานที่ยืดหยุ่นและให้อิสระกับพนักงานนั้นไม่ได้ทำให้งานขาดประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามเมื่อวัด Productivity แล้วกลับมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม และยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องการหมดไฟในการทำงานอีกด้วย ทำให้อยู่ทำงานกับบริษัทได้นานขึ้น อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ hybrid working แล้ว ทุกบริษัทก็ไม่ควรมองข้ามเรื่องบรรยากาศของสำนักงาน โดยควรเลือกออฟฟิศที่มีบรรยากาศที่ดีและมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก อย่าง CW Tower ตึกสำนักงานให้เช่าใจกลางรัชดา มีรูปแบบออฟฟิศให้เลือกหลากหลาย ลิฟต์โดยสาร ร้านค้าร้านอาหารภายในอาคาร พื้นที่จอดรถ พื้นที่สีเขียวสำหรับผ่อนคลาย สบายใจไปกับระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง  และที่สำคัญรายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ซูเปอร์มาตร์เก็ต โรงพยาบาล โรงแรม สถานที่ราชการ เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT  ท่าเรือ รถโดยสารประจำทางหลายสายส่วนการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็ไม่ยากเพราะอาคารอยู่ใกล้สี่แยกพระราม 9 เรียกว่าจัดเต็มครบทุกความต้องการของพนักงานและองค์กร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

23 สิงหาคม 2024
23 สิงหาคม 2024
22 สิงหาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย