นอกจากผลประกอบการแล้ว องค์กรควรพิจารณา Turnover Rate ของพนักงานด้วย เพราะ Turnover Rate อัตราการลาออกของพนักงาน หรือจะเรียกอีกอย่างว่า Attrition Rate เป็นตัวเลขที่สามารถบ่งบอกได้ว่า วัฒนธรรมขององค์กรอยู่ในสถานภาพไหน เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ และวางแผนกลยุทธ์พัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สาเหตุการลาออกของพนักงานในปัจจุบัน ที่ HR ต้องรู้ และควรแก้ไขมีอะไรบ้าง บทความนี้จะพามาลด Turnover Rate เพื่อรักษาฟันเฟืองที่สำคัญ ให้อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ไปดูพร้อมๆ กันเลยในบทความนี้!
Table of Contents
Turnover Rate คำนวณอย่างไร
การคำนวณ Turnover Rate ของพนักงานนั้นสำคัญมากต่อการพัฒนาองค์กร เพราะเป็นตัวเลขที่แสดงได้ว่า พนักงานพึงพอใจกับองค์กรมากน้อยไหน ไม่ว่าสาเหตุที่ทำให้อัตราการลาออกของพนักงานสูงขึ้นจะมาจากสาเหตุอะไร โดยค่าเฉลี่ยของ Turnover Rate แล้ว ควรจะอยู่ที่ประมาณ 10-20% แต่เมื่อคำนวณออกมาแล้วเกินกว่าค่าเฉลี่ยที่กำหนดไว้ ผู้ที่มีตำแหน่ง HR ก็ต้องมาหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรเป็นส่วนใหญ่
อัตราการลาออกของพนักงาน ส่วนมากจะคำนวณเป็นรายเดือน ไตรมาส ครึ่งปี หรือรายปี เพื่อที่สามารถมองเห็นภาพรวมได้ดีขึ้น โดยจะสามารถคำนวณได้จากสูตร ดังนี้
Turnover Rate = (จำนวนพนักงานที่ลาออก / จำนวนพนักงานโดยเฉลี่ย) x 100
ตัวอย่างการคำนวณเป็นรายปี
- ขั้นตอนที่ 1 (จำนวนพนักงานทั้งหมดตอนต้นปี + จำนวนพนักงานทั้งหมดตอนสิ้นปี) / 2 = B
- ขั้นตอนที่ 2 (จำนวนพนักงานที่ออก / B ) x 100 = Turnover Rate %
ตัวอย่างเช่น บริษัท มีเงิน จำกัด ในปี 2024
ต้นเดือน มกราคม 2024 มีพนักงานรวม 43 คน
ระหว่างปี รับเพิ่มมา 15 คน และลาออกไป 8 คน
บริษัท มีเงิน จำกัด สิ้นเดือนพฤษภาคม 2024 มีพนักงานคงเหลือทั้งหมด 50 คน
วิธีคำนวณหา Turnover Rate ของบริษัท มีเงิน จำกัด จึงเท่ากับ
(43 + 50) / 2 = 46.5
(8 / 46.5) x 100 = 17.2%เพราะฉะนั้น ในปี 2024 Turnover Rate ของ บริษัท มีเงิน จำกัด คือ 17.2%
ผลเสียที่ตามมา หลังจากพนักงานลาออก
องค์กรจะดำรงอยู่ไม่ได้เลยหากขาดมันสมอง และแรงงานของพนักงาน แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หากพนักงานเกิดลาออกขึ้นมา มาดูผลเสียที่ตามมากันดีกว่า!
- ต้นทุนของการหาพนักงานใหม่นั้นสูงถึง 1.5-2 เท่าของเงินเดือนพนักงาน ซึ่งหมายความว่า การที่พนักงาน 1 คน มีรายได้ 240,000 ต่อปี แล้วลาออกไป ทางองค์กรจะต้องจ่ายมากถึง 480,000 ต่อปี เพื่อสรรหาพนักงานใหม่มาแทน
- อาจเกิดสถานการณ์ที่คนมาใหม่ไม่เหมาะสม และเรียนรู้งานได้ไม่ดีพอเท่ากับคนเก่า ซึ่งอาจสร้างผลกระทบกับองค์กรได้มากมาย โดยเฉพาะในส่วนของประสิทธิภาพของงาน
- อาจทำให้ขั้นตอนในการทำงานติดขัด เช่น ในกรณีที่คนเก่าออกไป แล้วทำงานค้างไว้ พอคนใหม่เข้ามารับหน้าที่แทน ก็อาจเกิดสถานการณ์ที่คนใหม่ไม่เข้าใจในเนื้องานได้ดีพอ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเชื่อใจ ที่ลูกค้ามีต่อองค์กรได้
7 สิ่งที่ทำให้พนักงานลาออก และค่า Turnover Rate สูง
แน่นอนว่า สาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออก ก็ย่อมมีเหตุผลที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม HR หรือฝ่ายบุคคล ก็อย่าเพิ่งมองข้าม ลองสำรวจองค์กรว่ามี 7 สิ่งต่อไปนี้หรือไม่!
1. วัฒนธรรมองค์กรย่ำแย่ (Toxic work culture)
เริ่มจากสาเหตุแรกที่ทำให้พนักงานลาออก และส่งผลให้ค่า Turnover Rate สูงขึ้น คือการที่วัฒนธรรมขององค์กร หรือโครงสร้างที่หยั่งรากลึกขององค์กรมีปัญหา องค์กรมีทัศนคติที่แย่ ไม่ได้สร้างความแน่นอนในอาชีพการงานของพนักงานได้มากพอ หรือแนวคิดที่ให้พนักงานรับภาระหน้าที่งานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง จึงทำให้หลายๆ คนเริ่มเอือมระอา จนตัดสินใจที่จะลาออกไปในที่สุด
2. ภาระหน้าที่มากเกินไป
ความกระตือรือร้นในหน้าที่การงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากภาระงานมากเกินไป จนพนักงานไม่สามารถจัดการได้ ก็ส่งผลให้ตัดสินใจลาออกไปในที่สุด เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากทำงานทีละมากๆ จนไม่สามารถจัดการเวลาพักผ่อนได้ เพราะความเหนื่อยจากงานไม่ใช่ปัญหาเดียว แต่ถ้าหากทำงานจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ก็ย่อมไม่คุ้มอยู่แล้ว
3. ได้รับหน้าที่งานที่ไม่ถนัด
ปัญหาที่พบได้บ่อยๆ และส่งให้ค่า Turnover Rate สูงขึ้น คือการที่พนักงานได้รับหน้าที่ที่ไม่ถนัดมากพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเกิดจากองค์กรมองเห็นพัฒนาการของความสามารถ แล้วคาดหวังที่จะให้พนักงานได้พบเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วต่อยอดความสามารถนั้นเพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการที่โดนโยนงานมาให้ทำโดยไม่ทันตั้งตัว และเป็นงานที่ไม่มีความคุ้นชิน ก็อาจส่งผลให้ความมั่นใจในตัวเองของพนักงานลดน้อยลงได้
4. มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
แน่นอนว่าคนเราอยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกัน ย่อมมีกระทบกระทั่งกันบ้าง โดยเฉพาะในที่ทำงาน ที่บางครั้งอาจเกิดจากความคิดเห็นในการทำงานไม่ตรงกัน หรืออาจจะเกิดจากปัญหาส่วนตัว ที่การใช้ชีวิต หรือนิสัยส่วนตัวเข้ากันไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีที่มาที่ไปที่แตกต่างกัน ถูกสั่งสอนมาไม่เหมือนกัน หากไม่มีวุฒิภาวะกันมากพอ ย่อมส่งผลให้ตัดสินใจลาออกกันไปในที่สุด
5. องค์กรมองข้ามความสำคัญของพนักงาน
พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากันฉันใด องค์กรย่อมให้ความสำคัญกับพนักงานไม่เท่ากันฉันนั้น แน่นอนว่าจะหวังให้องค์กรดูแลพนักงานทุกคนเท่าๆ กัน คงทำได้ยาก แต่ในส่วนสำคัญคือการให้ความสำคัญกับพนักงาน คอยชื่นชมหากพนักงานทำงานได้ดี คอยตักเตือนดีๆ หากมีการทำงานผิดพลาด องค์กรคอยสร้างโอกาสในหน้าที่ทำงานให้พนักงานอยู่เสมอ ไว้วางใจให้ทำงานในโปรเจคสำคัญ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดีให้พวกเขา
6. สวัสดิการขององค์กรอื่นที่ดีกว่า
พนักงานถือเป็นฟันเฟืองสำคัญขององค์กร ที่คอยขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาขึ้นได้ในอนาคต เพราะฉะนั้น นอกจากเงินเดือนแล้ว สิ่งสำคัญคือการมอบสวัสดิการที่น่าสนใจให้กับพนักงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการวันหยุดพักร้อน ลาป่วย หรือลากิจ รวมถึงสวัสดิการอาหาร เพื่อเป็นกำลังใจสำคัญให้พนักงานมีแรงใจในการทำงานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างมุมมองที่ดีต่อองค์กรด้วย
7. พนักงานต้องการเงินเดือนที่มากขึ้น
ทุกการใช้ชีวิตต้องใช้เงิน เงินเดือนจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้พนักงานอุทิศตัวทำงานในองค์กรได้ หากองค์กรสามารถปรับขึ้นเงินเดือน หรือให้โบนัสตามผลงานได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีแรงใจในการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าผลตอบแทนไม่สมเหตุสมผล หรืองานเยอะขึ้นแต่ผลตอบแทนเท่าเดิม ก็เป็นเหตุที่ทำให้พนักงานไม่อยากอยู่ต่อ และส่งผลให้ค่า Turnover Rate สูงขึ้นนั่นเอง
7 วิธีป้องกันการลาออกของพนักงาน และลดค่า Turnover Rate
หาก HR หรือฝ่ายบุคคล มองข้ามความสำคัญของพนักงานไป อาจจะทำให้สูญเสียพนักงานคนสำคัญไป ดังนั้น เรามาดูวิธีป้องกันการลาออกของพนักงาน เพื่อลดค่า Turnover Rate กันดีกว่า!
1. ปรับปรุงพฤติกรรมพนักงานที่ท็อกซิก
องค์กรต้องให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงาน แต่ถ้าหากมีพนักงานบางคนที่ทำตัวท็อกซิกจนคนอื่นๆ เอือมระอา ก็จำเป็นต้องคอยตักเตือน เพราะหากปล่อยปละละเลย พนักงานคนเดียว ก็อาจทำให้พนักงานกว่า 10 คนลาออกได้ และย่อมส่งผลให้ค่า Turnover Rate สูงขึ้นได้
2. หมั่นพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
ปัญหาบางอย่างก็ควรแก้ที่โครงสร้าง หรือต้นเหตุ เพราะการแก้ที่ปลายเหตุไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย องค์กรควรยึดมั่นแนวคิดในเรื่องการทำงานอย่างเที่ยงตรง เช่น ห้ามให้พนักงานทำงานเกินหน้าที่เด็ดขาด หรือถ้าหากจำเป็นต้องทำงานเกินเวลา ก็ควรมีค่าล่วงเวลาให้พนักงานด้วย เพราะเวลาแต่ละวินาทีนั้นมีค่า และงานฟรีไม่มีในโลก!
3. ให้ความสำคัญกับ work-life balance
การให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นเรื่องที่ดี เพราะยิ่งประสบการณ์เยอะเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้พนักงานเก่งมากขึ้นเท่านั้น แต่สมดุลแห่งการใช้ชีวิตก็สำคัญเช่นกัน เพราะหากปล่อยให้พนักงานทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน ก็อาจส่งผลกระทบมากมายเลยทีเดียว เช่น บางคนอาจทำงานหนักจนป่วย นอนไม่พอจนทำงานผิดพลาด เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การไม่ให้ Work-Life Balance แก่พนักงานนั้นสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างมากเลยทีเดียว
4. เลือกจ้างพนักงานให้ถูกคน
องค์กรควรให้ความสำคัญในการเลือกสรรพนักงาน เพราะหากเลือกจ้างคนที่ไม่ได้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่ง ก็อาจส่งผลให้เกิดอันตราการลาออก หรือค่า Turnover Rate มีสูงมากขึ้นไปอีก หากองค์กรต้องการลดค่า Turnover Rate ก็ควรตั้งใจเลือกพนักงานที่เหมาะสมให้มากที่สุด ในช่วงสัมภาษณ์อาจจะต้องถามคำถามให้ครอบคลุม ทั้งเรื่องรายละเอียดงาน เพื่อวัดความสามารถ หรือเรื่องส่วนตัว อย่างเรื่องไลฟ์สไตล์ แนวคิด เพราะทัศนคติก็สำคัญต่อการทำงานไม่น้อยเลย
5. สร้างความก้าวหน้าทางอาชีพให้พนักงาน
ใครๆ ก็อยากก้าวหน้ากันทั้งนั้น โดยเฉพาะในเรื่องหน้าที่การงาน เพราะนั่นหมายความว่าผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย แถมยังเป็นการการันตีได้ว่า ความรู้ความสามารถที่ได้เรียนรู้ระหว่างนี้ จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในอนาคต องค์กรจึงควรให้โอกาสให้พนักงานได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ หรือเรียนรู้อะไรที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อที่พนักงานจะได้พัฒนาตัวเอง และพัฒนาองค์กรไปในคราวเดียวกัน
6. ตอบแทนพนักงานที่ทำงานได้ดี
นอกจากการมอบค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อให้กับพนักงานที่ทำผลงานได้ดีแล้ว ก็ควรหมั่นชื่นชม และขอบคุณพนักงานบ้าง เพราะคำชื่นชมย่อมสร้างผลลัพธ์ที่ดีแน่นอน และอาจสร้างอิทธิพลที่ดี ที่จะทำให้พนักงานขยันทำงาน และตั้งใจทำงานมากขึ้นก็ได้ ยิ่งบรรยากาศการทำงาน และเพื่อนร่วมงานดีมากเท่าไร ก็ยิ่งกระตุ้นให้พนักงานไม่อยากลาออก และอยากอยู่ต่อไปนานๆ
7. วิเคราะห์สาเหตุลาออก และหาทางแก้ไข
คนเราทำผิดพลาดกันได้ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นมากกว่า เพราะฉะนั้น หากเกิดสถานการณ์ที่พนักงานลาออก องค์กรควรให้ความสำคัญ ถามไถ่เหตุผลที่ลาออก หรือหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เพื่อหาหนทางแก้ไขต่อไป เพราะถึงแม้จะไม่สามารถรั้งพนักงานไว้ได้แล้ว แต่อย่างน้อยก็สามารถนำข้อที่ควรปรับปรุง มาพัฒนาองค์กรต่อไป เพื่อลดอัตราค่า Turnover Rate ลงนั่นเอง
สรุป
Turnover Rate ของพนักงาน คืออัตราการลาออกของพนักงาน ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกได้ว่า องค์กรมีความน่าอยู่มากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้นำข้อควรปรับปรุง มาพัฒนาองค์กร และลดค่า Turnover Rate ให้น้อยลงนั่นเอง โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้พนักงานส่วนใหญ่ก็มาจากวัฒนธรรมองค์กรที่แย่เกินไป งานเยอะเกินไป มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ถูกมองข้าม หรือโดนตำหนิอยู่บ่อยครั้ง และที่สำคัญคือผลตอบแทน และสวัสดิการที่ไม่เป็นที่น่าพอใจมากเท่าที่ควร
ดังนั้น องค์กรควรร่วมกันหาวิธีป้องกันไม่ให้พนักงานลาออก ซึ่งอาจทำให้ค่า Turnover Rate สูงขึ้นได้ อาจเริ่มที่การพัฒนาโครงสร้างที่ดีให้กับองค์กร ตักเตือนพนักงานท็อกซิก ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคน ตอบแทนด้วยเงินเดือนที่เหมาะสม มอบหน้าที่ให้ตรงกับความสามารถของพนักงาน คอยมอบโอกาสในการพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำงานของพนักงาน รวมถึงการวิเคราะห์สาเหตุในการลาออกของพนักงานด้วย เพื่อปรับปรุง และแก้ไขต่อไปในอนาคต
มาร่วมสร้างสวัสดิการดีๆ บรรยากาศการทำงานที่ยอดเยี่ยม เพื่อให้พนักงานมีแรงใจในการทำงาน ด้วยการเช่าสำนักงาน หรือออฟฟิศที่ CW Tower ที่มีทั้งออฟฟิศสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์พร้อมให้เข้าทำงานได้เลย หรือจะเป็นออฟฟิศว่าง ที่มอบโอกาสให้องค์กรของคุณได้สร้างสรรค์การตกแต่งภายในได้ตามความสะดวกเลย