SWOT Analysis เครื่องมือวิเคราะห์ Marketing Plan ของธุรกิจที่จำเป็น

SWOT Analysis เครื่องมือวิเคราะห์ Marketing Plan ของธุรกิจที่จำเป็น
หลายคนในแวดวงธุรกิจคงจะเคยได้ยินคำว่า SWOT Analysis หรือการวิเคราะห์สถานการณ์ของธุรกิจ เพื่อวางกลยุทธ์ให้ประสบความสำเร็จ มาดูกันว่า SWOT Analysis คืออะไร พร้อมยกตัวอย่างว่าสำคัญอย่างไร และจะมีวิธีการทำได้อย่างไรให้เห็นผลลัพธ์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ไปดูกันได้ในบทความนี้เลย

Table of Contents

SWOT Analysis คือเครื่องมืออะไร

SWOT Analysis คือเครื่องมืออะไร

SWOT Analysis หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SWOT คือ เครื่องมือทางการตลาดที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในแบรนด์หรือองค์กรของเราก็ได้ เพื่อการปรับปรุงคุณภาพ และการเปรียบเทียบกับคู่แข่งหมวดหมู่เดียวกัน ทำให้สามารถคาดการณ์ทิศทางดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมีเป้าหมายมากยิ่งขึ้น สำหรับความสำคัญหลักๆ จะเป็นเรื่องการใช้ SWOT เข้ามาช่วยจัดลำดับทิศทางที่ธุรกิจควรจะดำเนินการแต่ละขั้นตอนต่อๆ ไป เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และประหยัดเงินลงทุนมากขึ้น

นอกจากนี้ กลยุทธ์การทำ SWOT Analysis ยังใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลคู่แข่งเพื่อหาจุดอ่อนในการปั้นธุรกิจให้เหนือกว่าได้อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นเครื่องมือที่สำคัญ และเป็นพื้นฐานสำหรับคนทำธุรกิจต้องรู้

SWOT Analysis สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

SWOT Analysis สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

SWOT Analysis คือ กลยุทธ์สำคัญเพื่อการวางแผนดำเนินกิจการ และการวิเคราะห์คาดการณ์ของบริษัทคู่แข่งได้อย่างมีข้อมูลที่ชัดเจน สามารถทำให้เจ้าของกิจการแก้ไขจุดอ่อนของธุรกิจ เตรียมรับมือกับปัญหาที่เป็นปัจจัยภายนอกจะเข้ามามีผลกระทบต่อกิจการของเราได้ พร้อมผลักดันจุดแข็งให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างยอดขาย และการเติบโตที่เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
SWOT Analysis ประกอบด้วยอะไรบ้าง

SWOT Analysis ประกอบด้วยอะไรบ้าง

SWOT Analysis มีองค์ประกอบ 4 ตัวตามอักษรในชื่อกลยุทธ์นี้ ได้แก่ Strengths (จุดแข็ง) Weaknesses (จุดอ่อน) Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) โดยแต่ละตัวจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้

Strengths - จุดแข็ง

S – Strengths คือ จุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งต้องมาจากปัจจัยที่สามารถควบคุม และกำหนดเองได้ตามแผนการตลาดที่ใช้ดำเนินการเป็นจุดเด่น จุดขายให้กับแบรนด์หรือธุรกิจเราเอง จะเป็นเหมือนข้อได้เปรียบของกิจการด้านต่างๆ ซึ่งอยู่ในการประเมิน และควบคุมอย่างเป็นระบบ เช่น เงินทุน ทรัพยากรต่างๆ สำหรับการบริหารธุรกิจ ทั้งทรัพยากรแรงงาน ทรัพยากรวัตถุดิบในการผลิตที่มีแหล่งต้นน้ำโดยตรง อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ที่เพิ่มข้อได้เปรียบให้กับธุรกิจของเราภายใต้หมวดหมู่กิจการประเภทเดียวกันของตลาดการแข่งขันนี้ และอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมจุดแข็งของธุรกิจเราซึ่งอยู่ในการดูแลควบคุมได้ทั้งหมด เป็นต้น

Weaknesses - จุดอ่อน

W – Weaknesses คือ จุดอ่อนของธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่เจ้าของธุรกิจจะรู้ตัวดีอยู่แล้ว แต่หลายๆ กิจการมักจะไม่กล้ายอมรับในส่วนนี้ ต้องบอกก่อนว่าการวิเคราะห์ SWOT ไม่ได้มีข้อเสียอะไร แต่จะช่วยสะท้อนมุมมองด้านธุรกิจเพื่อการปรับปรุง และวางแผนให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างถูกทิศทางมากขึ้น เพราะฉะนั้น การประเมินด้านจุดอ่อนของกลยุทธ์ SWOT Analysis บนธุรกิจของตนเองจึงถือว่าเป็นข้อดีที่ควรทำ ซึ่งจุดอ่อนตรงนี้ ต้องเป็นข้อเสียหรือช่องโหว่ในองค์กรหรือธุรกิจ เป็นจุดที่ยังคงด้อยกว่าคู่แข่งประเภทเดียวกันภายในตลาด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การบริหาร เงินทุน เครื่องมือเทคโนโลยีสำหรับใช้กับกิจการ รวมถึงข้อมูลทางการตลาด และอื่นๆ ที่ทางองค์กรยังขาดตกในการทำงานไป

Opportunities - โอกาส

O – Opportunities คือ โอกาสที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและองค์กร ซึ่งมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ เป็นโอกาสที่เอื้อให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หรือเพิ่มยอดขาย รวมถึง การดำเนินธุรกิจให้ไปยังเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น โดยที่ทางองค์กรก็ไม่รู้ตัวเช่นกัน

ตัวอย่างโอกาสที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและเป็นปัจจัยภายนอก เช่น กระแสสื่อต่างๆ หรือเทรนด์ยอดนิยมที่กำลังมาแรง เข้าตรงกับรูปแบบธุรกิจของคุณพอดี โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องวิ่งเข้าไปหากระแส หรือตามกระแส แต่กลับได้รับยอด Engagement สูงขึ้นจากเทรนด์ออนไลน์ หรือ มีอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาชื่นชอบ รีวิวธุรกิจให้กับคุณจากความประทับใจด้านการบริการ แล้วส่งผลให้มีลูกค้าเข้ามารู้จักแบรนด์มากขึ้นโดยที่ทางองค์กรไม่ได้จ้างหรือวางแผนการตลาดทางนี้มาก่อน

Threats - อุปสรรค

T – Threats คือ อุปสรรคที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ได้ และยังถือว่าเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อองค์กรด้วยเช่นกัน ตัวอย่างของปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคตามหลักการวิเคราะห์ SWOT เช่น เศรษฐกิจค่าเงิน และค่าครองชีพที่แย่ลง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การพัฒนาปรับเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีต่างๆ และอื่นๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของ SWOT Analysis ที่ไม่ควรมองข้าม!

ประโยชน์ของ SWOT Analysis ที่ไม่ควรมองข้าม!

การทำ SWOT Analysis มีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจและองค์กรอย่างมาก ซึ่งความสำคัญที่เห็นได้ชัดเจนมีหลักๆ ดังนี้

1. รู้จักแข็ง-จุดอ่อนของตนเอง และคู่แข่ง

ข้อดีหลักๆ ที่เป็นจุดประสงค์ชัดเจนในการทำ SWOT Analysis ต่อธุรกิจและองค์กรเพื่อการบริหารต่อไปได้ คือ ทำให้แบรนด์หรือธุรกิจและองค์กรได้รู้ถึงจุดแข็งที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกัน รู้ถึงจุดอ่อนข้อด้อยของตนเองที่ยังสู้กับคู่แข่งตลาดเดียวกันไม่ได้ แถมยังสามารถตรวจสอบกลยุทธ์ภาพรวมของแผนการดำเนินงานของคู่แข่งได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

2. เปิดรับโอกาส และรับมือกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นได้

การวิเคราะห์ SWOT ของธุรกิจและองค์กร จะช่วยให้วางแผนรับมือกับปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาไม่คาดคิดต่อกิจการได้ทัน ไม่เกิดความเสียหายต่อองค์กรหรือธุรกิจมากเกินไป รวมถึง การพร้อมรับโอกาสที่เกิดขึ้นโดยปัจจัยภายนอก เข้ามาต่อยอดทำประโยชน์ต่อเนื่องให้กับการดำเนินธุรกิจ และองค์กรต่อไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน โดยไม่ทิ้งโอกาสที่เข้ามาให้เป็นเพียงแค่กระแสระยะเวลาสั้นๆ หรือทิ้งโอกาสให้เสียเปล่า เพื่อให้เก็บเกี่ยวได้ทุกรายละเอียด จึงต้องใช้หลักการนี้เข้าช่วยนั่นเอง

3. ปรับปรุงแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เนื่องจากแผนการทำ SWOT ANALYSIS เป็นการดูภาพรวมของกิจการ องค์กร ธุรกิจ ในทุกด้านอย่างเป็นภาพที่ชัดเจน ดังนั้น ในส่วนของจุดอ่อน และอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกก็จะเป็นข้อมูลสำหรับที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนพัฒนาจุดแข็งมาแก้จุดอ่อน และมองหาจุดแข็งที่มารับมือกับอุปสรรคซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการตรวจสอบวิเคราะห์ SWOT ของคู่แข่ง

4. ช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจ

อย่างที่ทราบกันดีว่าประโยชน์หลักของการวิเคราะห์ SWOT จะเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบการมองภาพรวมของธุรกิจและองค์กรได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น การมองภาพรวมอย่างเป็นสัดส่วนก็นับว่าสามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้เลย

5. ช่วยนำเสนอข้อมูลเชิงลึก

ไม่เพียงแค่การวิเคราะห์กลยุทธ์ SWOT เพื่อมองภาพรวมของธุรกิจและองค์กรเท่านั้น แต่การเจาะถึงปัจจัยต่างๆ ทั้ง 4 ยังสามารถวิเคราะห์ได้ตั้งแต่ภาพรวมผิวเผิน หรือจะต่อยอดไปยังข้อมูลเชิงลึกในกิจการ และองค์กรของเรา รวมถึง การใช้วิเคราะห์ภาพรวม และข้อมูลเบื้องต้นอย่างละเอียดของคู่แข่งได้เช่นกัน

6. ช่วยให้ข้อมูลที่หลากหลาย

การวิเคราะห์ SWOT คือ การได้ดูข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจอย่างครบทุกด้าน ทั้งข้อมูลขององค์กรหรือธุรกิจเราเอง และข้อมูลของฝั่งคู่แข่ง นอกจากนี้ สามารถใช้มองภาพรวมของตลาดได้อีกด้วย เป็นข้อมูลเสริมที่ช่วยต่อยอดการวางแผนการตลาดได้ดี

7. ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

เมื่อรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ที่เป็นปัจจัยภายใน และโอกาสกับอุปสรรคที่เป็นปัจจัยภายนอกแล้ว การบริหารวางแผนต่างๆ ขององค์และธุรกิจเราแล้ว สามารถเสริมจุดแข็งให้แกร่งในตลาดมากขึ้น และกลบจุดอ่อน พร้อมเตรียมรับมือกับโอกาสที่จะเข้ามาเพื่อต่อยอดประโยชน์อย่างเต็มที่ได้ในแต่ละแผนกภายในทีมได้เลย
ขั้นตอนการทำ SWOT Analysis ทำได้อย่างไร

ขั้นตอนการทำ SWOT Analysis ทำได้อย่างไร

การทำกลยุทธ์ SWOT Analysis คือ การวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลภาพรวมและเชิงลึกสำหรับนำไปต่อยอดการปรับปรุงพัฒนาองค์กรและธุรกิจด้านต่างๆ ตามแผนดำเนินงาน สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์

การทำ SWOT นอกจากจะวิเคราะห์เพื่อมองภาพรวมขององค์กรธุรกิจตนเอง และคู่แข่งแล้ว กลยุทธ์นี้ยังสามารถใช้ในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการดำเนินทิศทางธุรกิจ และองค์กรได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ไว้ว่าต้องการทำโฆษณาเปิดตัวสินค้าใหม่ในระยะเวลาเท่าไร ใช้งบประมาณเท่าไร หรือการเปิดตัวของผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนี้ควรทำรูปแบบไหน สามารถใช้การมองถึงจุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยภายนอกเรื่องโอกาสและอุปสรรค เข้ามาวิเคราะห์เป็นรายล็อต รายชิ้นได้เลย

ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมข้อมูล

การดำเนินธุรกิจหรือองค์กรนั้น จำเป็นต้องมีชุดข้อมูลแต่ละด้านไว้ให้ครบ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดสู่การดำเนินงานไปยังเป้าหมายได้ชัดเจน และประหยัดงบประมาณมากขึ้น ดังนั้น การเลือกทำ SWOT Analysis จึงทำให้ทราบข้อมูลขององค์กร รวมถึงข้อมูลของคู่แข่งในตลาดเดียวกันทุกด้านที่สามารถดึงมาปรับปรุงคุณภาพของฝั่งเราให้ดียิ่งขึ้นได้ นอกจากนี้ การเลือกใช้ข้อมูลของกลยุทธ์ SWOT ยังสามารถเลือกวางแผนการทำงานด้านต่างๆ มอบหมายให้กับพนักงานอย่างเหมาะสมอีกด้วย เป็นการลดต้นทุนแต่เพิ่มมูลค่าประสิทธิภาพองค์กรให้ดีขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 ระดมไอเดีย

ในการรวบรวมไอเดียของผู้รับผิดชอบงานแต่ละฝ่ายให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจน และมีจุดกึ่งกลางในการสรุปขั้นตอนต่อไปได้นั้นจำเป็นต้องใช้ข้อมูลกลยุทธ์การวิเคราะห์ SWOT เข้าช่วย ทำให้ง่ายต่อทุกฝ่ายงานมากขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 จัดระเบียบไอเดีย

เมื่อได้ไอเดียจากการรวบรวมข้อมูล และการระดมความคิดของแต่ละฝ่ายงานแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่สามารถทำได้ต่อเนื่องคือการจัดหมวดหมู่ของไอเดียแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับแผนงานของธุรกิจหรือองค์กรมากที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้บริหารในระดับสูงสามารถมองแนวคิดประกอบกับข้อมูลการวิเคราะห์จากแผนงานได้ชัดเจน และเป็นปัจจุบันที่สุด

ขั้นตอนที่ 5 พัฒนากลยุทธ์

เมื่อมีครบข้อมูล SWOT ในด้านต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมาทั้งหมดแล้วนั้น คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค รวมถึง ไอเดียและข้อมูลแผนการดำเนินงานที่เป็นปัจจุบัน พร้อมกับไอเดียหลักของผู้บริหารระดับสูงๆ ทั้งหมด ขั้นตอนลำดับสุดท้ายคือการรวบรวมทุกไอเดียเกี่ยวกับ SWOT ที่รับมาใช้งาน เข้ามาปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจหรือบริหารองค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้ ใช้ทุนน้อยลง ทั้งทุนด้านงบประมาณ

ตัวอย่างการทำ SWOT Analysis

เพื่อให้เห็นภาพการทำ SWOT Analysis ได้มากยิ่งขึ้น มาดูตัวอย่างการทำ SWOT Analysis ของแบรนด์ดังที่ประสบผลสำเร็จที่มีแผนงานชัดเจน เป็นกรณีศึกษาได้ว่าองค์กรเหล่านี้สามารถทำอย่างไร ไปดูกันเลย
Adidas SWOT

Adidas

บริษัท Adidas เป็นผู้ผลิตรองเท้า และเครื่องแต่งกายเกี่ยวกับด้านกีฬาที่โด่งดังมากของทางเยอรมนี ขึ้นสู่แบรนด์ระดับโลกในฐานะแบรนด์สินค้ากีฬาระดับพรีเมียมที่มีความล้ำสมัย และมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องจนได้ร่วมโครงการกับคนดังหรือบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมากมายมาโดยตลอด

ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ทิศทางการบริหารตามกลยุทธ์ SWOT แล้วนั้น จะเห็นถึงจุดแข็งแบรนด์นี้คือ แบรนด์มีการสร้างมูลค่าให้ตัวเองจากแผนการตลาดทางออนไลน์มาโดยตลอด และมีจุดเด่นของตัวสินค้าอยู่ที่นวัตกรรมในการผลิตเครื่องแต่งกายด้านกีฬา พร้อมกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีการทำ CSR อยู่ตลอด จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กลุ่มลูกค้าทั่วโลกได้สำเร็จ บวกกันการมีโอกาสทาง E-commerce เข้ามาร่วม พร้อมการเติบโตของอุตสาหกรรมกีฬาแต่ละยุคสมัยที่เพิ่มสูงขึ้น ก็เสริมการสร้างกำไรได้มากขึ้น

Apple SWOT

Apple

หากพูดถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ และมีชื่อเสียงโด่งดังด้านนวัตกรรมอุปกรณ์เทคโนโลยี ต้องยกให้กับ Apple, Inc. แบรนด์ชื่อดังที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมายาวนาน และมียอดขายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทนี้ประสบความสำเร็จตามหลักการทาง SWOT แล้วจะเห็นได้ว่าจุดแข็งของ Apple คือการขึ้นเป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นนำรายแรกได้สำเร็จ และมีความมุ่งมั่นในการสร้างอุปกรณ์ใหม่ๆ ออกมาให้กลุ่มลูกค้าได้ติดตามอย่างเสมอ อีกทั้งยังมีการสร้างเนื้อหาโฆษณาออนไลน์ให้ได้ติดตามกันอยู่ตลอด

นอกจากนี้ มีการสร้าง icare ซึ่งเป็นบริการหลังการขาย และการดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้รักษาฐานลูกค้าไว้ได้เรื่อยๆ ถึงแม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์จะมีราคาสูงมากก็ตาม

SWOT

Coca-Cola

บริษัทน้ำอัดลมระดับโลกอย่าง Coca –Cola มีการสร้างมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี ตั้งแต่อดีตตั้งแต่การเปิดตัวเครื่องดื่มนี้มา จนถึงปัจจุบันที่แม้จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ Coca – Cola ยังเป็นแบรนด์ที่นิยมมากที่สุดอันดับ 1 เช่นเดิม หากวิเคราะห์ตามหลัก SWOT แล้วจะพบการหลักการประสบความสำเร็จของบริษัทนี้ มีจุดแข็งในเรื่องของกระบวนการผลิตที่มี Supplier ที่ดี มีแหล่งวัตถุดิบเป็นของตนเอง ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกมาก และสามารถขายในราคาถูกให้กับผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทุกประเทศได้เข้าถึงผลิตภัณฑ์

ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาปัจจัยภายนอกอย่างกฎหมายการควบคุมการผลิตด้านวัตถุดิบหรือปริมาณต่างๆ ของภาครัฐเข้ามา แต่ทางบริษัทก็สามารถใช้จุดแข็งในการหาแหล่งวัตถุดิบมาแก้ไขให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้โดยที่ไม่กระทบกับกลุ่มลูกค้า

สรุป

SWOT Analysis คือกลยุทธ์การวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจ องค์กร หรือการตลาดต่างๆ ของทั้งฝั่งเรา และฝั่งคู่แข่ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการเลือกดำเนินขั้นตอนสู่เป้าหมาย และเลือกใช้แผนงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนสูงก็สำเร็จได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

ถ้าหากใครที่เป็นผู้ประกอบการหรือใครที่สนใจเริ่มต้นธุรกิจของตนเองให้สำเร็จแบบไม่ต้องลงทุนเยอะ พร้อมลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจให้ได้เยอะที่สุดบนยุคของการแข่งขันแบบนี้ หรืออยากหาออฟฟิศสำหรับรองรับพนักงาน ทีมการตลาด หรือรองรับการเติบโตของธุรกิจ Startup ต้องขอแนะนำ CW Tower ที่เป็นสำนักงานให้เช่า ใจกลางรัชดา ใกล้รถไฟฟ้า MRT เดินทางง่าย มีพื้นที่ส่วนกลางอำนวยความสะดวกให้กับทีมบริษัทอย่างครบวงจร ทั้งพื้นที่โซนร้านอาหารชั้นนำ พื้นที่จอดรถยนต์ส่วนตัว มีพื้นที่ห้องพยาบาล พื้นที่สำหรับการพักผ่อนและหาไอเดีย รวมถึงมีส่วนกลางอีกมากมายที่ตอบโจทย์คนทำงานสายนี้แน่นอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

03 ธันวาคม 2024
03 ธันวาคม 2024
15 ตุลาคม 2024
09 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024
08 ตุลาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย