แชร์ 9 วิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ พูดรู้เรื่อง กระชับ ฟังได้แบบไม่มีเบื่อ

วิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ พูดรู้เรื่อง กระชับ ฟังได้แบบไม่มีเบื่อ

ในการพรีเซนต์งาน เชื่อว่าหลายต่อหลายครั้ง แม้จะมีไอเดียที่ดีเลิศอย่างไร แต่ก็อาจจะส่งผลให้บางคนที่พูดไม่ค่อยเก่ง เกิดเสียความมั่นใจ และไม่สามารถที่จะถ่ายทอดใจความหลักของงานไปสู่คนฟังได้ เพราะไม่รู้จะเริ่มต้น นำเสนองานอย่างไรให้น่าสนใจ และให้ผู้ฟังคอยติดตามจนจบเรื่องได้ แม้ว่าทุกคนไม่ได้เกิดมาพร้อมความมั่นใจด้านการสื่อสารก็จริง แต่ทักษะการพรีเซนต์งานที่มีความเป็นมืออาชีพก็สามารถฝึกฝนกันได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรพลาดวิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตนเองไปพร้อมกันได้ในบทความนี้

Table of Contents

การพรีเซนต์งานสำคัญต่อหน้าที่การงานอย่างไร

การพรีเซนต์งานสำคัญต่อหน้าที่การงานอย่างไร

ทักษะการพรีเซนต์งานสำคัญต่อหน้าที่การงานมาก เพราะสามารถนำไปใช้นำเสนอผลงานต่างๆ ให้แก่หัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานได้ เนื่องจากการพรีเซนต์งานเปรียบดั่งองค์ประกอบที่ช่วยสร้างความน่าสนใจให้แก่ผลงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้แก่ผลงาน และที่สำคัญ การพรีเซนต์งานยังมีความสำคัญต่อหน้าที่การงานในด้านการโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอ ทำให้คุณดูเป็นผู้เชี่ยวชาญ แน่นอนเลยว่าจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรืองได้แน่นอน

การเตรียมตัวก่อนการพรีเซนต์งาน

การเตรียมตัวก่อนการพรีเซนต์งาน

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงการพรีเซนต์งาน หลายคนก็คงอยากจะให้งานที่นำเสนอออกมาดี เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟัง จึงควรเตรียมตัวก่อนพรีเซนต์งาน ดังนี้

ทำความเข้าใจว่าผู้ฟังเป็นใคร

เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจผู้ฟังก่อนว่าผู้ฟังเป็นใคร แล้วผู้ฟังต้องการอะไรบ้างจากสิ่งที่เราพรีเซนต์ เมื่อได้รู้กันแล้วว่าผู้ฟังเป็นใคร และต้องการอะไร ก็สามารถเลือกประเด็นที่ตอบโจทย์มานำเสนอได้ง่าย ผู้ฟังก็จะยิ่งให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นประเด็นที่ผู้ฟังสนใจจะรู้อยู่แล้ว เช่น การนำเสนอเรื่องมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้หญิง เป็นต้น

เช็กความเรียบร้อยของสไลด์

หลายๆ คนมักมีอาการตื่นเต้นก่อนที่จะพรีเซนต์งาน โดยเฉพาะคนที่พูดไม่ค่อยเก่ง ดังนั้น จึงควรเตรียมตัวไปให้ดี โดยการซ้อมพูดพรีเซนต์งานพร้อมสไลด์ และจับเวลา ไม่ว่าจะซ้อมกับเพื่อน หรือซ้อมหน้ากระจกก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะลดความตื่นเต้น และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่พรีเซนต์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

ซ้อมพูดพรีเซนต์ พร้อมสไลด์ และการจับเวลา

หลายๆ คนมักมีอาการตื่นเต้นก่อนที่จะพรีเซนต์งาน โดยเฉพาะคนที่พูดไม่ค่อยเก่ง ดังนั้น จึงควรเตรียมตัวไปให้ดี โดยการซ้อมพูดพรีเซนต์งานพร้อมสไลด์ และจับเวลา ไม่ว่าจะซ้อมกับเพื่อน หรือซ้อมหน้ากระจกก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะลดความตื่นเต้น และช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ที่พรีเซนต์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เลือกชุดที่ใส่พรีเซนต์ที่เหมาะสม

บุคลิก และการแต่งกายก็มีความสำคัญมากสำหรับการพรีเซนต์ตัวเองให้น่าสนใจ เพราะฉะนั้นแล้ว ควรเลือกการแต่งกายที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการไปนำเสนอ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองด้วย

9 วิธีการพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย และน่าติดตามจนจบ

9 วิธีการพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย และน่าติดตามจนจบ

เมื่อได้ฟังคนอื่นๆ พรีเซนต์งานออกมาได้ดี เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยกันแน่นอนว่ามีวิธีการสื่อสารอย่างไร เพราะฉะนั้น หากใครต้องการพรีเซนต์งานให้เป็นมืออาชีพก็สามารถฝึกกันได้ด้วย 9 วิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย และผู้ฟังติดตามจนจบ ดังนี้

1. เริ่มต้นด้วยคลิปวิดีโอสั้นๆ

วิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ ต้องเริ่มต้นด้วยคลิปวิดีโอสั้นๆ กระชับ ไม่ยืดเยื้อจนเกินไป เพราะวิดีโอสั้นๆ จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถกระตุ้นให้งานที่ต้องการจะพรีเซนต์ดูน่าติดตามมากยิ่งขึ้น เช่น ตัวอย่างของภาพยนตร์ก่อนเริ่มเรื่อง เป็นต้น

2. เปิดประเด็นด้วยคำถาม

การเปิดประเด็นด้วยคำถามก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยสำหรับการพรีเซนต์งาน ซึ่งเจตนาของผู้พูดสำหรับการเปิดประเด็นด้วยคำถามไม่ได้ต้องการคำตอบจากผู้ฟัง แต่ต้องการให้ผู้ฟังนำคำถามเก็บไว้ในใจ ซึ่งจะเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความสงสัยในคำตอบของคำถามนั้นๆ เป็นเหตุทำให้ผู้ฟังมีความตั้งใจที่จะฟังเรื่องราวที่คุณจะพรีเซนต์ได้มากยิ่งขึ้น

3. การเน้นเสียงในประเด็นที่สำคัญ

การพรีเซนต์ด้วยน้ำเสียงเดียวกัน ไม่ว่าจะในประเด็นสำคัญ หรือประเด็นอื่นๆ ยืดเยื้อต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น การพรีเซนต์งานที่ดีจะต้องใช้เสียงสูง เสียงต่ำ และพยายามเน้นเสียงไปที่ประเด็นสำคัญ ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าจุดไหนมีความสำคัญ เช่น เพิ่มเสียงหนักแน่นไปที่คีย์เวิร์ดหลัก แล้วหยุดพูดชั่วขณะ เพื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้ว่าจุดนี้มีความสำคัญ เป็นต้น

4. พรีเซนต์แบบ Storytelling

การพรีเซนต์งานฉบับมืออาชีพจะต้องนำเสนอแบบ Storytelling ซึ่งจะเป็นการสร้างเรื่องเล่าหลายเรื่อง แล้วนำเรื่องเล่าต่างๆ มาผสมรวมกัน จนกลายเป็นใจความสำคัญ สำหรับการนำเสนอแบบ Storytelling เรื่องราวที่นำมาผสมกันไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน แต่เรื่องที่นำมาผสมกันจะต้องเชื่อมโยงกันได้อย่างมีเหตุผล และส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจนั่นเอง

มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง

5. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง

สำหรับวิธีการพรีเซนต์งาน หากมีการนำเสนอด้วยการพูดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ แน่นอนเลยว่าสิ่งที่ตามมาอาจจะส่งผลให้ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่าย เพราะฉะนั้น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ ซึ่งจะต้องทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมสำหรับการพรีเซนต์งานครั้งนี้ด้วย เช่น การเปิดโอกาสให้ผู้ฟังออกความคิดเห็น หรือตั้งคำถาม เป็นต้น

6. จำนวนสไลด์ต้องกระชับ ไม่ทำหลายหน้า

วิธีพรีเซนต์งานที่ดีที่สุด ไม่ใช่การพรีเซนต์งานด้วยสไลด์ที่มากที่สุด แต่จะต้องมาพร้อมกับสไลด์ที่มีความกระชับ ใช้คำน้อย ไม่ทำหลายหน้าจนเกินไป เนื่องจากการลดจำนวนสไลด์ลงจะเป็นส่วนช่วยทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำเนื้อหา และประเด็นสำคัญต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้นำเสนอเองก็จะได้โฟกัสไปที่การเล่าเรื่องมากกว่าการเปลี่ยนสไลด์ไปมาให้ยุ่งยาก

7. สไลด์ต้องเน้นรูปภาพ ไม่เน้นข้อความเยอะเกินไป

เทคนิคการพรีเซนต์งานที่ดี ต้องทำสไลด์ที่เน้นรูปภาพ ข้อความกระชับ และชัดเจนแทนการนำเสนอข้อมูลด้วยข้อความยาวๆ เนื่องจากการนำเสนอด้วยรูปภาพพร้อมกับข้อความที่กระชับได้ใจความ จะส่งผลให้ผู้ฟังสามารถจดจำได้ดีกว่า อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจขณะนำเสนออีกด้ว

8. มีกราฟตัวเลขสถิติประกอบการพรีเซนต์

สำหรับตัวช่วยเพิ่มความน่าสนใจสำหรับการพรีเซนต์งาน คือการนำเสนอกราฟตัวเลขสถิติประกอบการนำเสนอด้วย ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่จะนำเสนอได้ง่าย และเห็นภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่รับฟังเกิดความสนใจ และตั้งใจฟังในสิ่งที่เรากำลังนำเสนอมากยิ่งขึ้น

9. มีพร็อปประกอบการพรีเซนต์งานให้เห็นภาพ

การพรีเซนต์งานที่ดี ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเสริมอย่างพร็อปประกอบการนำเสนอ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยดึงดูดให้ผู้ชมเห็นภาพ และสนใจสิ่งที่เรากำลังนำเสนอได้มากยิ่งขึ้น หากมีการนำเสนอด้วยการผสมผสานความเฮฮาเข้าไปด้วยก็จะยิ่งทำให้บรรยากาศดูผ่อนคลายมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ฟังไม่เบื่อ และสามารถจดจำเนื้อหา เรื่องราวต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการพรีเซนต์งาน

ข้อควรระวังในการพรีเซนต์งาน

สำหรับข้อควรระวังของการพรีเซนต์งานที่ควรพึงระวังอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย

  • การไม่สนใจผู้ฟัง และไม่มีส่วนร่วมกับผู้ฟังเป็นสิ่งที่ควรพึงระวังไว้มากๆ เพราะอาจส่งผลให้ผู้ฟังเกิดเบื่อได้ โดยสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ฟังได้ง่ายๆ ด้วยการสบตา และการส่งคำถาม เป็นต้น
  • การอ่านคำบรรยายทุกตัวอักษรบนสไลด์ ซึ่งเป็นวิธีพรีเซนต์งานที่ไม่ควรทำมากๆ ดังนั้นจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อที่จะได้พูดอย่างมั่นใจมากขึ้น
  • การทำสไลด์ที่มีเนื้อหาแน่น และข้อความที่เยอะจนเกินไป จะทำให้ผู้นำเสนอใช้เวลาอยู่กับหน้าสไลด์นานเกินไป หรือหากมีภาพเยอะจนเกินไปก็อาจทำให้ผู้ชมไม่มีสมาธิฟังในสิ่งที่พูดด้วยเช่นกัน
  • การไม่เตรียมตัวฝึกพูดมาก่อน เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำเสนอหลายๆ คนตกม้าตายกันมานักต่อนักแล้ว เพราะจะทำให้ผู้นำเสนอไม่รู้รายละเอียดเนื้อหาที่ถ่องแท้ รวมถึงลำดับขั้นตอนการพรีเซนต์งานไม่ได้นั่นเอง
  • ไม่ได้นึกถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดระหว่างการนำเสนอ เช่น ไฟดับ หรือสไลด์ไม่ทำงาน เป็นต้น และถึงแม้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจัดการได้มาก แต่ก็ควรเตรียมหนทางแก้ไขไว้เสมอ

สรุป

ทักษะการพรีเซนต์งานมีความสำคัญต่อหน้าที่การงานมาก เพราะทักษะการพรีเซนต์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งชีวิต ไม่ว่าจะทำงานสายไหน เพื่อที่จะนำเสนองานให้ผู้ฟังได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งยังช่วยเสริมความโดดเด่นให้แก่ผลงาน โน้มน้าวให้ผู้ฟังสามารถเชื่อมั่น และมั่นใจในตัวเราได้มากยิ่งขึ้น 

เพราะฉะนั้นแล้ว ทุกครั้งที่มีการพรีเซนต์ จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย พูดถึงข้อมูลหลักๆ ที่ต้องการนำเสนอให้แก่ผู้ฟังได้เข้าใจ และตระหนักถึงข้อควรระวังในการพรีเซนต์งาน เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้การพรีเซนต์งานผ่านพ้นไปได้ด้วยดีแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

03 ธันวาคม 2024
03 ธันวาคม 2024
15 ตุลาคม 2024
09 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย