วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ส่งผลต่อพนักงานอย่างไร

วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ส่งผลต่อพนักงานอย่างไร

วัฒนธรรมองค์กร เป็นส่วนหนึ่งที่หลายๆ องค์กรต้องมี เพื่อให้ระบบการบริหารดำเนินการภายในสามารถปรับตัวร่วมงานกันได้อย่างมีจุดกึ่งกลาง และสามารถทำให้งานขับเคลื่อนไปยังเป้าหมายได้อย่างราบรื่น ส่วนความหมายที่แท้จริงของวัฒนธรรมองค์กรคืออะไร และอะไรที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งนี้ หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีทั้งหมดกี่แบบ ดีต่อองค์กรและพนักงานอย่างไร ต้องมาทำความเข้าใจกันในบทความนี้

Table of Contents

วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร?

วัฒนธรรมองค์กร คืออะไร?

วัฒนธรรมองค์กร หรือ organizational culture คือ การสร้างธรรมเนียมร่วมกันระหว่างคนในองค์กรแต่ละฝ่าย ตั้งแต่ฝ่ายบริหาร จนถึงฝ่ายปฏิบัติการ เพื่อให้ทุกคนมีขอบเขตในหน้าที่ มีแบบแผนในการดำเนินเป้าหมายของการทำงานเพื่อให้ไปสู่ผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่องค์กรต้องการอย่างราบรื่น และสามารถแก้ไขจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน ทั้งในส่วนของปัญหาเนื้องาน หรือปัญหาระหว่างการทำงานของแต่ละบุคคลได้มีกึ่งกลางมากที่สุด ลดความทะเลาะเบาะแว้งภายในองค์กรได้ดี 

นอกจากนี้ ด้านทัศนคติ มุมมอง และแนวความคิดต่อหน้าที่ก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงทำให้วัฒนธรรมองค์กรเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ และควรมีทุกองค์กรนั่นเอง ซึ่งจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมองค์กร คือการพัฒนาตนเองไปพร้อมกับองค์กรของผู้บริหารที่มีแนวคิดด้านวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานในองค์กรที่ชัดเจน ทำให้ต้องกำหนดวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาเพื่อทำให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในทุกด้าน ทั้งต่อเป้าหมาย และต่อตัวบุคลากรด้วยนั่นเอง

รูปแบบของวัฒนธรรมองค์กร

รูปแบบของวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ซึ่งบริษัทมักจะมีการกำหนดด้วยความตั้งใจ หรือบางองค์กรก็มีการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาแบบไม่ได้ตั้งใจก็มีเช่นกัน ทั้งนี้ผลลัพธ์ของการมีวัฒนธรรมองค์กร หรือวัฒนธรรมองค์การนั้น มักจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพต่อการทำงานทุกด้านอย่างชัดเจน ซึ่งบางองค์กรอาจจะนำมาผสมผสานกัน สำหรับวัฒนธรรมองค์กรมีอะไรบ้าง ต้องมาดูกันดังนี้

วัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว (Clan Culture)

ธุรกิจที่ต้องการวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัวนี้ มักจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก เป็นธุรกิจระดับเริ่มต้นหรือ Start up ซึ่งจะเน้นการสื่อสารครบทุกฝ่าย ตั้งแต่ฝ่ายบนสุดจนถึงฝ่ายปฏิบัติการ ทุกคนจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีการติดต่อสื่อสารที่ง่ายต่อการพัฒนาปรับปรุงองค์กรอย่างมาก จะเป็นการใช้งานกับองค์กร หรือธุรกิจที่มีเป้าหมายเป็นความยั่งยืนระยะยาว

ข้อดี

ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การปรึกษาเพื่อการแก้ปัญหา รวมถึงการดำเนินงานต่างๆ ไม่มีการแบ่งเป็นลำดับชั้น จะเป็นการรับผิดชอบงาน และการบริหารองค์กรร่วมกัน โดยที่ผู้บริหารใหญ่สุดจะเป็นคนตัดสินใจสำหรับการเลือกทิศทางในขั้นตอนต่อไป  

ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัวนี้จะเป็นการทำงานที่ดีต่อไอเดีย การปรับตัว และการมุ่งไปยังเป้าหมายที่รวดเร็ว ง่ายต่อการจัดการปัญหาเกี่ยวกับด้านบุคคลอย่างมาก พนักงานจะได้รับความมั่นใจ และรู้สึกมีคุณค่าจนเกิดความรู้สึกผูกพันต่อองค์กรขนาดเล็กที่ใช้วัฒนธรรมองค์การแบบครอบครัว ลดอัตราการเปลี่ยนผ่านของพนักงานได้ดี ประหยัดงบประมาณเรื่องบุคคลได้มากขึ้น ส่วนการสื่อสารจะได้รับทราบมุมมองต่อกันแบบ 100% ไม่ต้องแจ้งเรื่องผ่านหลายคน หรือหลายลำดับขั้น ทำให้การสื่อสารไม่มีผิดพลาดแน่นอน

ข้อเสีย

หากองค์กรเริ่มมีการเติบโตที่รวดเร็ว หรือธุรกิจต้องพัฒนาให้ใหญ่ขึ้น เรื่องกฎเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ ภายในองค์กรจะไม่สามารถจัดการได้อีกต่อไป และจะส่งผลกระทบต่อความรู้สึกส่วนตัวของพนักงานในทางที่ไม่ดี ดังนั้น การแก้ไขข้อเสียตรงนี้สามารถทำได้จากตัวผู้บริหารที่ต้องเริ่มวางตัวให้เป็นกึ่งกลาง สามารถให้ความสนิทเข้าถึงทุกฝ่าย เข้าถึงทุกการติดต่อสื่อสารได้แต่ก็ต้องเว้นระยะห่างไว้ด้วย ไม่ควรใช้ขอบเขตการเป็นเพื่อนสนิทมากเกินไป ให้คิดเผื่อถึงความเติบโตในอนาคตไว้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นองค์กรหรือธุรกิจเล็กๆ ในช่วงแรกก็ตาม เพราะวัฒนธรรมแบบนี้มักมีการเติบโตที่รวดเร็วกว่าหลายๆ แบบ

วัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลง (Adhocracy Culture)

วัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลง เป็นรูปแบบที่น้อยคนจะเลือกใช้เพราะต้องมีจิตใจที่หนักแน่นและมีความมั่นใจที่สูงมาก เพราะวัฒนธรรมองค์กรแบบนี้ จะหมายถึงการเน้นรูปแบบการทำงานด้านต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวทางใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือการประยุกต์ให้เป็นรูปแบบของตนเอง โดยไม่มีตัวอย่างที่ไหนเลย เพื่อให้มีการพัฒนาเป็นรูปแบบขององค์กรตนเองเต็มร้อย 

ดังนั้นองค์กรที่เลือกใช้วัฒนธรรมองค์การแบบนี้จะมีการพัฒนาต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และมีการเติบโตขึ้นในทุกวินาที เป็นการขับเคลื่อนองค์กรด้วยเป้าหมาย เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการเติบโต และสนุกกับการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบของตนเองอย่างอิสระ

ข้อดี

วัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ธุรกิจ หรือการดำเนินงานขององค์กรเป็นอิสระสูงมาก ได้มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์หลากหลายด้านมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย เพื่อนำมาปรับแต่งให้กลายเป็นเป้าหมายองค์กรของตนเองร่วมเส้นทางกัน เพราะฉะนั้น พนักงานทุกคนขององค์กรรูปแบบนี้จะได้รับการสนับสนุนความสามารถ และเป้าหมายต่อเส้นทางของสายอาชีพ (Career Path) เพื่อให้บรรลุความต้องการอย่างสนุกสนาน ไม่หมดไฟในการทำงาน เป็นการก้าวหน้าระหว่างบุคลากรและตัวองค์กรไปพร้อมกัน

ข้อเสีย

ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของวัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นเรื่องของความเสี่ยง เพราะมีการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง ไม่มีแนวทางหรือกรณีศึกษา ต้องเริ่มต้นทดลอง และลงมือทำ พร้อมกับรับความเสี่ยงที่ตามมาให้ได้ทุกผลลัพธ์ ส่วนในด้านการแข่งขันภายในองค์กรระหว่างพนักงานด้วยกันก็จะสูงมากขึ้น เพราะมีแรงการสนับสนุนจากวัฒนธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงแบบนี้นั่นเอง

วัฒนธรรมองค์กรแบบตลาด (Market Culture)

วัฒนธรรมองค์กรแบบตลาด (Market Culture)

วัฒนธรรมองค์กรแบบตลาด เป็นการเน้นจุดมุ่งหมายไปยังผลลัพธ์เป็นหลัก และมีแผนงานที่เป็นระบบระเบียบ มีความชัดเจนในจุดประสงค์การดำเนินงาน และมีระยะเวลากำหนดไว้ทุกเป้า เพราะฉะนั้น ความสำคัญหลักที่วัฒนธรรมองค์กรแบบนี้จะมุ่งเน้น มักจะเป็นด้านการเอาชนะคู่แข่ง เป้าหมาย การปรับตัวตามสภาพการตลาด เศรษฐกิจ ลูกค้า และสิ่งแวดล้อมด้านธุรกิจทั้งหมดเป็นหลัก

ข้อดี

การดำเนินองค์กรด้วยวัฒนธรรมแบบตลาดจะทำให้เป้าหมาย และการทำงานมีความเสถียร มีการเติบโตสูงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งความเสี่ยงในการดำเนินงานมีน้อยมาก สามารถปรับใช้ได้กับธุรกิจหรือองค์กรทุกประเภท

ข้อเสีย

  • Personal Branding ส่งผลให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะการที่แบรนด์มีอัตลักษณ์ และจุดยืนที่ชัดเจน ก็จะสามารถนำเสนอสิ่งต่างๆ ออกมาได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ เพราะโลกออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูง การที่ดึงจุดเด่นของ Personal Branding ของตนเองออกมาปรับใช้ ก็จะทำให้แบรนด์โดดเด่นและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
  • ช่วยดึงดูดให้ลูกค้าสนใจแบรนด์มากขึ้น การสร้าง personal branding ให้เป็นที่น่าจดจำ มีความน่าเชื่อถือ มีเอกลักษณ์และดูโดดเด่น แน่นอนว่าช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี
  • Personal Branding ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าจากสินค้า การบริการ หรืออื่นๆ ที่จะทำให้แบรนด์เหนือกว่าคู่แข่ง
  • ช่วยต่อยอดเครือข่ายทางธุรกิจ เมื่อแบรนด์มีตัวตน มีเป้าหมายที่ชัดเจน จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้นๆ ก็สามารถสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้เติบโตได้ง่ายขึ้น

วัฒนธรรมองค์กรแบบลำดับชั้น (Hierarchy Culture)

เป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในหลายๆ องค์กร กับการแบ่งลำดับชั้นการทำงาน ตำแหน่ง หน้าที่อย่างชัดเจน มักจะเป็นวัฒนธรรมในองค์กรที่มีความเป็นทางการ และต้องมีการบังคับบัญชาออกคำสั่งดำเนินงานอย่างมีแบบแผน และมีวิสัยทัศน์วางไว้ในระยะยาว โดยรูปแบบนี้จะไม่เหมาะกับการใช้งานในธุรกิจหรือองค์กรขนาดเล็ก

ข้อดี

การแบ่งลำดับชั้นและหน้าที่ต่างๆ จะมีความชัดเจน ทำให้ขอบเขตการทำงานของแต่ละฝ่ายสามารถเข้าใจในเนื้องานของตนเองได้ และรับผิดชอบหรือตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ปัญหาเรื่องการขุ่นเคืองในที่ทำงานมักจะมีน้อย

ข้อเสีย

เรื่องความยืดหยุ่นหรือการสื่อสารกันภายในองค์กรจากวัฒนธรรมรูปแบบนี้จะค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพเต็มเท่าที่ควร ทำให้เกิดบรรยายการทำงานที่ค่อนข้างกดดันต่อการปรับตัวของทีมงานด้วย

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร

องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กรมีอยู่หลายปัจจัย ซึ่งทุกองค์ประกอบจะนำไปปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบการบริหารและเป้าหมายของแต่ละองค์กร แต่ละธุรกิจได้ตามแบบแผนที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยองค์ประกอบต่างๆ ของการสร้างวัฒนธรรมองค์การมีอะไรบ้าง สามารถแยกออกมาได้ ดังนี้

คุณค่าต่างๆ จากองค์กร

การสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เป็นการสะท้อนว่าองค์กรนั้นมีวัฒนธรรมที่ดี และมีความยั่งยืนในการทำงานอย่างแน่นอน โดยการสร้างคุณค่าขององค์กร คือการวางแผนทิศทาง เป้าหมาย จุดประสงค์ การดำเนินงาน วิสัยทัศน์ และขั้นตอนการทำงานต่างๆ ทั้งแบบระยะสั้นกับระยะยาวไว้อย่างชัดเจน จะทำให้พนักงานสามารถมองเห็นการเติบโตขององค์กรได้จริง และมีแรงจูงใจในการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้น การสร้างคุณค่าให้กับองค์กรถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดี

การมีผู้นำที่ดี

ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงมากที่สุด และให้ความมั่นคงน่าเชื่อถือต่อตัวพนักงานทั้งหมดได้ คือ การมีผู้นำที่ดี สำหรับคำว่าผู้นำที่ดี หมายถึง ผู้นำที่มีมุมมองกว้าง มองโลกเป็นภาพรวมได้อย่างเฉียบขาด มองปัญหาพร้อมคิดแนวทางการแก้ไขได้อย่างมีแนวทางการปฏิบัติที่พร้อมอธิบายให้กับทีมงานฟัง และที่สำคัญคือต้องเป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติการรับฟังสูง รับฟังอย่างเป็นกลาง แล้วนำข้อมูลความคิดเห็นของพนักงานหรือทีมงานเข้ามาปรับใช้ในส่วนของข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยไม่มีการใช้อำนาจบีบบังคับในทางที่ผิด และต้องเคารพให้เกียรติกับพนักงานในฐานะผู้ปฏิบัติการด้วยเช่นกัน

การทำตามค่านิยม

การกำหนดค่านิยมภายในองค์กร เป็นวัฒนธรรมองค์กรอย่างหนึ่งที่จะกำหนดความคิดของทีมงาน พนักงานทุกระดับ ให้มีเป้าหมายไปยังทิศทางเดียวกันกับผู้บริหารได้จากการเสริมสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความมั่นใจและแสดงผลลัพธ์ให้กับทีมงานได้เห็นกันอย่างเสมอ เพื่อเพิ่มเติมความเชื่อในเป้าหมายเดียวกันมากขึ้น

การให้พนักงานมีส่วนร่วม

การสร้างส่วนร่วมให้กับพนักงานได้รู้สึกมีคุณค่า และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรให้เติบโตก็เป็นหนึ่งในการเสริมสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้แข็งแรงด้วยเช่นกัน โดยอาจเริ่มจากเรื่องง่ายๆ อย่างเช่น การรับฟังความเห็น และการขอฟีดแบ็กจากพนักงานต่อการทำงานอยู่เสมอ พร้อมตัดสินใจเลือกปัญหาที่มีผลกระทบต่อการดำเนินองค์กรไปยังเป้าหมายเข้ามาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี

ความเอาใจใส่กับพนักงาน

คงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ว่า ฟันเฟืองสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนธุรกิจหรือองค์กรก็คือพนักงาน เพราะฉะนั้น การสร้างความเอาใจใส่ต่อตัวพนักงาน ถือว่าเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็น การให้สวัสดิการที่มีความเท่าเทียมกับขอบเขตการทำงานของพนักงาน หรือการให้ความพิเศษในช่วงวันสำคัญ วันเกิด โอกาสสำคัญต่างๆ ของทางองค์กรเองก็ตาม ดังนั้น การให้ความใส่ใจกับพนักงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์การทำงานได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

การชื่นชมและให้รางวัล

เมื่อพนักงานมีการสร้างผลงานความสำเร็จให้กับองค์กร ก็ควรมีการชื่นชม และให้รางวัลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มกำลังใจในการดำเนินงานให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพที่ดีมากต่อไป อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานคนอื่นๆ ภายในองค์กรด้วยเช่นกัน ดังนั้น การตั้งรางวัลความสำเร็จและการชื่นชมก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เพิ่มศักยภาพให้การทำงานอย่างดีเช่นกัน

สิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนา

ประสบการณ์การทำงาน การพัฒนาตนเอง การเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ได้กลายเป็นปัจจัยความต้องการใหม่ที่พนักงานยุคนี้เริ่มมองหา และต้องการมากขึ้น เพื่อการต่อยอดในอนาคตสำหรับสายงานของตนเอง ดังนั้น การสนับสนุนการอบรม การเข้า Workshop หรือการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง รวมถึง การสามารถสอบถามข้อสงสัยต่างๆ กับทางผู้บริหารได้โดยตรง จะเป็นการสร้างความสนุกและเติมแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับองค์กรต่อตัวพนักงานได้ดีมากขึ้น ถือว่าการสนับสนุนด้านการพัฒนาตัวเองนั้นก็เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับองค์กรสมัยใหม่

ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม

หากองค์กรมีการสนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง หรือการสร้าง Workshop และโครงการอบรมใดๆ ขึ้นมาแล้ว ต้องอย่าขาดความต่อเนื่องในการเสริมสร้างทักษะและการสนับสนุนด้านนี้ให้กับพนักงานโดยเด็ดขาด ควรสนับสนุนให้สุดทาง หรือหากเป็นคอร์สอบรมและ Workshop ก็ควรทำตั้งแต่พื้นฐานจนจบหลักสูตร เพื่อให้พนักงานได้รับทักษะและการเรียนรู้เพื่อต่อยอดอย่างคุ้มค่าสูงสุดอย่างไม่มีหมดไฟนั่นเอง

การที่องค์กรมีส่วนร่วมกับชุมชน

เมื่อองค์กรมีการดำเนินการอย่างชัดเจนตามเป้าหมาย และมีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการทำ CSR หรือเป็นโครงการคืนกำไรให้กับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค การช่วยเหลือ การสนับสนุนชุมชนและสังคมในด้านต่างๆ อย่างน้อยวัฒนธรรมนี้ควรต้องมีความสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเป็นต้นไป

ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร

ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรสำคัญ และส่งผลดีต่อทั้งตัวการดำเนินงานในองค์กร ซึ่งจะดีต่อตัวพนักงานทุกระดับชั้น ทุกฝ่ายงานทั้งหมดอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเลือกวัฒนธรรมภายในองค์กรรูปแบบใดไปปรับใช้ก็ตาม เพราะวัฒนธรรมองค์การ คือการสร้างทิศทางและเป้าหมายให้กับการทำงานร่วมกันภายในองค์กรนั้นๆ เป็นไปในทิศทางความเห็นเดียวกัน ลดความขัดแย้ง หมดปัญหาเรื่องการปรับตัวอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ จุดมุ่งหมายจะสำเร็จได้ง่ายในระยะเวลาที่น้อยลง พนักงานภายในองค์กรก็มีความสุขและมีแรงบันดาลใจในการทำงานเช่นกัน

สรุป

สรุปแล้ว วัฒนธรรมองค์กรคือแนวทางการปฏิบัติการและการอยู่ร่วมกันภายในองค์กร โดยทุกคนจะมีจุดมุ่งหมายที่เข้าใจตรงกัน มีทิศทางการทำงานไปในรูปแบบเดียวกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ภายในองค์กรได้ดีที่สุด ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กรแบบครอบครัว (Clan Culture), วัฒนธรรมองค์กรแบบการเปลี่ยนแปลง (Adhocracy Culture), วัฒนธรรมองค์กรแบบตลาด (Market Culture) และ วัฒนธรรมองค์กรแบบลำดับชั้น (Hierarchy Culture)

 โดยรูปแบบหลักสามารถเลือกได้ตามจุดประสงค์ และความต้องการในการบริหารทิศทางองค์กรให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองได้ แล้วเลือกปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของวัฒนธรรมอื่นๆ ให้เข้ากันกับระบบระเบียบองค์กรมากขึ้นได้ เช่น การเพิ่มเติมด้านการสนับสนุน และการพัฒนาตนเองของพนักงานผ่านการจัด Workshop เต็มคอร์ส หรือการสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานให้สำเร็จด้วยการให้รางวัลการชื่นชม และอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อไป ที่สำคัญที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์กรไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกองค์ประกอบ ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่าอยากให้วัฒนธรรมออกมาเป็นแบบไหน ดำเนินการบริหารอย่างไรก็เลือกให้เหมาะสมที่สุดเท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

16 กันยายน 2024
16 กันยายน 2024
23 สิงหาคม 2024
23 สิงหาคม 2024
22 สิงหาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย