ลูกจ้างต้องรู้! เงินชดเชยเลิกจ้าง จะได้กรณีไหนบ้าง ถ้าไม่ได้ต้องทำยังไง

ลูกจ้างต้องรู้! เงินชดเชยเลิกจ้าง จะได้กรณีไหนบ้าง ถ้าไม่ได้ต้องทำยังไง

โดนปลดฟ้าผ่าไม่ทันตั้งตัว ทำยังไงดี? เรามาทำความรู้จักกับเงินชดเชยเลิกจ้าง ซึ่งสำคัญมากๆ ต่อเหล่าลูกจ้าง เพื่อไม่ให้เราเสียเปรียบนายจ้างหรือไม่ทำให้เราโดนเอาเปรียบได้ง่ายๆ ดังนั้นการรู้สิทธิที่เราควรจะได้รับนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แม้เรายังไม่ถูกเลิกจ้างแต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย โดยบทความนี้เราจะมาดูกันว่าหากในกรณีที่ถูกเลิกจ้างกระทันหันเราจะได้เงินค่าชดเชยอะไรบ้าง หรือหากไม่ได้เงินชดเชยจะต้องทำอย่างไร

Table of Contents

เงินชดเชยเลิกจ้าง คืออะไร?

เงินชดเชยเลิกจ้าง คืออะไร?

เงินชดเชยเลิกจ้าง คือเงินที่นายจ้างจะต้องให้กับลูกจ้างในกรณีที่ต้องบอกเลิกสัญญาจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่สมัครใจและไม่มีความผิดใดๆ จากการที่ถูกเชิญให้ออกจากงาน โดยการให้เงินชดเชยเลิกจ้างนั้นเป็นเงินประเภทอื่นที่เหนือไปจากค่าจ้างที่ตกลงกันตามสัญญา และเป็นเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

กรณีไหนบ้างที่ไม่ได้เงินชดเชยเลิกจ้าง

กรณีไหนบ้างที่ไม่ได้เงินชดเชยเลิกจ้าง

ในการบอกเลิกสัญญาจ้างหรือเชิญให้ออกบางกรณี นายจ้างไม่จำเป็นที่จะต้องให้เงินค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง โดยกรณีต่างๆ มี ดังนี้

กรณีที่ลูกจ้างออกเอง หรือลูกจ้างมีความผิด

กรณีที่ลูกจ้างทำผิดสัญญาจ้าง หรือลูกจ้างเป็นผู้ประสงค์จะออกจากงานเองนายจ้างไม่จำเป็นที่จะต้องให้ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง โดยความผิดที่ไม่ได้เงินค่าชดเชยเลิกจ้างมี ดังนี้ 

  • ถูกเชิญออกจากการมีความผิด ซึ่งได้รับการตักเตือนแล้วหรือความผิดรุนแรงที่ต้องเชิญให้ออกทันที 
  • ขาดงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุจำเป็นใดๆ 
  • ทุจริตต่อหน้าที่และองค์กร ทำผิดต่อกฎหมายอาญา
  • ทำความเสียหายอย่างรุนแรงต่อนายจ้างและองค์กร
  • ลูกจ้างมีโทษจำคุก
  • ลูกจ้างประสงค์ที่จะลาออกเอง
  • ยกเลิกสัญญาโดยมีการกำหนดระยะเวลาล่วงหน้าแน่นอน และมีการแจ้งไว้แล้ว 

กรณีที่ต้องลดจำนวนพนักงานเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน

ในกรณีที่องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงและต้องการบอกเลิกสัญญาจ้างแก่พนักงานบางส่วนเพื่อปรับเปลี่ยนอัตราจำนวนพนักงาน จำเป็นที่จะต้องลูกจ้างที่ต้องถูกบอกเลิกจ้างเป็นระยะเวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ซึ่งหากผิดเงื่อนไข คือเชิญให้ออกโดยไม่แจ้งลูกจ้างล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอัตราค่าจ้าง 60 วัน สุดท้ายให้แก่ลูกจ้าง หรือในกรณีที่ลูกจ้างมีอายุการทำงานในองค์กรมากกว่า 6 ปี ขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าชดเชยอัตราค่าจ้างสุดท้ายเป็นจำนวน 15 วัน ต่อ 1 ปี โดยรวมกันไม่เกินอัตราค่าจ้างสุดท้าย 360 วัน

กรณีย้ายสถานที่ทำงานที่ส่งผลต่อการทำงานของลูกจ้าง

กรณีย้ายสถานที่ทำงานและส่งผลต่อลูกจ้าง นายจ้างจะต้องแจ้งอย่างน้อยก่อนย้าย 30 วัน หากไม่มีการแจ้งแก่พนักงาน จะต้องชดเชยตามอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน หรือหากการย้ายสถานที่ทำงานส่งผลต่อพนักงานจนทำให้ต้องเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ไม่น้อยกว่า 50% ของอัตราค่าชดเชยปกติ

ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ต้องได้ตอนไหน

ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ต้องได้ตอนไหน

ในกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างที่จะต้องได้รับเงินชดเชย โดยค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างจะต้องได้รับภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขลูกจ้างสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมตามการคุ้มครองแรงงาน

อัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง คิดยังไง

อัตราเงินชดเชยเลิกจ้าง จะคิดตามอายุงานและตามเงินเดือนของลูกจ้างที่ได้เข้ามาทำงานภายในองค์กร โดยจำนวนงานที่แตกต่างกันก็ส่งผลทำให้อัตราค่าชดเชยต่างกันออกไป ซึ่งอายุงานจะผันแปรตามอัตราค่าชดเชยที่ได้รับ โดยยิ่งจำนวนอายุงานมากก็จะได้รับอัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างสูงตามไปด้วย โดยมีอัตราค่าชดเชย ดังนี้

อายุงาน อัตราค่าชดเชย
ไม่น้อยกว่า 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปีค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (1 เดือน สุดท้าย)
มากกว่า 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปีค่าจัางอัตราสุดท้าย 90 วัน (3 เดือน สุดท้าย)
มากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปีค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน (6 เดือนสุดท้าย)
มากกว่า 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปีค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน (8 เดือนสุดท้าย)
มากกว่า 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปีค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน (10 เดือนสุดท้าย)
มากกว่า 20 ปี ขึ้นไปค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน (13.3 เดือนสุดท้าย)
เงินอื่นๆ ที่ต้องได้ กรณีถูกเลิกจ้าง

เงินอื่นๆ ที่ต้องได้ กรณีถูกเลิกจ้าง

การถูกเลิกจ้างนั้นลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน โดยเงินก้อนอื่นๆ ที่เราจะต้องได้รับในฐานะลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างนั้นมีอะไรบ้าง ดังนี้

เงินค่าจ้าง

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ได้ระบุไว้ ดังนี้ “นายจ้างสามารถเลิกจ้างพนักงานได้แต่ต้องมีการบอกล่วงหน้าเป็นหนังสือภายในกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งใดๆ เพื่อให้มีผลเมื่อถึงก่อนกำหนดจ่ายครั้งถัดไป” กล่าวคือ หากระบบการจ่ายเงินเดือนเป็นการจ่ายในรอบทุกๆ สิ้นเดือน แต่ถูกนายจ้างแจ้งเลิกจ้างภายในสิ้นเดือนนี้ ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างของเดือนนี้และเดือนถัดไปแบบเต็มๆ แม้ว่าเดือนถัดไปจะถูกเชิญให้ออกจากงานก็ตาม ซึ่งถือเป็นค่าตกใจที่นายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

เงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม

เงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคม ในกรณีที่เราทำงานในบริษัทเอกชน โดยเป็นเงินที่บริษัทหรือนายจ้างของเราได้หักส่วนหนึ่งจากเงินเดือนออกไปออมสมทบไว้ให้แก่เรา ซึ่งเงินจากประกันสังคมจะเป็นไปตามเงื่อนไขประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 33 และมีการส่งเงินเข้าประกันสังคม 6 เดือน ขึ้นไป โดยเงินทดแทนจากการว่างงานนี้เราอาจจะได้รับมากสูงสุดถึง 50 % ของเงินเดือน หรือ สูงสุดถึง 7,500 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งเงินจากประกันสังคมเราจะได้รับก็ต่อเมื่อเราเข้าไปลงทะเบียนรายงานสถานะว่างงานของเรา ภายในระยะเวลา 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้าง ด้วยเช่นกัน จึงจะได้รับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างนี้มา  และเราก็จะต้องรายงานตัวกับระบบในทุกๆ เดือนเพื่อเราจะได้ค่าชดเชยในกรณีที่เรายังไม่ได้งานใหม่

เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

ค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน หรือ เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือเงินที่หน่วยงานหรือองค์กรจะต้องให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง โดยจะมีการคิดอัตราค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างตามอายุงานหรือเงินเดือนที่ลูกจ้างได้เข้ามาทำงานในองค์กรนั้นๆ โดยยิ่งเงินเดือนและอายุงานมากก็จะได้เงินค่าชดเชยมากขึ้นตามไป ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 180 กล่าวคือ “นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างเป็นเงินก้อนหนึ่ง ซึ่งขึ้นกับอายุงานและค่าจ้างหรือเงินเดือนที่เคยได้รับ” ซึ่งอัตราเงินชดเชยเลิกจ้างจะเป็นไปตามตารางอัตราค่าชดเชยที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า

ไม่ได้เงินหลังถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง

ไม่ได้เงินหลังถูกเลิกจ้าง ต้องทำยังไง

การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คือการที่นายจ้างไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่เราตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้กำหนด หรือการที่ไม่มีการบอกล่วงหน้าและไม่มีค่าบอกล่วงหน้าจากการถูกเลิกจ้าง โดยในกรณีดังกล่าว ลูกจ้างสามารถทำได้ 2 กรณี เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ดังต่อไปนี้

ยื่นฟ้องกับกรมแรงงาน

ลูกจ้างสามารถยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน หรือ กระทรวงแรงงาน ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องผ่านทนาย อีกทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เลย ซึ่งลูกจ้างผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเลิกจ้างนั้นจะต้องเตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และจึงจะไปยื่นฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแรงงานในเขตที่มีอำนาจตามพื้นที่ของตน

ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน

การยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ลูกจ้างจะต้องทำการเข้าไปติดต่อและร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ที่สำนักงานของบริษัทหรือนายจ้างของเราตั้งอยู่ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำร้องก็จะมีการทำการตรวนสอบข้อเท็จจริง โดยการสอบถามจากทั้งสองฝ่าย ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อทำการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของการเลิกจ้างว่ามีความเป็นธรรม หรือเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

สิทธิที่ลูกจ้างจะได้หลังฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ข้อควรระวังในการพรีเซนต์งาน

หลังจากการฟ้องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมลูกจ้างจะได้สิทธิใน 2 กรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่ทำงานร่วมกันต่อได้

ในกรณีที่สามารถทำงานร่วมกันต่อไป จะเป็นการยื่นฟ้องเพื่อเรียกน้องให้นายจ้างรับกลับเข้าไปทำงานในตำแหน่งเดิม ซึ่งลูกจ้างจะได้รับสิทธิต่างๆ คือ 

  • ค่าจ้างที่ขาดหายไปในระหว่างที่ได้รับความไม่ธรรมในการเลิกจ้าง
  • ค่าดอกเบี้ย

กรณีที่ทำงานร่วมกันต่อไม่ได้

การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจนทำให้ไม่สามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้ ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย ดังต่อไปนี้ 

  • ค่าชดเชยจากจากการเลิกจ้าง
  • ค่าชดเชยจากความเสียหายที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
  • ค่าสินจ้างแทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า
  • ดอกเบี้ย

สรุป

เงินชดเชยเลิกจ้างคือเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานทุกคนควรรู้ เนื่องจากเป็นสิทธิที่ตนควรได้รับ และมีการคุ้มครองลูกจ้างไว้ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยเงินค่าชดเชยจะได้ก็ต่อเมื่อลูกจ้างถูกเชิญให้ออกจากงานในกรณ๊ที่ลูกจ้างไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ไม่ได้มีความผิดใดๆ ต่อนายจ้างและองค์กร หรือถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเงินค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างที่จะได้รับจึงเป็นสิทธิที่จะช่วยดูแลและคุ้มครองให้ลูกจ้างมีเงินสำรองเลี้ยงชีพต่อไปหลังถูกเลิกจ้าง และเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน โดยหากลูกจ้างพบว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่ได้รับเงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง ก็สามารถยื่นฟ้องและร้องเรียนด้วยตนเองได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

19 เมษายน 2567
19 เมษายน 2567
19 เมษายน 2567
15 มีนาคม 2567
12 มีนาคม 2567
05 กุมภาพันธ์ 2567

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย