สารบัญ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดาย การที่รับข้อมูลโดยการฟังอย่างเดียวอาจไม่ทำให้จำได้เสมอไปเพราะข้อมูลที่มีมากและข่าวสารที่ไปไวทำให้ไม่อาจจำได้หมด บางครั้งอาจจะลืมสิ่งที่สำคัญหากไม่มีการจดบันทึกเล็กเชอร์สิ่งใดลงไป ด้วยเหตุนี้การบันทึกเล็กเชอร์ลงไปจะทำให้เราจดจำข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญได้ดีขึ้น เพราะการจดเล็กเชอร์ คือ การจดบันทึกรายละเอียดข้อมูลลงไปไม่ว่าจะบรรยายที่ได้รับฟัง สิ่งที่อาจารย์สอน ความรู้ที่ได้จากการฟังอบรม เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เองการจดเล็กเชอร์ก็พบปัญหาหลายๆ อย่างด้วยกัน เช่น ไม่สามารถลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้ การที่รีบจดเล็กเชอร์ทำให้อ่านยาก ข้อมูลไม่เป็นระเบียบ ปัญหานี้จะหมดไปด้วย Cornell Note คือ เทคนิคการจดเล็กเชอร์แบบใหม่ที่จะทำให้คุณจดเล็กเชอร์เป็นระเบียบมากขึ้น กลับมาอ่านกี่รอบก็ตอบได้ว่าสาระสำคัญคืออะไร ไปหาคำตอบถึงวิธีจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note กันได้ในบทความนี้กันเลย
ทำความรู้จักกับวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note
ไอเดียการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note นั้นถูกคิดค้นโดยคุณ Walter Pauk ซึ่งมีใช้กันมานานเกือบ 80 ปีแล้ว โดยวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note นั้นเริ่มต้นช่วงศตวรรษที่ 1940s ขณะที่คุณ Walter Pauk ได้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ซึ่งเขาได้คิดค้นวิธีการจดเล็กเชอร์แบบนี้เพื่อให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้มีการจดเล็กเชอร์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะในคลาสเรียนมีเนื้อหาการสอนที่เข้มข้นมาก ประกอบกับอาจารย์อาจไม่สามารถคอยดูแลได้ทั่วถึงทุกคน ดังนั้น การเล็กเชอร์แบบ Cornell Note คือ เทคนิคการจดโน๊ตอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยนักศึกษาได้มาก
หลายครั้งในการจดเล็กเชอร์ไปพร้อมกับการเรียนการฟังบรรยายต้องแยกประสาทสัมผัสหลายอย่าง อาจทำให้เสียสมาธิ ไม่ได้ฟังเนื้อหาอย่างเต็มที่ทำให้จดไม่ทัน ส่งผลให้เกิดความกังวลจนสุดท้ายไม่เข้าใจถึงสาระสำคัญของเนื้อหาที่เรียน เพราะฉะนั้น วิธีจดเล็กเชอร์แบบ Cornell จึงเหมาะกับทุกคนที่ต้องการจดเล็กเชอร์ในการฟังบรรยาย การอบรม แนวคิด ประเด็นสำคัญในการประชุม การวางแผนทำงานหรือข้อมูลต่างๆ ที่ได้อ่านมาแล้วอยากบันทึกสาระสำคัญหรือข้อมูลไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคต สามารถใช้เทคนิคการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell ได้
Cornell Note คือ การแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันเพื่อแยกเนื้อหาในการจด เรียกได้ว่า Cornell Note เป็นการจดเล็กเชอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถนำไปปรับใช้ในการจดเล็กเชอร์ได้หลายรูปแบบนั่นคือประโยชน์หลักที่ได้จากการใช้วิธีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุม อบรม ฟังบรรยาย โดยการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note จะทำให้เล็กเชอร์มีความเป็นระเบียบ อ่านง่าย สาระสำคัญไม่หายไป เพิ่มประสิทธิภาพในการจดบันทึกได้มากขึ้น
ส่วนประกอบของการจด Cornell Note
ในการเล็กเชอร์หลายคนอาจมีเทคนิคการจดที่ไม่เหมือนกัน แต่วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell นั้นทรงพลังและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เล็กเชอร์ใครที่อ่านยาก หาส่วนสำคัญไม่เจอ เรียงไม่เป็นระเบียบ หากใช้วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell จะช่วยได้มาก โดยในขั้นตอนการทำ Cornell Note จะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 ส่วนในกะดาษ 1 หน้าด้วยกันดังนี้
- คำสำคัญ จะอยู่ด้านซ้ายใช้พื้นที่ประมาณ 30% เป็นการจดพวกคีย์เวิร์ดต่างๆ คำหลักของหัวข้อที่สนใจ คำถามสั้นๆ หรือหัวข้อที่มีความสำคัญไว้ ไม่ว่าจะมาจากการฟังบรรยาย การประชุม การทำงานหรือเรื่องราวที่สนใจ
- เนื้อหา อยู่ในส่วนกลางของหน้าเป็นการใช้พื้นที่มากที่สุดใน 1 หน้ากระดาษใช้พื้นที่ประมาณ 70% โดยมักใช้จดรายละเอียดทั้งหมดของข้อมูล
- ส่วนสรุป จะอยู่ในส่วนล่างสุดหน้ากระดาษเพื่อจดสรุปสาระสำคัญใช้พื้นที่ประมาณ 5-7 บรรทัด เพื่อเขียนวิเคราะห์เพิ่มเติม ว่ามีความคิดอะไรแปลกใหม่ที่น่าสนใจหรือไม่ โดยสรุปมาเป็นคำพูดของตัวเองหลังจากได้ฟังข้อมูลเรื่องราวทั้งหมด
หลักการจด Cornell Note
ในขั้นตอนของวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell นั้นมีหลักการจดที่ต้องแบ่งพื้นที่ของการเล็กเชอร์ภายใน 1 หน้ากระดาษออกมาไม่แบ่งเพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell ต้องมีส่วนประกอบหลักทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน ซึ่งหลักการจด Cornell Note มีดังนี้
- นำกระดาษหรือหน้าสมุดออกมา เพื่อจดเล็กเชอร์เท่านั้นไม่มีการแบ่งหน้ากระดาษทำอย่างอื่น
- ทำการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
- ลากเส้นแนวนอนที่ด้านล่างของหน้ากระดาษเพื่อทำส่วนในของการจดสรุป โดยมีความยาวประมาณ 1 ส่วน 4 ของหน้ากระดาษ อาจจะนับประมาณ 5-7 บรรทัด
- หลังจากนั้นวาดตัว I ยาวลงมาเป็นการแบ่งหน้ากระดาษ โดยขีดเส้นให้ชิดกับส่วนซ้ายไว้ ในส่วนนี้ใช้เพื่อจดในส่วนของคำสำคัญ ประเด็นสำคัญ คำถามหัวข้อที่สนใจ
- พื้นที่ด้านขวาควรมีขนาดใหญ่ที่สุดเพื่อจดในส่วนเนื้อหา ข้อมูลที่ได้รับฟัง การบรรยาย หรือเนื้อหาการประชุม เรียกได้ว่าสามารถจดทุกอย่างที่อยากจดได้ลงไป
- เขียนวันที่ หัวเรื่อง หัวข้อการบรรยายที่ได้ฟังไว้ด้านบนของหน้ากระดาษที่จด เพื่อให้รู้ว่ากำลังเล็กเชอร์เรื่องอะไรอยู่ ทำให้สะดวกต่อการกลับมาทบทวนหรืออ่านข้อมูลได้ง่ายมาก
ทำไมถึงควรใช้วิธีการจดแบบ Cornell Note พร้อมข้อดีที่ควรรู้
การจดเล็กเชอร์มีหลายรูปแบบ แต่การจดเล็กเชอร์ให้มีประสิทธิภาพนั้น Cornell Note คือทางเลือกที่ดีสำหรับคุณในการจดเล็กเชอร์ให้มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเมื่อใดที่คุณนึกถึงหรือต้องการที่จะจดเล็กเชอร์เพื่อบันทึกข้อความสำคัญ เนื้อหาที่มีสาระ หรือข้อมูลดีๆ ควรนึกถึงการจดเล็กเชอร์ Cornell Note เพราะมันคือทางเลือกที่ดีที่สุดของรูปแบบการจดเล็กเชอร์ ที่มีประสิทธิภาพมีผลวิจัยรองรับมีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายและวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell นั้นมีมานานกว่า 80 ปี
วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell มีข้อดีและมีประโยชน์มากมาย โดยการจดแบบนี้ไม่จำกัดเฉพาะคนวัยเรียนเท่านั้นที่ สามารถใช้วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell แต่คนวัยทำงานก็สามารถนำวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note ได้เช่นกันเพราะCornell Note คือการจดบันทึกเล็กเชอร์ให้มีระบบระเบียบสามารถกลับมาย้อนอ่านแล้วทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งประโยชน์และข้อดีของวิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell มีดังนี้
- ใช้เวลาในการทบทวนเนื้อไม่นานเพราะการจดที่มีระเบียบ
- ทำให้บันทึกที่จดนั้นเป็นระเบียบเรียบร้อยอ่านง่ายสบายตา
- ช่วยให้ช่วยจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาง่ายไม่หลงประเด็น
- มีการแบ่งสัดส่วนหน้ากระดาษอย่างชัดเจน ทำให้ใช้พื้นที่จดบันทึกได้อย่างคุ้มค่า
- ทำให้ผู้จดเล็กเชอร์สามารถทำการเชื่อมโยงเรื่องราวข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
- ทำให้สามารถจดเล็กเชอร์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
- พัฒนาทักษะการจดบันทึก
- พัฒนาความคิดให้เป็นระบบ
แนะนำเทคนิคเสริมสำหรับการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note
ถึงแม้ว่า Cornell Note คือการเล็กเชอร์รูปแบบหนึ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่การเล็กเชอร์ข้อมูลต่างๆ ที่มากมายด้วยปากกาเพียงอย่างเดียวหรือใช้ปากกาสีเดียวทั้งเล็กเชอร์ ต่อให้ใช้วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell ที่มีการแบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วนเพื่อให้อ่านง่ายใช้และพื้นที่อย่างคุ้มค่า แต่ถ้าทั้งหน้ามีแต่ปากกาสีเดียวกับข้อมูลมากๆ อาจทำให้เกิดความซ้ำซากจำเจ และน่าเบื่อได้
เพราะฉะนั้น เพื่อให้การจดเล็กเชอร์ให้มีประสิทธิภาพพร้อมทั้งยังอ่านแล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ จึงขอแนะนำวิธีการจดหรือการใช้ไอเทมต่างๆ เพื่อความสวยงามมากขึ้นไม่น่าเบื่อจนเกินไป นอกจากนี้ การตกแต่งเล็กเชอร์ด้วยสีสันยังเป็นการเพิ่มความจำ ความเป็นระเบียบ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการจดเล็กเชอร์ได้มากขึ้น เช่น
- การวาดรูปประกอบข้อความที่จดแล้วโยงเส้นออกมาอธิบาย
- ติดสติ๊กเกอร์ที่ชอบเพื่อเพิ่มความน่ารักน่าอ่านให้กับ Cornell Note ได้
- การใช้กระดาษโพสต์อิทจดบันทึกย่อหรือรายละเอียดต่างๆ ซึ่งสามารถไปวางแปะไว้ตรงไหนของหน้าเล็กเชอร์ก็ได้ ซึ่งส่วนนี้จะทำให้เห็นภาพรวมของเล็กเชอร์ได้มากขึ้นด้วย
- ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อกำหนดสีและเน้นในส่วนข้อความได้ ซึ่งไฮไลต์นั้นสามารถเลือกสีได้ตามชอบมีทั้งสีแบบปกติและสีพาสเทล โดยนอกจากใช้เน้นส่วนข้อความแล้วยังใช้ระบายสีประกอบข้อความได้ด้วย
- ใช้ปากกาสีในการจดข้อมูลในส่วนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก หรือจดในเรื่องที่มีความยากซับซ้อน
- ใช้กระดาษโพสต์อิทเล็กๆ ทำเครื่องหมายหน้าข้อความหรือหน้ากระดาษที่ใช้จดเล็กเชอร์เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้กำลังเขียนหรือจดบันทึกไว้ที่หน้าไหน เพื่อให้สะดวกต่อการเปิดอ่าน
เล็กเชอร์ คือ การจดบันทึกเรื่องราวที่ได้รับฟังไม่ว่าจะการบรรยาย การประชุม หรือการได้รับข้อมูลต่างๆ โดยส่วนมากมักเกิดปัญหาที่หาในสิ่งที่ต้องการอ่านไม่เจอเนื่องจากข้อมูลที่จดไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจาย วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell Note สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะ Cornell Note คือการจดเล็กเชอร์ที่มีการจัดรูปแบบพื้นที่การจดเล็กเชอร์ได้ดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการแบ่งพื้นที่หน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วนทำให้สามารถเก็บเนื้อหาข้อมูลที่สำคัญให้เป็นระเบียบอ่านง่าย และยังสามารถเพิ่มไอเทม หรือการตกแต่งน่ารักๆ เข้าไปเพื่อให้เล็กเชอร์มีความน่ารักสวยงามน่าอ่านมากยิ่งขึ้น วิธีการจดเล็กเชอร์แบบ Cornell จึงถือเป็นวิธีการจดเล็กเชอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางใช้กันมายาวนานและมีงานวิจัยรองรับว่าการจดเล็กเชอร์วิธีนี้ได้ผลดีมากที่สุดต่อผู้ที่ชอบจดบันทึก