รวม 15 คำถามสัมภาษณ์งานที่พบบ่อย ตอบยังไงให้ได้งาน

คำถามสัมภาษณ์งาน

การสัมภาษณ์งาน เป็นกระบวนการสำคัญที่กำหนดว่าคุณจะมีโอกาสถูกเลือกว่าเหมาะสมกับงานมากแค่ไหน โดยจะมีคำถามสัมภาษณ์งาน เพื่อประเมินทั้งทักษะ ความรู้ และวิสัยทัศน์ของผู้ที่มาสมัครงาน บทความนี้จะช่วยให้คุณเตรียมสัมภาษณ์งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะมีรายละเอียดในส่วนของเทคนิคการเตรียมสัมภาษณ์งาน การเตรียมตัวตอบคําถามที่เจอบ่อยในการสอบสัมภาษณ์  หัวข้อสัมภาษณ์งานที่สำคัญๆ พร้อมทั้งตัวอย่างบทสัมภาษณ์งานมาให้คุณได้พิจารณาเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสัมภาษณ์งานกันอีกด้วย 


ไปดูกันเลยดีกว่า ว่าจะมีคำถามสัมภาษณ์งานไหนบ้าง ที่คุณจะต้องเจอแน่นอน และจะต้องตอบอย่างไรให้ได้งานแบบผ่านฉลุย

Table of Contents

เทคนิคการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์งานให้พร้อม เพิ่มความประทับใจ

เทคนิคการเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์งานให้พร้อม เพิ่มความประทับใจ

การสัมภาษณ์งานนั้น จะไม่ได้อาศัยแค่การตอบคำถามสัมภาษณ์งานเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากบริษัทหรือองค์กรที่คุณอยากจะร่วมงานด้วย อาจจะทำการพิจารณาบุคลิกของคุณว่าตรงตามคุณสมบัติที่บริษัทมองหาควบคู่กัน ดังนั้นคุณจึงไม่ควรมุ่งเน้นแต่การท่องจำคำตอบเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องอาศัยการค้นคว้าข้อมูลบริษัทเพิ่มเติม รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและน่าจดจำให้กับผู้ที่จะมาสัมภาษณ์งานด้วย โดยเทคนิคการเตรียมสัมภาษณ์งานที่คุณสามารถปฏิบัติตามได้ง่ายๆ มีดังนี้

ทบทวนรายละเอียดงานให้ขึ้นใจ

บริษัทย่อมต้องเลือกคนที่มีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการให้เข้ามาร่วมงาน โดยจะพิจารณาจากความรู้ความสามารถ และความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหางานของผู้ที่มาสมัครงานเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในคำถามสัมภาษณ์งานที่คุณจะต้องตอบด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรื่องแรกๆ ที่คุณจะต้องทำเพื่อเตรียมสัมภาษณ์งาน ก็คือการทำความเข้าใจกับรายละเอียดของงานที่คุณต้องการสมัคร โดยรายละเอียดของงานดังกล่าวมักจะถูกระบุเอาไว้บนประกาศรับสมัครงาน ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้

  • ตำแหน่งและสังกัด (Job title/Department) จะเป็นหัวข้อสำคัญที่จะทำให้คุณรู้ว่างานที่คุณกำลังจะสนใจนั้นเป็นอาชีพอะไร อยู่ในระดับไหนของบริษัทหรือองค์กร 
  • หน้าที่และความรับผิดชอบ (Duties and tasks)  จะเป็นการลงรายละเอียดของงานว่า ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ประสานงานกับใคร มีเรื่องใดที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ
  • ทักษะที่ทางบริษัทต้องการ (Skills required) จะเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกว่าผู้ที่สมัครงานนั้นมีความรู้ความสามารถ หรือทักษะใดๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานดังกล่าวหรือไม่ 

หาข้อมูลบริษัท

ควรค้นหาข้อมูลเชิงลึกของบริษัท เพื่อช่วยให้คุณทราบภาพรวมว่า บริษัทดังกล่าวนั้นเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอะไร มีพันธกิจและเป้าหมายในอนาคตอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลเชิงลึกที่คุณควรจะรู้และเข้าใจเพื่อช่วยให้คุณสามารถตอบคำถามสัมภาษณ์งานได้ดีขึ้น จะมีดังนี้

  • จุดเด่นของบริษัท ข้อมูลในส่วนนี้มักจะปรากฏในหน้าของ เกี่ยวกับเรา (About Us)  บนเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อระบุว่าสิ่งที่ทำให้บริษัทดังกล่าวนั้นแตกต่างจากคู่แข่งคืออะไร มีค่านิยมองค์กร พันธกิจสำคัญขององค์กรอย่างไรบ้าง การที่คุณรู้จุดเด่นของบริษัท ก็จะทำให้บริษัทเห็นว่าคุณมีความชื่นชมและเห็นคุณค่าของบริษัท บริษัทจึงมีความวางใจที่จะมอบหมายงานให้คุณทำ 
  • วัฒนธรรมองค์กร เป็นข้อมูลที่จะช่วยให้คุณมองเห็นชีวิตการทำงานในบริษัท ว่ามีสภาพแวดล้อมอย่างไร ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติด้านไหนของพนักงาน โดยคุณสามารถดูได้จาก Social Media ของบริษัทอย่างเช่น Facebook, LinkedIn และ Instagram แต่เพื่อความน่าเชื่อถือมากขึ้น ก็ควรจะหาข้อมูลจากบุคคลที่ 3 เช่น ความเห็นบนเว็บไซต์รีวิวชีวิตการทำงานภายในบริษัทจากทั้งพนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานที่เคยทำงานในบริษัท 

เตรียมการแต่งกายให้พร้อม

การแต่งกายเพื่อสัมภาษณ์งานนั้นควรจะเป็นชุดที่มีความสุภาพ เรียบร้อย และดูเป็นทางการ ผู้หญิงควรจะใส่เป็นเสื้อและกระโปรงที่เป็นสีเข้ากัน หรือจะเป็นเดรสเรียบๆ ที่ไม่มีลวดลายฉูดฉาด สีของเครื่องแต่งกายนั้นควรจะเลือกที่เป็นสีพื้นฐาน มองแล้วสบายตา หลีกเลี่ยงชุดแต่งกายที่มีสีสันมากจนเกินไป พยายามใช้เครื่องประดับน้อยชิ้น และเลือกที่ไม่โดดเด่นสะดุดตาจนเกินไป ในขณะที่ผู้ชายควรจะแต่งกายด้วยชุดที่ดูมีภูมิฐาน ใส่เป็นกางเกงสแล็ค เสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกด้วยเนกไท เลือกรองเท้าหนังที่มีความสุภาพ 


การแต่งกายที่ดูดีและเหมาะสมจะสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ให้สัมภาษณ์งานได้ง่ายมากๆ การแต่งตัวที่ไม่เหมาะสม ดูไม่เป็นระเบียบ และไม่มีความสะอาด ก็ย่อมจะทำให้ทีมสัมภาษณ์งานจากทางบริษัทนั้นตัดสินคุณล่วงหน้าไปแล้วว่าคงเป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัย และไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหรือนโยบายของบริษัทได้ อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการตัดคะแนนของคุณ ต่อให้คุณจะตอบคำถามสัมภาษณ์งานได้อย่างลื่นไหลในทุกข้อก็ตาม 

วางแผนการเดินทางให้ดี

เตรียมสัมภาษณ์งานแล้ว ก็อย่าลืมตรวจสอบดูให้ดีว่า สถานที่ตั้งของบริษัทนั้นอยู่ตรงไหน ต้องเดินทางเส้นทางไหน มีสภาพการจราจรในเวลาดังกล่าวอย่างไร ถ้าจะให้ดีควรจะไปให้ถึงก่อนเวลานัดหมาย 15 นาที ในคืนก่อนวันนัดสัมภาษณ์งานก็ควรจะรีบเข้านอนหลับพักผ่อนให้เร็ว เพื่อที่คุณจะได้ตื่นทันเวลา ป้องกันไปสัมภาษณ์งานสาย และยังช่วยให้คุณมีสติตื่นตัวอยู่ตลอดการตอบคำถามสัมภาษณ์งานอีกด้วย

รวม 15 คำถามสัมภาษณ์งานที่ควรรู้ พร้อมแนวทางการตอบ

รวม 15 คำถามสัมภาษณ์งานที่ควรรู้ พร้อมแนวทางการตอบ

คำถามสัมภาษณ์งานนั้น ทางผู้จ้างงานมักจะวางหลักเกณฑ์ในการประเมินวัดศักยภาพของคุณว่าเพียงพอและเหมาะสมกับตำแหน่งงานดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งการท่องจำคำตอบทั่วๆ ไป อาจจะทำให้ผู้จ้างงานรู้สึกว่าคุณไม่ได้ตอบตามความเป็นจริง หรือมองไม่เห็นศักยภาพในตัวคุณได้อย่างชัดเจน 

 

ดังนั้นคุณจึงควรมีความเข้าใจว่าคำถามสัมภาษณ์งานแต่ละข้อนั้นต้องการถามหรือวัดอะไร เพื่อที่จะได้ประยุกต์แนวทางในการตอบให้เข้ากับสิ่งที่เป็นตัวคุณลงไปด้วย เพราะจะทำให้ผู้จ้างงานสามารถมองเห็นคุณสมบัติของคุณที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานจากการตอบคำถามสัมภาษณ์งานของคุณได้ทันที ไปดูกันดีกว่าว่าจะมีคำถามสัมภาษณ์งานอะไรบ้าง และจะมีแนวทางในการตอบแต่ละคำถามอย่างไร ให้ตรงใจ HR หรือผู้จ้างงานมากที่สุด

1. ให้อธิบายเกี่ยวกับตัวเอง

คำถามสัมภาษณ์งานในช่วงเริ่มต้น มักจะเป็นหัวข้อสัมภาษณ์งานที่เกี่ยวกับตัวคุณเป็นหลัก HR หรือผู้จ้างงานต้องการดูว่าคุณมีคุณสมบัติอย่างไรที่เหมาะกับตำแหน่งงาน อีกทั้งยังมีความพิเศษกว่าผู้สมัครงานคนอื่นๆ ในตำแหน่งเดียวกันตรงไหน โดยบางครั้งผู้จ้างงานอาจจะให้คุณได้ลองแนะนำตัวเองสั้นๆ หรืออาจจะเปิดใบสมัครงานหรือประวัติการทำงานของคุณแล้วไล่เรียงตั้งคำถามสัมภาษณ์งานไปในทีละหัวข้อที่อยู่ในใบสมัครดังกล่าว 

ถ้าหากเป็นการแนะนำตัวเองสั้นๆ คุณจะต้องพยายามนำเสนอเกี่ยวกับตัวคุณภายใต้คำตอบที่มีความกระชับและเกี่ยวข้องกับงานหรือตำแหน่งที่คุณต้องการสมัครให้มากที่สุด 

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

โดยสามารถแบ่งแนวทางในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานในลักษณะนี้ได้ 2 รูปแบบ

  • สำหรับผู้สมัครงานที่เพิ่งจะเรียนจบ 

โดยส่วนใหญ่คนที่เพิ่งจะเรียนจบหรือสำเร็จการศึกษา มักจะยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้นจึงควรจะเริ่มจากการอธิบายวุฒิการศึกษาล่าสุดของคุณ โดยไล่เรียงตั้งแต่ระดับการศึกษา คณะหรือสาขาวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษา ชื่อสถาบันการศึกษาที่คุณได้สำเร็จการศึกษามา ดังนี้

 

สวัสดีค่ะ ชื่อแก้วใจ ดวงมณีค่ะ แก้วจบปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด จากมหาวิทยาลัย A และในระหว่างที่กำลังเรียนในชั้นปี 3 แก้วได้มีโอกาสผ่านการฝึกงานกับบริษัท B ในแผนกการตลาด เป็นเวลา 2 เดือน โดยได้มีส่วนร่วมในการช่วยวางแผนการตลาด ส่งเสริมการขาย และยังมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัท B ด้วย  ในช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย แก้วก็ยังได้เป็นสมาชิกฝ่ายกิจกรรมของคณะ โดยทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์โครงการต่างๆ ให้กับคณะ แก้วเป็นคนที่ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถเรียนรู้ได้เร็ว แก้วจึงอยากสมัครในตำแหน่งงานนี้ เพราะมีบทบาทและหน้าที่สอดคล้องกับสิ่งที่แก้วชื่นชอบโดยส่วนตัวอยู่แล้ว

  • สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน

ผู้สมัครงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนงานไปบริษัทใหม่ หรือย้ายสายงาน ก็ควรจะเริ่มจากการอธิบายตำแหน่งงานปัจจุบันที่คุณกำลังทำอยู่หรือที่คุณได้ทำล่าสุดแล้วค่อยไล่เรียงลงไปในตำแหน่งงานที่คุณได้ผ่านมาในอดีตตามมา  ว่ามีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง มีผลงานเด่นๆ เรื่องไหน โดยพยายามประยุกต์ให้เข้ากับตำแหน่งงานที่คุณกำลังจะสมัคร ดังนี้

 

สวัสดีครับ ผมชื่อ หนึ่งเดียว ในใจ  ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Senior Programmer ของบริษัท C ผมได้ทำงานที่นี่มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ในระหว่างที่ผมทำงานอยู่ ผมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและปรับปรุง Web Application ที่ใช้ในระบบของบริษัท อีกทั้งยังรับผิดชอบโปรเจกต์ D ของบริษัท โดยช่วยบริหารการทำงานของทีมให้เป็นไปอย่างราบรื่น ผมมีความต้องการที่จะเติบโตในสายอาชีพนี้ ดังนั้นจึงตัดสินใจสมัครตำแหน่ง Development Manager โดยการใช้ทั้งประสบการณ์ในการทำงานและความรู้ที่ผมได้สะสมมาจากการอบรมต่างๆ 

2. อะไรคือจุดแข็งของคุณ

หัวข้อสัมภาษณ์งานนี้จะเป็นการมุ่งหาจุดแข็งของคุณ ที่มีความพิเศษเหนือกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ และจะต้องเป็นจุดเด่นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานในตำแหน่งดังกล่าว อีกทั้งยังควรจะเป็นจุดดีที่ทำให้คุณสามารถทำงานร่วมกับทีมงานและบริษัทได้อย่างราบรื่น ตัวอย่างของจุดแข็งที่คุณสามารถนำไปใช้ในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้จะได้แก่ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความเป็นผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ การปรับตัวได้ดี ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ ความละเอียดและความแม่นยำ ความสามารถในการทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดี

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

ชอบทำงานเป็นทีม และสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ที่ผ่านมาก็ยังได้มีโอกาสทำงานร่วมกับคนหลายกลุ่ม หลายประเภท ซึ่งทำให้ได้แบ่งปันและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการทำงานร่วมกับคนอื่นเสมอ ในโปรเจกต์ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีความท้าทายและอุปสรรคหลายอย่าง แต่ทีมที่ทำงานด้วยกันก็สามารถร่วมมือร่วมใจกันได้ด้วยดี จนกระตุ้นให้ยอดการผลิตนั้นเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 25% ภายในระยะเวลา 3 ปี

3. อะไรคือจุดอ่อนของคุณ

แน่นอนว่าเมื่อมีจุดแข็ง ก็ต้องมีจุดอ่อน ซึ่งอาจจะเป็นการขาดทักษะหรือความรู้บางอย่าง รวมไปถึงประสบการณ์ที่ไม่เพียงพอกับหน้าที่การงาน อีกทั้งยังอาจจะหมายถึงบุคลิกหรือนิสัยบางอย่างของคุณที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่นเดียวกับคำถามสัมภาษณ์งานที่เกี่ยวกับจุดแข็ง การถามจุดอ่อนอาจจะไม่ได้เป็นการถามตรงๆ ว่า คุณมีจุดอ่อนอย่างไร แต่อาจจะเป็นการถามว่า ที่ผ่านมามีอะไรเป็นอุปสรรคในตัวคุณที่ส่งผลต่อการทำงาน หรืออยากปรับปรุงและพัฒนาตัวเองในด้านไหน 


คำถามสัมภาษณ์งานเหล่านี้จะพยายามดึงดูดให้คุณพูดถึงด้านที่เป็นข้อเสียของคุณออกมา ตัวอย่างของจุดอ่อนที่นิยมใช้ในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานในประเด็นนี้ เช่น ประสบการณ์ในการทำงานน้อย แบ่งงานไม่เก่ง ปฏิเสธคนไม่เป็น ไม่ค่อยกล้าแสดงออก หรือพูดในที่สาธารณะไม่เก่ง

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

เป็นคนปฏิเสธคนไม่เป็น ทำให้ต้องรับภาระความรับผิดชอบที่มากจนเกินไปอยู่เสมอ แต่ในตอนนี้ได้พยายามที่จะเรียนรู้ในการยอมรับขีดจำกัดของตัวเอง และพยายามรู้จักขอความช่วยเหลือ อีกทั้งยังแบ่งงานให้คนอื่นมากขึ้น 

4. มีมุมมองความสำเร็จยังไง

บริษัทจะตั้งคำถามสัมภาษณ์งานในลักษณะนี้ เพราะอยากจะรู้ว่าคุณจะเป็นพนักงานประเภทไหน โดยจะดูจากมุมมองความสำเร็จที่คุณมีต่อการทำงาน ทางบริษัทอาจจะถามคุณตรงๆ ว่า มีวิธีการวัดผลสำเร็จของการทำงานอย่างไร หากคุณเจอคำถามสัมภาษณ์งานแบบนี้ ก็จะต้องอธิบายไปว่าเป้าหมายในการทำงานของคุณนั้นคืออะไร โดยจะต้องระบุให้ชัดเจน เช่น มีเป้าหมายคือส่งงานได้ถูกต้องและครบถ้วนตามที่ได้รับมอบหมาย หรือมีเป้าหมายคือนำทีมให้สามารถบรรลุยอดขายหรือยอดผลิตที่ตั้งเป้าเอาไว้ จากนั้นก็ให้ขยายความต่อว่า มีวิธีการวัดผลสำเร็จของการทำงานดังกล่าวอย่างไร

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

การที่เราสามารถทำงานของเราได้ถูกต้องตามที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญต่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยวัดความสำเร็จได้จากผลการดำเนินงานของทีมที่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ เพราะความสำเร็จของบริษัทจะต้องอาศัยทั้งการทำงานส่วนบุคคลและการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจากประวัติการทำงานที่ผ่านมา มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องส่งรายงานได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ในแต่ละสัปดาห์ อีกทั้งยังหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อแสดงเป็นรายงานได้แม่นยำและชัดเจนมากขึ้น โดยใช้เวลาที่น้อยลงกว่าเดิม

รู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง

5. รู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง

อย่างที่ได้เกริ่นไปในส่วนของการเตรียมสัมภาษณ์งานแล้วว่าบริษัทเองก็อยากได้พนักงานที่มีความสนใจ หรือมีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน ดังนั้นจึงจะมีการตั้งคำถามสัมภาษณ์งานเพื่อประเมินดูว่า คุณรู้จักกับบริษัทดังกล่าวนั้นดีแค่ไหน การตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้ ยิ่งคุณสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทมาเป็นแหล่งอ้างอิงในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ผู้จ้างงานเกิดความประทับใจในตัวคุณได้ง่ายมากขึ้น

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

รู้มาว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิตสื่อโฆษณา โดยมีผลงานสื่อโฆษณาหลายชิ้นที่ปรากฏอยู่บนโทรทัศน์ มีโอกาสได้ดูและชื่นชอบในความคิดสร้างสรรค์ของบริษัทเป็นอย่างมาก ล่าสุดยังเห็นว่าทางบริษัทนั้นมีผลงานที่ได้รับรางวัลในระดับประเทศ และในอนาคตก็ยังมีเป้าหมายที่จะผลิตสื่อโฆษณาให้กับลูกค้าชาวต่างประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนตัวก็มีความรักในสร้างสื่อโฆษณา และอยากจะทำงานร่วมกับมืออาชีพทั้งจากในไทยและจากทั่วโลก เพื่อเป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเองในสายงานสื่อโฆษณา

6. ทำไมถึงอยากทำงานที่นี่

คำถามสัมภาษณ์งานนี้เรียกได้ว่า เป็นคำถามยอดฮิตของการสอบสัมภาษณ์งานกันเลยทีเดียว แนวทางในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานในประเด็นนี้จะต้องตอบให้มีความเฉพาะเจาะจงมากที่สุด เพื่อให้บริษัทรู้สึกว่า คุณไม่ได้สมัครงานไว้เผื่อเลือกเฉยๆ หรืออาจจะไม่ได้สนใจ เพราะจะมีผลทำให้โอกาสที่คุณจะได้งานน้อยลงไปด้วย 


โดยคุณสามารถตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้ด้วยการใช้ข้อมูลบริษัทที่คุณได้ค้นคว้ามาล่วงหน้า เป็นเหตุผลประกอบคำอธิบายว่าทำไมคุณถึงสนใจในบริษัทนี้ เช่น เพราะเป็นบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นบริษัทที่คนอยากร่วมงานด้วยมาก เพราะเป็นบริษัทที่มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย หรือเพราะเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลมายาวนานหลายปี เป็นต้น

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

เพราะบริษัทนี้เป็นผู้นำเทรนด์เทคโนโลยี มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความล้ำสมัยของบริษัทนั้นถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้อยากจะมาร่วมทำงานด้วย อีกทั้งยังประทับใจที่ทางบริษัทมีความตั้งใจที่จะดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสังคมเป็นหลัก มีการสร้างสิ่งดีๆ เพื่อตอบแทนให้กับชุมชนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะความพยายามในการผลิตสินค้าที่มีความรักษ์โลก ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะเรื่องของการลดโลกร้อนถือเป็นสิ่งที่ตัวเองก็กำลังให้ความสำคัญ

7. ทำไมบริษัทต้องรับคุณเข้าทำงาน

เชื่อว่าหลายคนเมื่อเจอคำถามสัมภาษณ์งานนี้เข้าไปก็อาจจะมีอาการตื่นตระหนกเล็กน้อย แต่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกันเกินไป ขอแค่คุณใช้โอกาสนี้ในการแสดงศักยภาพเด่นๆ ที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ออกมาให้ชัดเจน ก็จะช่วยให้เพิ่มโอกาสให้บริษัทตัดสินใจจ้างคุณได้มากขึ้น และถ้าหากคุณรู้สึกว่า ไม่ได้แสดงจุดเด่นของคุณผ่านคำถาม ดังนั้นการตอบคำถามสัมภาษณ์งานข้อนี้ จึงควรต้องมีการร่างคำตอบเอาไว้ในช่วงของการเตรียมสัมภาษณ์งานล่วงหน้า โดยแนวทางในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานคำถามนี้จะมีสิ่งที่ผู้จ้างงานต้องการรู้เพิ่มเติม เช่น

  • อะไรที่ทำให้คุณพิเศษหรือแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมบริษัทจะต้องจ้างคุณเข้าทำงาน แทนที่จะเป็นผู้สมัครงานคนอื่นๆ เช่น ประสบการณ์ในการทำงานที่มากกว่า มีทักษะความรู้ที่เหมาะสมกว่า หรือมีศักยภาพที่ดีกว่า 

 

สิ่งที่คุณสามารถนำมาใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้คุณมีข้อได้เปรียบมากกว่าคนอื่นจะได้แก่ 

  • คุณมีใจรักและมีความทุ่มเทในงานดังกล่าว
  • คุณมีประสบการณ์ในสายงานนี้มายาวนาน
  • คุณมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะประสบความสำเร็จ
  • คุณมีทักษะพิเศษ ที่คนอื่นนั้นอาจจะไม่มี หรือมีน้อยกว่า
  • คุณสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทีมได้
  • คุณมีความเชื่อมั่นในพันธกิจของบริษัทเป็นอย่างมาก
  • คุณมีความผูกพันกับบริษัท และมีความชื่นชอบในวัฒนธรรมองค์กร

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

ควรจะรับเพราะคุณมีใจทุ่มเทให้กับงาน และคุณเองก็ได้พิสูจน์มาแล้วว่าสามารถจัดการงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณเองยังสามารถจัดสรรเวลาได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีความสามารถในการประสานงานร่วมกับคนอื่น โดยคุณเคยทำงานเป็นผู้ช่วยฝ่ายบริหารมาก่อน และในขณะที่อยู่ในตำแหน่งงานดังกล่าว คุณได้บริหารการใช้วัสดุสำนักงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงได้ถึง 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้นคุณจึงมั่นใจว่า ทักษะและความสามารถของคุณที่มีจะช่วยบริหารจัดการทรัพยากรของบริษัทนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน

8. เล่าประสบการณ์ทำงานให้ฟังหน่อย

คำถามสัมภาษณ์งานนี้ต้องการให้คุณเล่าประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสัมภาษณ์งานที่จะทำให้ผู้จ้างงานรู้ว่าคุณมีศักยภาพในการทำงานอย่างไร และเป็นหนึ่งในหัวข้อสัมภาษณ์งานที่ผู้จ้างงานมักจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ แนวทางในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้ให้คุณอธิบายเกี่ยวกับงานที่คุณเคยทำ โดยมีสิ่งที่จะต้องพูดถึงดังนี้ ตำแหน่งงาน บริษัท หน้าที่และความรับผิดชอบ และถ้าหากมีผลงานหรือผลสำเร็จจากการทำงานก็ให้คุณยกมาอ้างอิงด้วยกัน จะช่วยให้การเล่าประสบการณ์ในการทำงานของคุณนั้นมีความน่าสนใจและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

หลังจากที่เรียนจบแล้ว ก็ได้เริ่มงานแรกในตำแหน่ง Sales Assistant กับบริษัท A โดยจะทำหน้าที่จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขาย ติดต่อและประสานกับลูกค้าและเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า หลังจากทำงานในตำแหน่งดังกล่าว 2 ปี ก็ได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเป็น Sales Executive เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการติดต่อหาลูกค้า และกระตุ้นยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายของรายเดือน รายไตรมาส และรายปี โดยในระหว่างที่ทำงานในตำแหน่งนี้ก็สามารถทำยอดขายได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลพนักงานดีเด่นประจำปีถึง 2 ปีซ้อน

9. งานในฝันของคุณเป็นยังไง

ผู้จ้างงานเองก็ต้องการรู้ว่าคุณมีความสนใจและมีเป้าหมายที่สอดคล้องแนวทางในการดำเนินกิจการของบริษัทหรือไม่ คำถามสัมภาษณ์งานนี้ยังช่วยให้ผู้จ้างงานรับรู้ว่า คุณคาดหวังอะไรจากการทำงานในบริษัทด้วยเช่นกัน ได้แก่

  • ทักษะความรู้ที่คุณอยากจะใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะความเป็นผู้นำ หรือทักษะความสามารถเฉพาะทาง 
  •  สภาพแวดล้อม บรรยากาศ หรือสังคมในที่ทำงาน ที่คุณอยากจะทำงานด้วย ว่าเป็นแบบไหน เช่น อยากจะทำงานกับบริษัทที่เต็มไปด้วยคนเก่ง อยากจะทำงานกับบริษัทที่มีความเป็นกันเอง หรืออยากจะทำงานกับบริษัทที่มีสวัสดิการดีๆ ให้กับพนักงาน
  • ค่านิยมที่คุณให้ความสำคัญในการทำงาน เช่น เน้นผลสำเร็จของงานจากการทำงานด้วยตัวเอง เน้นผลสำเร็จของงานจากการทำงานร่วมกับคนอื่น หรือเน้นงานที่มีความ Work-Life Balance เป็นต้น 


การบรรยายลักษณะงานในฝันข้างต้นสำหรับคำถามสัมภาษณ์งานนี้ คุณควรจะพูดให้มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับงานที่คุณกำลังจะสมัคร เพื่อทำให้ผู้จ้างงานรู้สึกว่า คุณกำลังมองหางานในฝันแบบไหน และงานที่บริษัทกำลังเปิดรับสมัครนั้น น่าจะตรงกับสิ่งที่คุณต้องการ

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

งานในฝันคือ งานที่มีส่วนในการส่งมอบ และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับผู้คนในแต่ละวัน ดังนั้นจึงอยากจะทำงานร่วมกับบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว โดยได้รับรู้มาว่าบริษัทนี้มีการผลิตสินค้าที่สามารถช่วยให้หลายๆ คนมีสุขภาพที่แข็งแรงดีขึ้น ซึ่งเห็นได้จากรีวิวสินค้าที่อยู่ในระดับดีเยี่ยมมาโดยตลอด ทำให้อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในทีม เพื่อเฟ้นหาและแนะนำไอเดียใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่จะใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

มีทักษะอะไรที่เข้ากับตำแหน่งนี้ไหม

10. มีทักษะอะไรที่เข้ากับตำแหน่งนี้ไหม

แม้ว่าจะมีคำถามสัมภาษณ์งานที่ถามเกี่ยวกับทักษะความสามารถของคุณไปแล้ว แต่หัวข้อสัมภาษณ์งานนี้จะเริ่มเจาะจงโดยตรงถึงทักษะและความสามารถที่จะเป็นประโยชน์กับตำแหน่งงานดังกล่าว ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณอาจจะมีทักษะความสามารถหลายอย่าง ก็ควรจะเลือกที่เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัครมากที่สุด 


ซึ่งคุณจะรู้ว่าทักษะความสามารถไหนที่มีความเกี่ยวข้องได้จากรายละเอียดของตำแหน่งงาน ซึ่งจะปรากฏให้เห็นอยู่ในประกาศรับสมัครงาน โดยทักษะดังกล่าวจะมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ตามที่ได้เกริ่นแนะนำกันไปในช่วงขั้นตอนเตรียมสัมภาษณ์งาน ถ้าหากบริษัทมีการใส่รายละเอียดในส่วนนี้ให้ครบทั้ง 2 ประเภทแล้ว คุณก็ควรจะตอบให้ครอบคลุมทักษะทางในส่วนของ Hard Skill และ Soft Skill ด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

เป็นคนที่มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อีกทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสาร จึงสามารถรับมือกับปัญหาของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้อย่างดี โดยช่วยทำให้ลูกค้านั้นมีอารมณ์เย็นลง และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกลบต่อบริษัท

11. ทำไมถึงออกจากงานเก่า

คำถามสัมภาษณ์งานคำถามนี้จะเป็นคำถามที่จะต้องเจอในการสอบสัมภาษณ์แน่นอน เพราะผู้จ้างงานย่อมอยากจะรู้ว่า ทำไมคุณถึงตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเก่า หรือต้องการจะเปลี่ยนงาน แนวทางในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานนี้จะต้องไม่ตอบให้เป็นเชิงลบ หรือพูดถึงข้อเสียของที่ทำงานเก่าโดยเด็ดขาด แต่ให้เน้นไปที่ความคาดหวัง หรือเป้าหมายในเชิงบวกที่คุณต้องการจากที่ทำงานใหม่แทน 

 

ตัวอย่างเหตุผลที่คุณสามารถนำมาใช้เมื่อเจอคำถามสัมภาษณ์งานว่าทำไมถึงออกจากงานเก่า

  • ที่ทำงานเก่านั้นไกลจากที่อยู่อาศัย จึงอยากจะย้ายที่ทำงานใหม่ที่มีความสะดวกมากขึ้น
  • อยากท้าทายตัวเองในองค์กรหรือบริษัทที่ใหญ่ขึ้น 
  • อยากลองทำงานในสายงานใหม่ๆ 
  • อยากเพิ่มความก้าวหน้าให้กับตัวเอง
  • บริษัทเก่าเลิกกิจการหรือปิดกิจการ
  • บริษัทเก่าต้องการลดกำลังคนลง เพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจ

 

ตัวอย่างเหตุผลที่คุณควรหลีกเลี่ยงเมื่อเจอคำถามสัมภาษณ์งานว่าทำไมถึงออกจากงานเก่า 

  • เงินเดือนของที่ทำงานเก่าน้อยเกินไป เพราะจะทำให้ผู้จ้างงานในบริษัทใหม่รู้สึกว่าคุณทำงานเพราะต้องการเงิน มากกว่าหน้าที่การงาน
  • มีปัญหากับหัวหน้า หรือทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน เพราะจะสร้างภาพลักษณ์ในทางลบให้กับคุณ ต่อให้คุณไม่ใช่เป็นฝ่ายที่ผิดในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก็ได้ บริษัทอาจจะมองว่าคุณเป็นคนที่ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตร และไม่สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
  • งานหนักเกินไป ต้องรับผิดชอบงานมากเกินไป แน่นอนว่าคำตอบแบบนี้ย่อมจะทำให้ผู้จ้างงานคิดว่า คุณเป็นคนไม่สู้งาน และไม่มีความพยายามในการทำงาน พร้อมจะทิ้งความรับผิดชอบ 
  • ไม่ชอบบริษัทเก่า เพราะจะทำให้ผู้จ้างงานของบริษัทใหม่ รู้สึกว่า คุณเป็นคนไม่ซื่อสัตย์และพร้อมจะพูดถึงสถานที่ทำงานในแง่ลบอยู่ตลอดเวลา ทำให้บริษัทรู้สึกไม่ไว้ใจที่จะรับคุณเข้าทำงานด้วยได้

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

ตัดสินใจลาออกจากที่เก่า เพราะถึงแม้ว่าบริษัทจะมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีทีมงานที่พร้อมจะร่วมมือร่วมใจในการทำงานอยู่เสมอ แต่รู้สึกเริ่มอิ่มตัวกับงานที่ทำอยู่แล้ว จึงอยากจะท้าทายตัวเองในตำแหน่งงานที่มีความยากมากขึ้น เพราะจะได้นำไปพัฒนาตัวเองในสายงานดังกล่าวได้

12. คาดหวังกับเงินเดือนไว้ที่เท่าไร

โดยปกติแล้ว บริษัทจะมีการตั้งงบประมาณสำหรับเงินเดือนของพนักงานในแต่ละตำแหน่งเอาไว้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการถามคำถามสัมภาษณ์งานนี้ เพื่อจะดูว่าเงินเดือนที่คุณต้องการนั้น อยู่ในงบประมาณที่บริษัทสามารถจ่ายได้หรือไม่ บางคนอาจจะใส่เงินเดือนที่คาดหวังไว้มากเกินกว่าการตั้งงบประมาณของบริษัท ซึ่งจะทำให้บริษัทประเมินดูแล้วว่า ไม่คุ้มค่าที่จะจ้างคุณเข้าทำงาน หรือบางคนอาจจะกลัวว่าจะไม่ได้งาน จึงยอมใส่เงินเดือนคาดหวังที่ต่ำกว่าโดยปกติทั่วไป ทำให้บริษัทรู้สึกว่า คุณอาจจะไม่ได้มีความสามารถหรือศักยภาพเพียงพอ 

 

ดังนั้นการตอบคำถามสัมภาษณ์งานเรื่องเงินเดือนที่คาดหวัง คุณควรจะตอบตัวเลขเงินเดือนที่ตรงกับฐานเงินเดือนทั่วของตำแหน่งงานดังกล่าวที่มีการจ้างกัน ซึ่งคุณสามารถค้นหาฐานเงินเดือนดังกล่าวได้จากเว็บไซต์จัดหางานต่างๆ โดยจะบอกได้คร่าวๆ ว่าเงินเดือนสำหรับตำแหน่งงานนี้ในประเทศไทยจะจ่ายกันที่เท่าไหร่ หรือจะลองสอบถามจากผู้ที่ทำงานในตำแหน่งงานคล้ายกับคุณดูก็ได้ ก็จะช่วยให้คุณได้ฐานเงินเดือนที่มีความถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น 

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

คาดหวังเงินเดือนไว้ที่ประมาณ 20,000 – 22,000 บาท เพราะทราบมาว่าเป็นฐานเงินเดือนปกติของตำแหน่งงานนี้ และประสบการณ์เท่านี้ แต่ก็สามารถต่อรองได้

13. คุณทำงานภายใต้ความกดดันได้ไหม

ความสามารถในการทำงานภายใต้ความกดดันนั้นถือเป็นคุณสมบัติหนึ่งของพนักงานที่บริษัทมักจะมองหา เพราะผู้ที่สามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ดีมักจะมีศักยภาพที่เหนือกว่าพนักงานคนอื่นๆ ทั่วไป ด้วยการมีศักยภาพในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หรืออุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น  โดยการใช้สติและเหตุผลเพื่อคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังอาจจะมีความสามารถในการจัดการ และบริหารเวลาให้การทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

เรียนรู้วิธีการทำงานภายใต้ความกดดันจากประสบการณ์ในการทำงานและทำหน้าที่ของตัวเอง ค้นพบว่าการทำงานในรูปแบบซ้ำๆ ก็อาจจะทำให้เกิดความชะล่าใจ และขาดการพัฒนาตัวเอง ดังนั้นจึงพยายามที่จะทำงานที่มีความท้าทาย มีความยาก เพื่อที่ตัวเองจะได้เกิดการเรียนรู้และเติบโต เคยมีสถานการณ์ที่ต้องส่งแผนงานให้กับลูกค้าภายในระยะเวลา 5 วัน แต่ในระหว่างนั้นเพื่อนร่วมงานที่รับผิดชอบอีกแผนงานหนึ่ง มีความจำเป็นที่จะต้องลาหยุดงาน ดังนั้นจึงทำให้ต้องรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกตื่นตระหนกเล็กน้อย แต่ก็พยายามมีสติ และจัดสรรตารางงานให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้ทำงานให้ครบตามที่กำหนดเอาไว้ จนสุดท้ายก็ค้นพบวิธีการทำงานใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้สามารถส่งแผนงานทั้ง 2 ได้ตรงตามเวลา

14. มองภาพตัวเองในอนาคตไว้ยังไง

ระหว่างการสัมภาษณ์งาน อาจจะมีคำถามสัมภาษณ์งานที่ถามเกี่ยวกับอนาคตการทำงาน ที่คุณวางแผนเอาไว้ โดยลักษณะคำถามอาจจะเป็นการถามตรงๆ ว่า มองภาพตัวเองในอนาคตไว้ยังไง กำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับอาชีพการงานเอาไว้อย่างไร คุณจะวางแผนอย่างไรต่อถ้าหากได้ตำแหน่งงานที่คุณสมัครเอาไว้ และคุณมองภาพตัวเองในอีก 2 ปีไว้อย่างไร เป็นต้น 


สาเหตุที่ผู้จ้างงานเลือกถามคำถามสัมภาษณ์งานในลักษณะนี้ เพื่อจะดูว่าเป้าหมายที่คุณวางแผนในอนาคตนั้นสอดคล้องกับทิศทางของบริษัทหรือไม่ เช่น ถ้าหากคุณสมัครงานในตำแหน่งนักบัญชี แน่นอนว่าเป้าหมายในอนาคตก็ควรจะเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบัญชี หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชี ถ้าหากคุณสมัครงานในตำแหน่งโปรแกรมเมอร์ แผนในอนาคตที่คุณวางเอาไว้ก็ควรจะเป็นนักพัฒนาระบบ หรือสาขาวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไอที เป็นต้น

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

เป้าหมายที่วางแผนเอาไว้ภายใน 5 ปีข้างหน้า ต้องการที่จะเป็นผู้ที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยมีความสามารถในการบริหารโครงการแบบครบวงจร อีกทั้งยังอยากจะพัฒนาความรู้ และเติบโตในบทบาทของนักวิเคราะห์การตลาดขั้นสูงด้วยเช่นกัน 

15. มีคำถามอะไรอีกไหม

อย่างที่ได้เกริ่นไปในขั้นตอนของการเตรียมสัมภาษณ์งานแล้ว ว่าบริษัทจะไม่ได้ถามคำถามสัมภาษณ์งานคุณฝ่ายเดียว แต่จะเปิดโอกาสให้คุณได้ถามบริษัทในสิ่งที่คุณอยากจะรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร หรือเกี่ยวกับการทำงานภายในบริษัทด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นหากคุณเงียบหรือไม่มีคำถามที่ฟังดูแล้วน่าสนใจ บริษัทก็อาจจะมองว่าคุณไม่ได้มีความกระตือรือร้น หรืออยากที่จะร่วมงานกับบริษัทเท่าที่ควร 

 

แต่ถ้าหากคุณถามคำถามที่เป็นข้อมูลทั่วไป สามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ก็จะทำให้บริษัทรู้สึกว่า คุณไม่ได้ทำการบ้าน หรือค้นหาข้อมูลของบริษัทที่เพียงพอ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นที่จะต้องหาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งงานดังกล่าว และบริษัทที่คุณอยากจะร่วมงานให้ดีพอเสียก่อน 

ตัวอย่างคำตอบบทสัมภาษณ์งาน

ถามคำถามเกี่ยวกับงานที่คุณจะทำ ว่าคุณจะต้องทำอะไรบ้างในตำแหน่งงานนี้ มีความรับผิดชอบอะไรที่บริษัทคาดหวังให้คุณทำ รวมไปถึงวิธีการประเมินผลการทำงานของคุณว่าจะมีหลักเกณฑ์อย่างไร อีกทั้งยังสามารถถามเกี่ยวกับความยาก หรืออุปสรรคที่อาจจะต้องเจอเมื่อทำงานในตำแหน่งงานดังกล่าว

สรุป

จะเห็นได้เลยว่าคําถามที่เจอบ่อย ในการสอบสัมภาษณ์นั้นมีอยู่มากมายหลายข้อกันเลยทีเดียว และมีรายละเอียดในการตอบที่ค่อนข้างมาก อีกทั้งยังจะต้องมีแนวทางในการตอบที่จะคุณจะต้องทำตาม เพื่อช่วยให้ผู้จ้างงานสามารถรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณผ่านคำถามสัมภาษณ์งานเหล่านี้ 

 

ดังนั้นการเตรียมสัมภาษณ์งานล่วงหน้าจึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้คุณจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองอย่างเพียงพอ มีการทำการบ้าน ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณกำลังสมัคร รวมไปถึงบริษัทที่คุณอยากจะไปร่วมงานด้วย ดังนั้นอย่าไปสัมภาษณ์งานโดยที่ไม่มีการเตรียมตัวมาก่อน เพราะจะทำให้คุณไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้จ้างงาน จนทำให้คุณอาจจะต้องพลาดตำแหน่งงานดังกล่าวไปอย่างน่าเสียดายได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

03 ธันวาคม 2024
03 ธันวาคม 2024
15 ตุลาคม 2024
09 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย