บางคนที่อายุยังไม่เยอะก็ปวดหลัง ปวดตัวเหมือนคนที่อายุมาก เพราะพฤติกรรมจากการทำงานส่งผลต่อร่างกายมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะชาวออฟฟิศ ที่ต้องทำงานอยู่กับที่นานๆ ปัญหาออฟฟิศซินโดรมนั้นสร้างผลกระทบมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา เพราะต้อง Work From Home กันอย่างถ้วนหน้า จึงไม่มีเครื่องมือ หรือสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ผ่อนคลายจากการทำงานมากเท่าที่ควร
ศาสตร์อย่าง Ergonomic จึงถูกพูดถึงกันอย่างมากในเวลาไม่กี่ปีมานี้ โดย Ergonomic คือศาสตร์ที่เริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงโควิดที่ผ่านมา เพราะหลายๆ คนต้องทำงานที่บ้าน และต้องนั่งทำงานในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน โดยศาสตร์นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงาน อีกทั้งยังลดการเจ็บปวดจากการทำงานอีกด้วย จะทำได้อย่างไร ไปดูกันในบทความนี้!
Table of Contents
การยศาสตร์ (Ergonomic) คืออะไร
การยศาสตร์ หรือ Ergonomic คือการนำรากศัพท์มาจากภาษากรีกมารวมกัน ซึ่งเกิดจากคำว่า Ergon ที่หมายถึงงาน และคำว่า Nomos ที่หมายถึงกฎธรรมชาติ (Natural Laws) จึงกลายเป็นคำว่า ‘ศาสตร์แห่งการทำงาน’ ที่เป็นการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงาน มนุษย์ และสภาพแวดล้อม เพื่อรังสรรค์วิธีการทำงานอย่างเหมาะสม และส่งผลกระทบต่อร่างกายน้อยที่สุด ทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับ Ergonomic นั้นมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว แต่ถูกพูดถึง และมีการนำมาทำความเข้าใจมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1799 – 1882 โดย Wojeiech Jastrzbowski นักวิทยาศาสตร์ และนักธรรมชาติวิทยาชาวโปแลนด์ ที่เริ่มทำการศึกษาการทำงานของพนักงาน ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1911 Frederick Winslow Taylor นักวิศวกรเครื่องกลชาวอเมริกัน ได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเพิ่มเติม โดยศึกษาพฤติกรรมของพนักงานกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และได้พบขีดจำกัดของการทำงานที่เกิดจากอุปกรณ์การทำงานที่ไม่เหมาะสม จึงเริ่มมีการพัฒนาอุปกรณ์ Ergonomic กันมากขึ้นตั้งแต่นั้นมา จนกลายมาเป็นโต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ทุ่นแรงอีกมากมายที่นำมาใช้กันจนถึงปัจจุบัน
องค์ประกอบของ Ergonomic มีอะไรบ้าง
องค์ประกอบของ Ergonomic ประกอบไปด้วยการศึกษา ตั้งแต่เรื่องกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และจิตวิทยา เพื่อให้การทำงานราบรื่นที่สุด และช่วยให้ตัวพนักงานเองได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดีน้อยที่สุด ซึ่งส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพตามมาด้วยนั่นเอง
1. กายวิภาคศาสตร์
กายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาปัญหาที่เกิดจากเรื่องของขนาด และรูปร่างของมนุษย์ รวมถึงท่าทาง และอิริยาบถต่างๆ ระหว่างการทำงานด้วย นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับชีวกลศาสตร์ ที่มุ่งเน้นในเรื่องปัญหาจากการออกแรง และการใช้แรงในขณะที่ทำงาน
2. สรีรวิทยา
ต่อมาเป็นศาสตร์เกี่ยวกับสรีรวิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานในระหว่างการทำงาน โดยเฉพาะเมื่อทำงานหนัก พลังงานที่ต้องใช้ไป ก็เยอะมากตามไปด้วย จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายตามมานั่นเอง นอกจากนี้ ยังศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น ความร้อน เสียง แสง การสั่นสะเทือน เป็นต้น ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวด้วยเช่นกัน
3. จิตวิทยา
สุดท้ายคือการศึกษาด้านจิตวิทยา ที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจในวิธีการทำงานของพนักงาน เพื่อที่จะมอบหมายงานที่เหมาะสมกับคนๆ นั้น เพื่อลดความผิดพลาด หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำงาน
Ergonomic กับการทำงานในยุคปัจจุบัน
อย่างที่ทราบกันดีว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ เพราะระหว่างที่กำลังนั่งทำงาน มักจะมีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น การนั่งในท่าเดิมนานๆ การยืนนานๆ เป็นต้น จนส่งผลทำให้ร่างกายเสียบุคลิก โดยอาจทำให้หลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ส่งผลให้กลายเป็นภาวะออฟฟิศซินโดรมได้ในที่สุด
อย่างไรก็ตาม ความทรมาณจากภาวะออฟฟิศซินโดรมนั้นไม่ใช่เล่นๆ เลย เพราะอาจทำให้การใช้ชีวิตในประจำวันลำบากขึ้นไปอีกเท่าตัว ประสิทธิภาพในการทำงานอาจลดลง ส่งผลให้สุขภาพกาย และสุขภาพใจอยู่ในสภาพที่ยากจะควบคุม จึงเป็นเหตุผลที่ศาสตร์ Ergonomic เข้ามามีบทบาท เพราะมีส่วนช่วยให้การทำงานราบรื่น เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงาน และเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีในการทำงานมากยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
ปรับเปลี่ยนสภาพการทำงานด้วยหลัก Ergonomic
การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมการทำงานด้วยหลัก Ergonomic เป็นสิ่งที่องค์กรสามารถสร้างความสะดวกสบายให้กับพนักงานได้ เพื่อแสดงออกถึงความใส่ใจ และเพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานที่มีให้มากยิ่งขึ้น แล้วจะสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้บ้าง ไปดูกัน!
- ปรับเปลี่ยนการจัดวางของให้สามารถหยิบจับได้ง่าย ไม่ต้องเอื้อมมากเกินไป หรือที่ต้องก้มบ่อยๆ
- มีพื้นที่ส่วนกลางให้พนักงานได้นั่งพักผ่อน หรือยืดเส้นยืดสายขณะพัก อีกทั้งยังช่วยให้ผ่อนคลายจากงานที่เครียดเกินไปอีกด้วย
- มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว
- สร้างสภาพแวดล้อมให้พนักงานได้ทำสมาธิ ขจัดสิ่งเร้าต่างๆ ที่อาจทำให้เสียสมาธิได้
ประโยชน์ของ Ergonomic ที่ดี
การทำงานโดยใช้หลัก Ergonomic สามารถสร้างสภาพแวดล้อมให้การทำงานราบรื่นมากยิ่งขึ้น มาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ของศาสตร์อย่าง Ergonomic ช่วยเสริมสร้างทั้งตัวพนักงาน หรือตัวองค์กรอย่างไรบ้าง
1. ส่งผลดีต่อสุขภาพ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือประโยชน์ด้านสุขภาพ เพราะหลัก Ergonomic เน้นให้ทุกการเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีติดขัด หรือต้องออกแรงเกินความจำเป็น จึงส่งผลให้ระบบหัวใจ และหลอดเลือดทำงานดีขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุระหว่างทำงาน และช่วยผ่อนคลายความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย ทำให้ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ไม่ต้องตึงเครียดมากเกินไป
2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
หลัก Ergonomic ช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เพราะเน้นความสะดวกสบายของพนักงานให้มีมากที่สุด เพราะสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และมีสมาธิในการคิด วิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ มากขึ้น แน่นอนว่าผลงานย่อมดีขึ้นตามไปด้วย
3. พัฒนาสุขภาพจิต
เพราะสุขภาพจิตนั้นสำคัญต่อการทำงานเช่นกัน การนำหลักการอย่าง Ergonomic จะยิ่งช่วยให้พนักงานสามารถผ่อนคลายความเครียดได้ดีขึ้น ทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น จนส่งผลให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แถมยังทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงเครียดผ่อนคลายลงด้วย
4. ลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
หลัก Ergonomic มุ่งเน้นที่จะให้พนักงานได้ใช้อุปกรณ์ ที่สามารถลดความเหนื่อยล้า และช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการทำงานมากที่สุด โดยการจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ หรือสร้างพื้นที่การทำงานให้ตรงตามหลักสรีรศาสตร์ของพนักงาน
5. ลดการขาดงานของพนักงาน
แน่นอนว่าเมื่อสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ปลอดภัย จะทำให้ลดการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน ส่งผลให้การขาดงาน ลางานของพนักงานลดน้อยลง การทำงานรวดเร็ว ราบรื่น ไม่ติดขัดให้เสียเวลา
อุปกรณ์ Ergonomic ที่ดี เหมาะกับการทำงาน
มาดูกันว่า อุปกรณ์ Ergonomic ที่ดี และเหมาะสมกับการทำงาน ที่จะช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจดีขึ้นมีอะไรบ้าง
- เก้าอี้ทำงานที่มีการออกแบบให้รองรับสรีระของร่างกายอย่างเหมาะสม ช่วยลดอาการปวดหลังและเพิ่มความสบายในการนั่งทำงาน
- เมาส์ที่ออกแบบให้พอดีกับมือ ช่วยลดอาการปวดข้อมือ และแขนจากการใช้งานเป็นเวลานาน
- แป้นพิมพ์ที่มีการออกแบบให้พอดีกับมือและข้อมือ ช่วยลดอาการปวดข้อมือและแขนได้
- จอคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับระดับให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับสายตา ลดอาการปวดคอและไหล่
- ที่วางเท้า ช่วยให้เท้าอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ลดแรงกดที่ขาและเพิ่มความสบายในการนั่ง
- ที่วางข้อมือ ช่วยรองรับน้ำหนักข้อมือขณะพิมพ์ ลดแรงกดและอาการปวดข้อมือ
สรุป
ภาวะออฟฟิศซินโดรมนั้นสร้างผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจมากกว่าที่คิด แต่ปัญหานี้จะหมดไปหากองค์กรนำหลัก Ergonomic มาปรับใช้กับพนักงานของตัวเอง เพราะเป็นหลักที่แสดงให้เห็นว่า ความสำคัญของสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้นสำคัญมากแค่ไหน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากเท่าไร
มาสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีกับ CW Tower ที่มีบริการเช่าออฟฟิศ เช่าห้องประชุม สถานที่จัดสัมมนามาตรฐานสูง ทำเลดี ใจกลางรัชดาฯ มีโครงสร้างของตึกที่ทันสมัย การตกแต่งที่ดูหรูหรา เดินทางสะดวก ติดรถไฟฟ้า MRT พร้อมอุปกรณ์ และบริการครบครัน สามารถเข้าอยู่ได้เลย ไม่ต้องตกแต่งให้เสียเวลา