เคล็ดไม่ลับ ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

เคล็ดไม่ลับ ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

ชาวออฟฟิศต้องรู้! การนั่งท่าเดิมๆ ทำงานทุกวัน เป็นเวลาวันละ 8 ชั่วโมงกว่า แม้จะไม่ได้ใช้แรงงานร่างกายมากมายเหมือนงานอื่นๆ ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ อย่างการเป็นออฟฟิศซินโดรม เพราะภัยร้ายนี้เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนานๆ ทุกวัน จนสะสมเป็นอาการปวด ไม่ว่าจะหลัง คอ บ่า หรือไหล่ บางรายถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัด หรือผ่าตัดรักษา เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา และเสียสุขภาพ


บทความนี้จะมาแนะนำท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง บอกลาท่านั่งแบบเดิมๆ อย่างการนั่งหลังค่อมแล้วปวดหลัง มาเปลี่ยนท่านั่งเพื่อลดโอกาสเกิดออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดตามร่างกายเรื้อรัง ให้สุขภาพกายดี พร้อมทำงานอย่างเต็มที่ ทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกัน!

Table of Contents

นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง สำคัญอย่างไร

นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง สำคัญอย่างไร

ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้อุปกรณ์เพื่อสนับสนุนสุขภาพที่ดี นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม ลดอาการปวดหลัง คอ บ่า ไหล่ จากการนั่งท่าเดิมนานๆ แล้ว ยังช่วยในด้านอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • ช่วยลดการสึกหรอของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเอ็นต่างๆ
  • ช่วยลดโอกาสเกิดกล้ามเนื้อฉีกขาดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป
  • ช่วยรักษาสุขภาพของกระดูกสันหลัง
  • ลดอาการสึกหรอของร่างกายระหว่างการเคลื่อนไหว รวมถึงระหว่างการออกกำลังกาย
  • รักษาสมดุลขณะเคลื่อนไหวร่างกาย

หากนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ปวดหลัง ปวดคอ และปวดหัว เพราะก้มหรือโค้งตัวไปด้านหน้าเป็นเวลานาน อีกทั้งอาการปวดเหล่านี้ยังทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเวลานอน ทำให้นอนไม่หลับ ส่งผลต่อการพักผ่อนอีกด้วย

รวมท่านั่งแบบผิดๆ ที่ควรเลิกทำได้แล้ว!

รวมท่านั่งแบบผิดๆ ที่ควรเลิกทำได้แล้ว!

ได้รู้กันไปแล้วว่าท่านั่งทำงานที่ถูกต้องมีความสำคัญกับร่างกายอย่างไร บทความนี้ยังได้รวบรวมเอาท่านั่งทำงานแบบผิดๆ สาเหตุหลังของอาการปวดตามร่างกายมาให้สังเกตตัวเอง ว่ากำลังนั่งทำงานด้วยท่าเหล่านี้อยู่หรือไม่ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งก่อนจะสายเกินแก้ ซึ่งท่านั่งทำงานแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยงบ้าง ไปดูกัน

1. ท่านั่งขัดสมาธิ

ท่านั่งขัดสมาธิ คือท่านั่งไขว้ขาลงกับพื้น หันฝ่าเท้าขึ้น โดยการนั่งทำงานด้วยท่านี้จะทำให้บริเวณข้อพับขา และน่องขาถูกกดทับได้ 

เมื่อนั่งทำงานด้วยท่านั่งขัดสมาธิอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเหน็บชา เพราะเส้นเลือดข้อพับขาถูกกดทับได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ ผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก ท่านั่งนี้อาจจะส่งผลเสีย เพิ่มความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมจากการนั่งทับขาเป็นเวลานานได้ด้วยเช่นกัน

2. ท่านั่งไม่เต็มก้น

ท่านั่งไม่เต็มก้น คือท่านั่งกับพื้น หรือนั่งบนเก้าอี้ โดยเอนตัว และทิ้งน้ำหนักตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง รวมถึงการนั่งโดยไม่มีพนักพิงหลัง ทำให้หลังต้องแบกน้ำหนักมากกว่าปกติ เพราะต้องรองรับน้ำหนักแทนบริเวณก้นนั่นเอง

เมื่อนั่งทำงานด้วยท่านั่งไม่เต็มก้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนักกว่าปกติ ปวดเมื่อยได้ง่าย เมื่อนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานจนกลายเป็นนิสัย จะส่งผลให้หลังค่อม และกระดูกสันหลังคดในระยะยาวได้อีกด้วย

3. ท่านั่งหลังค่อม คด งอ

ท่านั่งหลังค่อม คด งอ คือการนั่งทำงานด้วยท่าโน้มตัวไปด้านหน้า รวมถึงการเอนตัวไปด้านข้าง นอกจากจะทำให้เสียบุคลิกเพราะการโค้งตัวแล้ว ยังส่งผลต่อกระดูกสันหลังได้อีกด้วย

เมื่อนั่งทำงานด้วยท่านั่งหลังค่อม คด งอ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง และปวดหลังได้ง่าย ยิ่งนั่งทำงานท่านี้ต่อไปเรื่อยๆ จะทำให้กรดแลคติก (Lactic Acid) คั่ง เป็นสาเหตุของอาการเมื่อยล้าตลอดเวลา และกระดูกคดงอผิดรูปถาวร

4. ท่านั่งทำงานบนเตียง

ท่านั่งทำงานบนเตียง คือการนั่งขัดสมาธิทำงานบนเตียง ไม่ว่าจะเป็นการวางแล็บท็อปไว้บนตัก หรือมีโต๊ะญี่ปุ่นมาวางไว้บนเตียงก็ตาม ต่างก็ส่งผลเสียต่อกระดูก หลัง และคอทั้งสิ้น

เมื่อนั่งทำงานด้วยท่านั่งทำงานบนเตียง อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายรู้สึกเมื่อยล้าจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพราะต้องพยุงรับน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ เพื่อไม่ให้ตัวยวบลงไปกับความนุ่มของเตียง และหากนั่งทำงานท่านี้ต่อไปเรื่อยๆ จะทำให้ความเมื่อยล้าสะสม ปวดคอ บ่า ไหล่ และกระดูกเชิงกรานเรื้อรังอีกด้วย

5. ท่านั่งไขว่ห้าง

ท่านั่งไขว่ห้าง คือท่านั่งที่ขาหนึ่งข้าง ไปวางทับขาอีกข้าง แล้วถ่ายเทน้ำหนักลงไปบนขาด้านล่างเพียงขาเดียวเท่านั้น ท่านั่งแบบนี้นอกจากจะกดทับขาข้างใดข้างหนึ่งแล้ว ยังทำให้ถ่ายเทน้ำหนักลงก้นเพื่อรองรับน้ำหนักตัวไม่สมดุลด้วยเช่นกัน

เมื่อนั่งทำงานด้วยท่านั่งไขว่ห้าง เลือดบริเวณขาด้านล่างที่รับน้ำหนักนั้นจะไหลเวียนได้ไม่ดี รู้สึกปวดเมื่อยได้ง่าย และเร็วมากกว่าปกติ ยิ่งนั่งท่านี้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ ทำงานผิดปกติ กระดูกสันหลังคดงอ เพิ่มความเสี่ยงกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทได้

ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ทำได้อย่างไร

ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ทำได้อย่างไร

ได้เวลาบอกลาท่านั่งผิดๆ แบบเดิมๆ แล้วมาปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้องอย่างเหมาะสมกันดีกว่า โดยจะปรับตำแหน่งเก้าอี้ รวมถึงเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับการนั่งทำงานที่เหมาะสมได้อย่างไรนั้น ไปดูกันเลย

1. เลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่ดี

เก้าอี้ทำงานที่ดี ต้องช่วยรองรับสรีระจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน รวมถึงช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก้าอี้นั่งทำงานที่ดี รองรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

  • เก้าอี้ที่ออกแบบตามสรีรศาสตร์ ปรับเอนได้อย่างเหมาะสม
  • เก้าอี้ต้องรองรับบั้นเอว
  • เก้าอี้ต้องมีซัปพอร์ตหลัง (Back Support) และซัปพอร์ตคอ (Neck Support) เพื่อพยุงหลังและคอ ป้องกันการทำงานหนักของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น

2. มีที่วางแขนที่เหมาะสม

ควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักแขนที่เหมาะสม สามารถปรับความสูงได้ตามสรีระผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันแรงกดน้ำหนักลงไปที่ไหล่ ข้อมือ และข้อนิ้ว ที่มากเกินไปจนทำให้รู้สึกเมื่อยล้าจากการนั่งได้ง่าย นอกจากนี้ ที่วางแขนควรทำให้ข้อศอกงออยู่ในระดับ 90-120 องศา เมื่อต้องใช้งานแป้นพิมพ์

นอกจากการปรับท่านั่งทำงาน ควรวางตำแหน่งแป้นพิมพ์ให้อยู่ต่ำกว่าพนักแขน เพื่อป้องกันการยกแขนและไหล่ระหว่างพิมพ์ ช่วยลดการทำงานหนักบริเวณไหล่ได้

3. เก้าอี้มีความสูงที่เหมาะสม

ความสูงของเก้าอี้ขณะนั่งทำงานเองก็สำคัญเช่นกัน เพราะช่วยรองรับสรีระ ป้องกันการก้ม หรือการโค้งตัวไปดูหน้าจอ ที่ก่อให้เกิดการปวดหลังได้ โดยเก้าอี้นั่งทำงานต้องทำให้หัวเข่ากับข้อสะโพกอยู่ในระดับเดียวกันขณะนั่งทำงาน เพื่อให้กระจายน้ำหนักได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง

ทั้งนี้ ข้อเท้าควรจะวางอยู่บนพื้นในระดับ 90 องศา ระวังไม่ให้ข้อเท้าลอยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้อเท้าตึง เป็นสาเหตุของอาการตึงและปวดน่อง

4. ปรับท่านั่งตัวตรง คอตรง

ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ควรนั่งตัวตรง ฝ่าเท้าแตะพื้นได้อย่างพอดี ข้อศอกตั้งฉากขนานไปกับโต๊ะ มีจอคอมอยู่ในระดับสายตาพอดี ไม่ต้องก้ม โค้ง หรือยื่นหน้าไปมองจอ เพราะอาจทำให้ปวดหลัง และคอได้ และหากจำเป็นต้องใช้แล็ปท็อปในการทำงานเป็นประจำ ควรมีคีย์บอร์ด รวมถึงจอคอมขนาดใหญ่แยกออกมา เพื่อให้ไม่ต้องเพ่งสายตา หรือยื่นหน้ามองจอหรือคีย์บอร์ดของแล็ปท็อป

5. วางสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

นอกจากท่านั่งทำงานที่ถูกต้องแล้ว ควรวางสิ่งของบนโต๊ะให้เหมาะสม เพื่อการนั่งทำงานที่สมดุลที่สุด โดยสิ่งของต่างๆ บนโต๊ะควรอยู่ในระยะเอื้อมมี ให้หยิบจับได้ง่าย ป้องกันการโน้มตัวลงไปหยิบจับสิ่งของ เพราะการโน้มตัวอาจทำให้เผลอกลับไปนั่งท่าที่ผิดแบบไม่รู้ตัวได้

6. ห้ามนั่งนานเกินไป

ไม่ว่าท่านั่งทำงานที่ถูกต้องจะดี หรือช่วยลดอาการปวดหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ก็อย่าละเลยการพักสายตา และการพักจากท่านั่งแบบเดิมๆ เป็นระยะเวลานานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถในทุก 30 นาที รวมถึงหาเวลาลุกออกมาเดินทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และขา ให้ได้ผ่อนคลายนั่นเอง

สรุป

ท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง และเหมาะสม ช่วยสนับสนุนหลังให้สุขภาพดี ลดโอกาสเกิดการสึกหรอของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนั่ง และยังรักษาสุขภาพของกระดูกสันหลัง ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว อันเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง คอ บ่า และไหล่เรื้อรัง รวมถึงช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรมที่ชาวออฟฟิศหลายคนต้องเผชิญอีกด้วย เพื่อปรับท่านั่งทำงานให้ถูกวิธี ควรเลือกใช้เก้าอี้ที่เหมาะสม มีพนักวางมือ และความสูงที่เข้ากับสรีระของผู้ใช้งาน ควรนั่งตัวตรง คอตรง พร้อมทั้งพักสายตา และลุกออกไปเดินคลายกล้ามเนื้อทุกๆ 2 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน

สำหรับบริษัทที่กำลังมองหาออฟฟิศที่เหมาะสม มีพื้นที่สีเขียวไว้ให้พนักงานได้ออกไปเดินยืดเส้นยืนสายหลังจากทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อย แนะนำ CW Tower ออฟฟิศให้เช่าใจกลางย่านรัชดา เดินทางง่าย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน พร้อมพื้นที่สีเขียว เหมาะกับการออกมาเดินพักผ่อนจากการทำงานหนักๆ ได้อย่างดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

06 มกราคม 2025
06 มกราคม 2025
06 มกราคม 2025
03 ธันวาคม 2024
03 ธันวาคม 2024
15 ตุลาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย