Key Takeaway
|
Table of Contents
Career Path คืออะไร? เส้นทางสู่ความฝันที่คนทำงานต้องรู้
Career Path คือเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ช่วยให้เราทราบตำแหน่งปัจจุบันและทิศทางการเติบโต ทั้งระยะสั้นและยาว การวางแผนเส้นทางนี้ช่วยพัฒนาทักษะให้ตรงจุด มีความโดดเด่น และได้รับการยอมรับ ซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้าในงาน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรง ควรลองผิดลองถูกเพื่อค้นหาสายอาชีพที่เหมาะสม
รู้จักระดับตำแหน่งใน Career Path เพื่อความก้าวหน้า
ระดับตำแหน่งใน Career Path คือการกำหนดลำดับของตำแหน่งในองค์กรหรืออุตสาหกรรม โดยแต่ละตำแหน่งมีความรับผิดชอบและบทบาทที่แตกต่างกัน องค์กรหรือบริษัทต่างๆ อาจใช้ชื่อหรือระบบการจัดตำแหน่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและความต้องการของแต่ละที่ เช่น
- Entry-Level Position มักเริ่มจากการทำงานในระดับปฏิบัติการทั่วไป เพื่อเพิ่มทักษะและสะสมประสบการณ์ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
- Mid-Level Positions ช่วงกลางของ Career Path ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการแก้ปัญหางาน
- Management Positions ด้วยประสบการณ์ที่มากขึ้น จึงถึงเวลาก้าวสู่ตำแหน่งระดับอาวุโสที่ต้องใช้ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และภาวะผู้นำ พร้อมทั้งอำนาจการตัดสินใจที่มีผลต่อทีมและแผนก
- Leadership Roles ตำแหน่งสูงสุดของ Career Path รับผิดชอบเรื่องสำคัญที่มีผลต่อภาพรวม ทิศทาง และความสำเร็จขององค์กร
- Expert Roles บาง Career Path ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์ลึกซึ้ง เพื่อให้คำปรึกษาหรือดำเนินงานตามความเชี่ยวชาญ
- Entrepreneurship ตำแหน่งนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างและดำเนินธุรกิจของตนเอง ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ มุ่งมั่น และพร้อมรับมือกับความเสี่ยง
วิธีวางแผน Career Path สร้างเส้นทางอาชีพให้ชัดเจน
เพื่อความสำเร็จในอาชีพ การวางแผน Career Path ล่วงหน้ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เรามีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ดังนี้
วางเป้าหมายในการทำงาน
การสร้าง Career Path เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายในอาชีพ เช่น ต้องการทำงานในสายไหน และต้องการเลื่อนตำแหน่งไปถึงระดับใด การกำหนดฐานเงินเดือนที่ต้องการสามารถเป็นตัวช่วยในการกำหนดเป้าหมายได้
สำหรับผู้ที่เพิ่งเรียนจบและเริ่มทำงาน การกำหนดฐานเงินเดือนตามตำแหน่งอาจเป็นแนวทางที่ดีในช่วงเริ่มต้น แต่หากมีเป้าหมายอาชีพชัดเจนแล้ว ก็สามารถมุ่งสู่เป้าหมายนั้นได้ทันที
พัฒนาทักษะและเพิ่มความสามารถ
เมื่อวาง Career Path ไว้แล้ว การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความสามารถในสายงานที่ทำ เริ่มต้นจากการพัฒนาตัวเองให้ตรงตาม KPI ที่บริษัทกำหนด แล้วค่อยๆ ขยายฐานความรู้และทักษะให้กว้างขึ้น รวมถึงการพัฒนาความสามารถเฉพาะด้าน
ศึกษาผังขององค์กร
การสำรวจผังองค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้เรารู้ว่าในบริษัทมีสายงานและตำแหน่งต่างๆ อย่างไร ตั้งแต่ตำแหน่งใหญ่ไปจนถึงตำแหน่งเล็ก การศึกษาผังองค์กรไม่ควรจำกัดแค่สายงานของตัวเอง เพราะบางครั้งอาจมีการโยกย้ายแผนก หรืออาจมีความต้องการที่จะย้ายแผนกเอง การรู้ผังองค์กรจะช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของบริษัท และในกรณีที่ต้องติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นๆ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย
ปรับบุคลิกให้เหมาะกับตำแหน่ง
บุคลิกภาพมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้าง Creer Path เพราะส่งผลต่อความสำเร็จในการดีลงานกับลูกค้าและเป็นภาพลักษณ์ของบริษัทหรือแบรนด์
การปรับท่าทางการวางตัว การสื่อสาร และการแต่งตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่การงานจะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ต้องพบปะลูกค้าบ่อยๆ นอกจากนี้ การพัฒนาบุคลิกภาพยังช่วยเสริมการก้าวหน้าและเลื่อนตำแหน่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งจำนวนเงินเดือนที่ต้องการ
สิ่งสำคัญในการสร้าง Career Path คือการกำหนดฐานเงินเดือนที่ต้องการไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งเป้าหมายอาชีพ เมื่อเรามีความสามารถและพัฒนาทักษะขึ้น ฐานเงินเดือนก็สามารถขยายขึ้นได้ หากต้องการเพิ่มฐานเงินเดือนอย่างรวดเร็ว การลาออกเพื่อหางานใหม่ที่ให้เงินเดือนสูงขึ้นสามารถเป็นวิธีที่ช่วยให้เลื่อนขั้นได้เร็วที่สุด
ทบทวนตนเองอยู่ตลอด
เมื่อทำงานไปเรื่อยๆ สิ่งที่ควรทำคือการทบทวนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของตัวเองเป็นหลัก บางครั้งปัจจัยภายนอกอาจทำให้เรามุ่งหวังรายได้ที่เพิ่มขึ้น จนทำให้ทำงานหนักขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและสุขภาพได้
ดังนั้นจึงควรทบทวนเป้าหมายของตัวเอง และค่อยๆ ไต่เต้าขึ้นไปอย่างไม่ต้องเร่งรีบ เพื่อไม่ให้เสียสมดุลในชีวิต โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ที่อาจได้รับผลกระทบ
ตัวอย่าง Career Path ในสายงานที่หลากหลาย
แต่ละสายงานมีเส้นทางอาชีพที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและทักษะที่ต้องใช้ ในแต่ละสายอาชีพ มาดูตัวอย่าง Career Path ในแต่ละสายงานว่าควรวางแผนและพัฒนาตัวเองอย่างไรบ้าง
ผู้จัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
Human Resources (HR) หรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นแผนกที่ทุกคนในองค์กรรู้จักดี โดยมีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานทุกฝ่าย การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ดูแลสวัสดิการ และจัดการเรื่อง Pay Roll หรือการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานในองค์กร
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Human Resources
- Human Resources Assistant
- Benefits Assistant
- Benefits Specialist
- Assistant Director of Human Resources
- Director of Human Resources
นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer)
นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer) คือผู้ที่ทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น โซเชียลมีเดีย (Facebook, Instagram, TikTok, Line และ Twitter) หรือเครื่องมือค้นหา (Google, Bing และ Yahoo) เพื่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นสื่อกลางในการส่งข้อความไปยังผู้บริโภค ทักษะที่จำเป็นในการทำงานในสายนี้ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจจากข้อมูล การวางแผนการตลาดออนไลน์ การบริหารงบประมาณสำหรับโฆษณา และทักษะการสื่อสารที่ดี เป็นต้น
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Digital Marketer
- Digital Marketing Intern
- Digital Account Executive
- Digital Marketing Specialist
- Digital Account Manager
- Lead Specialist
- Digital Director
ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
สายงาน Project Manager มักเริ่มจากตำแหน่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการโครงการโดยตรง แต่เมื่อสะสมประสบการณ์ ผู้ทำงานในสายนี้จะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมและปรับปรุงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ตำแหน่ง Project Manager เป็นที่ต้องการในทุกองค์กร ทักษะที่จำเป็น ได้แก่ การวางกลยุทธ์ การเป็นผู้นำ การจัดการงานตามกำหนดเวลา และการสื่อสารที่ดี
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Project manager
- Entry-level Project Management
- Project Manager
- Senior Project Manager
- Director of Project Management
- VP of Operations, COO
นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Scientist)
นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) คือผู้ที่รับผิดชอบในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาสร้างแผนภาพหรือโมเดลในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และหา Solution แก้ปัญหาต่างๆ โดยใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจ หรือเพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กร
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ Data Scientist
- Data Analyst
- Senior-level Analyst
- Analytics Manager
- Specialist Analysts (e.g., Financial, Marketing, Systems)
- Consultant
นักออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX Designer)
UX Designer (User Experience Designer) คือ ผู้ที่ออกแบบประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ โดยเริ่มต้นจากสายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบกราฟิกหรือ UI ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น UX การทำงานในสายนี้ต้องมีทักษะการออกแบบต่างๆ เช่น การร่างภาพต้นแบบ (Wireframe) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบกับผู้ใช้ (Testing) พร้อมทั้งความเข้าใจในความต้องการและปัญหาของผู้ใช้เพื่อให้การออกแบบตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริง
ตัวอย่าง Career Path ในสายอาชีพ UX Designer
- UX Management
- Advanced UX Positions
- Freelancing
- UX Consulting
- UX Specialist (Engineer, Researcher)
ทำไม Career Path ถึงสำคัญสำหรับคนทำงาน
ความสำคัญของ Career Path ที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับคนทำงานในองค์กร มีดังนี้
- การตั้งเป้าหมายและวางแผน Career Path ช่วยให้การทำงานมีทิศทางที่ชัดเจนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- Career Path ช่วยกำหนดทิศทางในการพัฒนาทักษะและความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับโอกาสในการเติบโตทางอาชีพ
- การเลือกอาชีพที่พึงพอใจมีผลต่อคุณภาพชีวิต ช่วยสร้างความสุขในชีวิตประจำวันและส่งผลให้คนทำงานมีความมั่นคงและสุขภาพจิตที่ดี
- การเลือก Career Path ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางการเงิน โดยการพัฒนาทักษะที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตในอาชีพและการต่อรองเงินเดือน พร้อมทั้งมีความมั่นคงในรายได้และอาชีพ
สรุป
Career Path คือเส้นทางอาชีพที่กำหนดการเติบโตและพัฒนาของบุคคลในองค์กร โดยมีหลายระดับจากตำแหน่งเริ่มต้นจนถึงตำแหน่งสูงสุด ขึ้นอยู่กับทักษะและประสบการณ์ที่สะสม การวางแผน Career Path ช่วยให้มีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน พัฒนาทักษะที่จำเป็น และเพิ่มโอกาสในการเติบโต รวมถึงการบรรลุเป้าหมายทางการเงินและความสำเร็จในอาชีพ
CW Tower มีออฟฟิศให้เช่าที่รองรับคนทำงานในทุกตำแหน่ง โดยออกแบบเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น สะดวกสบาย และเหมาะสมสำหรับการพัฒนาทักษะ รวมถึงการเติบโตในสายอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ