แน่นอนเลยว่าการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีความจำเป็นมากๆ ที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย เริ่มต้นตั้งแต่สถาบันสังคมที่มีขนาดเล็กมากที่สุดอย่างครอบครัว ตลอดไปจนถึงระดับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ระดับประเทศ ก็ล้วนมีความต้องการ “ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (Leadership)” เนื่องจากจะเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วย “นำงาน” และ “นำคน” ไปยังเป้าหมายพาสู่ความสำเร็จที่วางไว้ร่วมกันได้
Table of Contents
ไขข้อข้องใจ ภาวะผู้นำ คืออะไร
ภาวะผู้นำ leadership คือ คนที่มีทักษะจัดการงาน และคนได้อย่างเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้า แต่เปรียบเสมือน Soft skill ที่อยู่ในตัวของบุคคลที่ได้ผ่านประสบการณ์บริหารมาอย่างมีประสิทธิภาพ
คำว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) กับผู้นำ (Leader) แตกต่างกันตรงที่ ภาวะผู้นำ คือผู้ที่มีความเหมาะสม และมีทักษะการเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นต้องถูกแต่งตั้ง ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ เมื่อรวมก็จะกลายเป็นคำว่า ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ เปรียบเสมือนลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี สามารถพัฒนาคนและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมส่งผลประโยชน์ต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น
ภาวะผู้นำ สำคัญต่อการสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างไร
Leadership เปรียบเสมือนภาวะที่จะต้องสามารถบริหาร และชี้นำบุคคลได้ เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นแต่ละองค์กรควรส่งเสริมบุคคลที่มีภาวะผู้นำขึ้นมาเป็นผู้นำ มากกว่าส่งเสริมคนที่มีอายุงาน หรือผู้อาวุโสเป็นหลัก เพราะแน่นอนว่าภาวะผู้นำมีความสำคัญที่จะพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Leadership กับ Management แตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง Leadership กับ Management คืออะไร มีความแตกต่างกันดังนี้
- Leadership จะเน้นไปที่การสร้างคน มีการคิดวิสัยทัศน์ มองไปถึงอนาคต สร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างอิทธิพลกับผู้อื่น พร้อมทั้งให้พลังและอำนาจการตัดสินใจ
- Management จะเน้นไปที่เนื้องานเป็นส่วนใหญ่ มีการบริหารตามแบบแผนที่วางไว้ เน้นอยู่กับงานปัจจุบัน บริหารความเปลี่ยนแปลง เน้นการควบคุมงานและใช้อำนาจหน้าที่
ภาวะผู้นำที่ดี กับคุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี
เมื่อรู้กันไปแล้วว่าคนที่มีภาวะผู้นำมีความสำคัญต่อองค์กร และสามารถขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาลองเช็กลิสต์ว่าผู้ที่มีภาวะผู้นำนั้นมีทักษะอะไรบ้าง? ซึ่งจะประกอบไปด้วยกันจำนวน 10 อย่าง ดังนี้
1. ทักษะการสื่อสารที่ดี
การทำงานเป็นทีมต้องพึ่งพาทักษะการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นหัวหน้า จะต้องมีทักษะการสื่อสารที่มีความถูกต้อง ชัดเจน ไม่วกไปวนมา เพื่อทำให้การสื่อสารของทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน
2. กระตือรือร้นที่จะทำงาน
ภาวะผู้นำ คือผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความตั้งใจในการทำงาน แม้ว่าอาจจะเป็นงานที่ไม่มีความถนัด แต่จะต้องมีความพยายามพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะนำพาคนในทีมให้เข้ามามีส่วนร่วมในงานที่ทำได้
3. ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง
แน่นอนผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดี ไม่ควรมักใหญ่ใฝ่สูง ไม่ควรคาดหวังว่าตนเองจะต้องกลายไปเป็นที่รักของผู้อื่นทุกคนเสมอไป แต่สิ่งสำคัญจะต้องยอมรับคือ คำวิจารณ์เพื่อที่จะนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขตัวเองภายในอนาคต
4. เปิดใจให้กว้างเพื่อรับสิ่งใหม่
สิ่งที่มีความสำคัญมากๆ สำหรับการทำงานเป็นทีม คือการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความเห็นต่าง ต้องมีความยืดหยุ่น เปิดใจให้กว้างเพื่อรับสิ่งใหม่ๆ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อที่จะนำเอาความคิดที่เห็นต่างของหลายๆ คน หลายๆ ฝ่าย มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรให้ดียิ่งขึ้น
5. ทำเพื่อชีวิตของคนส่วนรวม
การที่จะเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดี จะต้องนึกถึงชีวิตของคนส่วนรวมเป็นหลัก แน่นอนว่าคุณภาพชีวิตของพนักงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ จะต้องจัดหาสวัสดิการที่มีความเหมาะสมเพื่อให้คนในองค์กรได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
6. สร้างขวัญกำลังใจ
ผู้นำที่ดีต้องมีการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่คนในทีม เพื่อให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถให้แก่ผู้ที่อยู่ในทีมให้ดียิ่งขึ้น พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกทีมทุกคน
7. เคารพผู้อื่น
สำหรับผู้ที่มีภาวะผู้นำจะต้องมีความเคารพผู้อื่น ปฏิบัติดีทั้งต่อหน้าลูกค้ารวมถึงบุคคลในองค์กรด้วยความจริงใจ ไม่ควรถือตัวเป็นใหญ่ ที่สำคัญควรดูแลลูกทีมทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
8. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน
ผู้ที่มีภาวะผู้นำ จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทั้งคนภายนอกองค์กร และคนภายในองค์กรก็ตาม เพื่อให้ตัวเองเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับทุกคน ที่ได้เข้ามาทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทำให้องค์กรก้าวสู่ความสำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น
9. ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
การเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำ คือจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับคนในทีมด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ทุกคนได้เห็นเพื่อให้ลูกทีมได้ทำตามสิ่งที่ดีๆ และมีความถูกต้อง ไม่ใช่ว่าการเป็นผู้นำจะต้องบังคับนิ้วสั่งให้คนอื่นทำตามที่ตนเองต้องการเพียงเท่านั้น
10. ไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้
อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งเรียนรู้จากสิ่งที่ได้มีการผิดพลาดจากการทำงานในอดีต เพื่อที่จะนำทุกอย่างมาพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปสู่เส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎี X และทฤษฎี Y กับมุมมองของผู้นำที่มีต่อพนักงาน
แน่นอนว่ามุมมองทั้ง 2 มุมมองที่มีความแตกต่างกัน ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ล้วนที่จะส่งผลต่อวิธีการบริหาร รวมถึงวิธีการควบคุมพนักงานของผู้นำแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกันด้วยเช่นเดียวกัน
ทฤษฎี X
ทฤษฎี X เปรียบเสมือนมุมมองเชิงลบของผู้นำที่มีต่อพนักงานซึ่งมีมาตั้งแต่เดิม เป็นมุมมองที่ผู้นำมองว่าธรรมชาติของมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ชอบการทำงาน และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงหากไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการไม่ชอบทำงานจึงส่งผลให้ถูกควบคุม ถูกบังคับให้ทำงาน ชอบสั่งและใช้วิธีลงโทษเพื่อให้ใช้ความพยายามก้าวสู่วัตถุประสงค์ขององค์กร แน่นอนว่ามนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ชอบการถูกบังคับจึงหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย ต้องการความมั่นคงมากที่สุด ผู้นำตามทฤษฎี X จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างแรงจูงใจด้วยการข่มขู่และลงโทษ เพื่อให้ลูกน้องมีความพยายาม
ทฤษฎี Y
ทฤษฎี Y เปรียบเสมือนมุมมองเชิงบวกของผู้นำที่มีต่อพนักงาน เป็นแบบมนุษยนิยม ผู้ที่มีภาวะผู้นำมองว่าพนักงานทำงานแบบตอบสนองความพึงพอใจ ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการข่มขู่หรือลงโทษเพราะพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานอยู่แล้ว ยังไงก็สามารถบรรลุถึงเป้าหมายขององค์กรได้อย่างแน่นอน และมีความเชื่อว่าการจะบรรลุถึงเป้าหมายก็จะต้องขึ้นอยู่กับรางวัล และผลตอบแทนที่พนักงานจะต้องได้รับ พร้อมทั้งต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการด้วยเช่นเดียวกัน
กรณีตัวอย่างในการนำภาวะผู้นำมาใช้กับองค์กร
มาดูตัวอย่างในการนำภาวะผู้นำมาใช้กับองค์กร ซึ่งมีทั้งองค์กรใหญ่ และองค์กรเล็ก ดังนี้
ตัวอย่างภาวะผู้นำองค์กรขนาดใหญ่
สำหรับองค์กรแรกที่จะยกมาเป็นตัวอย่าง เป็นองค์กรที่ผู้นำที่มีภาวะผู้นำขนาดใหญ่ ก็คือ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งเขาเป็นเจ้าของบริษัท Facebook เมื่อปี ค.ศ. 2007 ซึ่งขณะนั้น Facebook มีพนักงานอยู่แค่เพียง 400-500 คน ก็เปรียบเสมือนองค์กรที่มีขนาดใหญ่แล้ว แต่ผู้ถือหุ้นของทาง Facebook กับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ว่าการที่มีประสบการณ์สำหรับการบริหารองค์กรด้วยตนเองที่ไม่เพียงพอ เป็นเหตุที่ทำให้ Facebook ต้องจ้าง เชอริล เซนเบิก เพื่อเข้ามาเป็นตัวช่วยดูแลองค์กร ในตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการในปีถัดมา
ดังนั้น จึงหมายความว่า ถึงแม้ว่า มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จะมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่อาจจะไม่มีทักษะบริหารองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งหน้าที่หลักของเชอริลจะต้องทำให้ Facebook มีกำไร
ตัวอย่างภาวะผู้นำองค์กรเล็ก
สำหรับองค์กรที่มีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารที่มีขนาดเล็ก มีแค่เพียงสาขาเดียว และไม่มีผู้จัดการร้าน ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของร้านก็จะต้องเป็นผู้ดูแลพนักงานด้วยตนเอง ไม่มีเวลาที่จะออกมาทำตลาดใหม่ๆ หรือแม้แต่หาวัตถุดิบที่มีราคาถูก ซึ่งแน่นอนว่ากรณีดังกล่าว หน้าที่ของผู้นำก็คือจะต้องดูแลพนักงานให้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามแล้วหน้าที่ของผู้นำส่วนนี้ก็จะต้องมีวันหมดอายุ เพราะหากเจ้าของกิจการมัวแต่ปฏิบัติอยู่กับพนักงานโดยไม่ได้ค้นคว้าหาอะไรใหม่ๆ หรือสร้างความแตกต่างเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจไปในทางที่มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นก็อาจจะทำให้ลูกค้าหาย
ทั้งนี้แล้วหน้าที่หลักของเจ้าของกิจการหรือผู้ที่มีภาวะผู้นำ คือต้องสร้างระบบการทำงาน รวมถึงจัดจ้างผู้จัดการร้านเพื่อกระจายงานเพียงเท่านี้ก็จะทำให้ได้รับผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ
สรุป
ภาวะ Leadership เปรียบเสมือนความสามารถสำหรับการปฏิบัติงานของผู้นำ เพื่อที่จะนำพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จ แน่นอนว่าภาวะผู้นำที่ดีมีความสำคัญต่อการสร้างองค์กรให้มีความยิ่งใหญ่และมีประสิทธิภาพได้
หากผู้นำองค์กรไหนมีความต้องการอยากจะสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานหรือต้องการสร้างองค์กรให้มีระบบการทำงานที่มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น CW Tower ก็เรียกได้ว่าเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมมากๆ สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาความสะดวกสบายเหล่านั้น โดยออฟฟิศจะมีทั้งออฟฟิศเปล่าห้องตามมาตฐาน ให้ตกแต่ง แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ และตัวตนของแบรนด์ได้ และมีออฟฟิศสำเร็จรูป สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เฟอร์นิเจอร์สวยงาม ทันสมัย เข้าใช้งานได้ทันที ส่วนกลางสะอาด ไม่แออัด สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย มีระบบความปลอดภัยสูง และที่สำคัญมีการจัดการบริหารแบบมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องการซ่อมบำรุง หรือการพัฒนาพื้นที่