Affiliate Marketing คือเส้นทางทำเงินจากการแนะนำสินค้าจริงไหม?

Affiliate Marketing คือเส้นทางทำเงินจากการแนะนำสินค้าจริงไหม?
Key Takeaway
  • Affiliate Marketing คือรูปแบบหนึ่งของการตลาดออนไลน์ที่ผู้ทำการตลาด (Affiliate) ทำหน้าที่แนะนำสินค้าและบริการของผู้ขาย (Merchant) ผ่านลิงก์พิเศษที่ถูกสร้างขึ้น
  • เมื่อผู้เข้าชมคลิกลิงก์ Affiliate คุกกี้ติดตามจะถูกสร้างขึ้นในเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ และลิงก์นั้นจะมีระยะเวลาตามที่กำหนด ลูกค้าจะต้องซื้อสินค้าภายในระยะเวลานั้นเพื่อให้ผู้เผยแพร่ Affiliate ได้ค่าคอมมิชชัน
  • ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing ยังมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเริ่มต้นต่ำ ความเสี่ยงในการขายต่ำ และความยืดหยุ่นในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีผลตอบแทนสูงอีกด้วย
  • ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม Affiliate Marketing ที่ได้รับความนิยมมากมายเช่น TikTok Shop, Shopee, Lazada, Agoda, และ Priceza
  การค้นหาวิธีสร้างรายได้เสริมที่ไม่ต้องใช้เวลาหรือการลงทุนมากเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน และหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือการทำ Affiliate Marketing หรือการแนะนำสินค้าผ่านลิงก์แนะนำ แต่นี่เป็นวิธีที่ที่สามารถสร้างรายได้ได้จริงหรือไม่? ในบทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจกับ Affiliate Marketing คืออะไร หลักการทำงานเป็นอย่างไร เทคนิคการเริ่มต้นพร้อมด้วยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยให้คุณเปลี่ยนการแนะนำสินค้าให้เป็นรายได้ที่ไหลเข้ากระเป๋า มาร่วมค้นพบเส้นทางทำเงินที่น่าตื่นเต้นนี้ไปพร้อมกัน

Table of Contents

Affiliate Marketing การตลาดแบบพันธมิตร คืออะไร

Affiliate Marketing การตลาดแบบพันธมิตร คืออะไร

Affiliate Marketing คือรูปแบบหนึ่งของการตลาดออนไลน์ที่ผู้ทำการตลาด (Affiliate) ทำหน้าที่แนะนำสินค้าและบริการของผู้ขาย (Merchant) ผ่านลิงก์พิเศษที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับแต่ละ Affiliate โดยเฉพาะ เมื่อมีลูกค้าคลิกที่ลิงก์นั้นและทำการซื้อสินค้า หรือดำเนินกิจกรรมที่กำหนด เช่น การกรอกแบบฟอร์มหรือการสมัครสมาชิก ผู้ทำการตลาดจะได้รับค่าคอมมิชชันเป็นรางวัลตอบแทนโดยระบบจะบันทึกข้อมูลและจัดการจ่ายค่าคอมมิชชันให้กับ Affiliate โดยอัตโนมัติ

หลังจากที่เราได้รู้จักกับ Affiliate Marketing และวิธีการทำงานแล้ว ไปดูองค์ประกอบสำคัญของการทำ Affiliate Marketing ว่ามีอะไรบ้าง ที่จะช่วยให้เริ่มต้นและประสบความสำเร็จในการทำเงินผ่านการแนะนำสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

  • The Merchant หรือ ผู้ขาย ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในชื่อ ผู้สร้าง แบรนด์ ผู้ค้าปลีก หรือผู้จำหน่าย ซึ่งเป็นฝ่ายที่สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา โดยผู้ขายอาจเป็นบริษัทขนาดใหญ่ หรือร้านค้าท้องถิ่นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจคนเดียว ธุรกิจเริ่มต้น หรือบริษัทใหญ่ก็สามารถเป็นผู้ขายในโปรแกรม Affiliate Marketing ได้ เพียงแค่พวกเขามีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ต้องการขาย
  • The Affiliate หรือ ผู้เผยแพร่ Affiliate ซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือทั้งบริษัทก็ได้ โดยผู้ทำการตลาดแนะนำสินค้าจะโปรโมตสินค้าหรือบริการของ Affiliate หลายรายการ และพยายามดึงดูดและชักชวนลูกค้าที่มีศักยภาพให้เห็นคุณค่าของสินค้าเหล่านั้นจนกระทั่งพวกเขาตัดสินใจซื้อ การทำเช่นนี้สามารถทำได้โดยการสร้างบล็อกรีวิวสินค้าของผู้ขาย
  • The Consumer หรือ ผู้บริโภค คือส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบ Affiliate ดำเนินไปได้ หากไม่มีการขายเกิดขึ้น ก็จะไม่มีค่าคอมมิชชันให้แบ่งปัน และไม่มีรายได้ที่จะถูกแชร์ออกไป โดยผู้ทำการตลาดแนะนำสินค้าจะพยายามโปรโมตไปยังผู้บริโภคผ่านช่องทางที่พวกเขาเห็นว่าเหมาะสม
  • The Affiliate Network หรือ เครือข่ายพันธมิตร ซึ่งบางคนมองว่าเครือข่ายไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการทำ Affiliate Marketing แต่อย่างไรก็ตาม The Affiliate Network ก็มียังคงเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Affiliate Marketing เพราะเครือข่ายมักทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ทำการตลาดแนะนำสินค้าและผู้ขายเสมอ

หลักการทำงานของ Affiliate Marketing

หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมในฐานะพันธมิตร ซอฟต์แวร์ของผู้ขายจะสร้าง Affiliate Marketing ซึ่งก็คือ ลิงก์ที่เชื่อมเข้าสู่หน้าสินค้า สามารถใช้ลิงก์นี้ในการโปรโมตเนื้อหาผ่านช่องทางต่างๆ เช่น บล็อก หรือโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อผู้เข้าชมคลิกลิงก์ Affiliate คุกกี้ติดตามจะถูกสร้างขึ้นในเบราว์เซอร์ของผู้ใช้ และลิงก์นั้นจะมีระยะเวลาตามที่กำหนด โดยอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 24 ชั่วโมงถึง 60 วัน ลูกค้าจะต้องทำการซื้อสินค้าภายในระยะเวลานั้นเพื่อให้ผู้เผยแพร่ Affiliate ได้ค่าคอมมิชชัน

เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อ ระบบติดตาม Affiliate จะบันทึกรายละเอียดการซื้อขายและตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกรรม หลังจากนั้นผู้เผยแพร่ Affiliate จึงจะได้รับค่าคอมมิชชันตามข้อกำหนดของข้อตกลง

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing ควบคู่กับงานประจำ

ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing ควบคู่กับงานประจำ

Affiliate Marketing คือกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมจากการแนะนำสินค้าและบริการ โดยไม่ต้องลงทุนมากหรือเสี่ยงสูง การทำ Affiliate Marketing ควบคู่กับงานประจำมีข้อดีมากมาย ดังนี้

  • ต้นทุนเริ่มต้นต่ำ
  • ผลตอบแทนการลงทุน (ROI) ที่สูง
  • การเข้าชมเว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้น
  • การเพิ่มความน่าเชื่อถือ
  • การสร้างการรับรู้แบรนด์
Affiliate Marketing มีกี่ประเภท

Affiliate Marketing มีกี่ประเภท

Affiliate Marketing คือวิธีการที่มีความหลากหลายในการสร้างรายได้จากการแนะนำสินค้าและบริการ โดยมีประเภท Affiliate Marketing อยู่ 3 ประเภทที่ควรรู้จัก ดังนี้

Related Affiliate Marketing

Related Affiliate Marketing คือการโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายของพันธมิตร พันธมิตรในประเภทนี้ได้ลงทุนเวลาและทรัพยากรเพื่อสร้างฐานผู้ติดตามผ่านการเขียน Blog, YouTube, TikTok หรือการตลาดเนื้อหาอื่นๆ พวกเขาอาจเป็นผู้มีอิทธิพลที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ชม แต่พันธมิตรในลักษณะนี้อาจไม่จำเป็นต้องอ้างว่าตนเองใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นจริงๆ

Unattached Affiliate Marketing

Unattached Affiliate Marketing คือรูปแบบของการโฆษณาที่พันธมิตรไม่มีความเชื่อมโยงหรือความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขากำลังโปรโมต พันธมิตรในประเภทนี้อาจไม่มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และไม่ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแนะนำหรืออ้างถึงการใช้ผลิตภัณฑ์นั้น

Involved Affiliate Marketing

Involved Affiliate Marketing คือการสร้างความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งระหว่างพันธมิตรกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พวกเขากำลังโปรโมต พันธมิตรในรูปแบบนี้ไม่เพียงแค่โปรโมตผลิตภัณฑ์ แต่ยังได้ใช้หรือกำลังใช้มันอยู่จริงๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าประสบการณ์เชิงบวกที่พวกเขามีสามารถส่งต่อให้ผู้อื่นได้อย่างแท้จริง การที่พันธมิตรให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้ได้ทำให้พวกเขาเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่ในขณะเดียวกัน หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ความน่าเชื่อถือของพันธมิตรอาจได้รับผลกระทบได้เช่นกัน

5 Affiliate Marketing ที่นิยมในปัจจุบัน

5 Affiliate Marketing ที่นิยมในปัจจุบัน

สำรวจความนิยมในโลกของ Affiliate Marketing คือสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน! ตั้งแต่การใช้พลังของอินฟลูเอนเซอร์ไปจนถึงการสร้างคอนเทนต์วิดีโอที่ดึงดูดใจ มาดูกันว่าเทรนด์ใหม่ๆ เหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการโปรโมตผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับพันธมิตรกันอย่างไร

1. TikTok Shop

TikTok Shop คือแพลตฟอร์มการชอปปิงออนไลน์ที่ถูกสร้างขึ้นโดย TikTok เพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าโดยตรงจากแอปพลิเคชันที่พวกเขาใช้ชมวิดีโอและสร้างคอนเทนต์ได้อย่างสะดวกสบาย โดย Marketing บน TikTok Shop มักใช้รูปแบบคอนเทนต์วิดีโอที่มีความสร้างสรรค์และดึงดูด เช่น รีวิวผลิตภัณฑ์ แสดงวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงการสร้างวิดีโอที่เข้ากับเทรนด์หรือ Challenge ที่กำลังเป็นที่นิยมเพื่อเพิ่มการมองเห็นก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน โดยมีขั้นตอนการทำ Affiliate ใน TikTok Shop ดังนี้

  1. ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Affiliate ของ TikTok Shop
  2. หลังจากได้รับการอนุมัติให้เป็นพันธมิตรแล้ว สามารถเลือกผลิตภัณฑ์จาก TikTok Shop
  3. สร้างวิดีโอที่น่าสนใจและดึงดูดใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และใส่ Affiliate Link คือ ลิงก์ที่เชื่อมเข้าสู่หน้าสินค้าในคำบรรยาย
  4. โพสต์วิดีโอในบัญชี TikTok และใช้เทคนิคการตลาดเช่นการใช้แฮชแท็กที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มการมองเห็น

2. Shopee

Affiliate Shopee คือแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ที่เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถรับค่าคอมมิชชันจากการโปรโมตสินค้าและบริการของ Shopee ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เว็บไซต์ บล็อก หรือโซเชียลมีเดีย โดยสามารถสมัครเพื่อเป็นพันธมิตร และโปรโมตสินค้าได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมผ่านเว็บไซต์ Shopee Affiliate โดยกรอกข้อมูลที่จำเป็นและรอการอนุมัติ
  2. เลือกสินค้าหรือบริการที่ต้องการโปรโมตจาก Shopee และรับลิงก์ Affiliate ที่เกี่ยวข้อง
  3. ใช้ช่องทางการตลาดที่มี เช่น Instagram TikTok หรือ Facebook เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่น่าสนใจ
  4. เผยแพร่คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อดึงดูดการคลิกและการซื้อจากผู้ชม

3. Lazada

Lazada คือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำที่ให้บริการตลาดออนไลน์ครอบคลุมหลายประเทศ ด้วยความหลากหลายของสินค้า ทำคอนเทนต์หรือรูปแบบการทำ Affiliate ได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความรีวิวหรือแนะนำสินค้า โพสต์บนโซเชียลมีเดีย รวมไปจนถึงการสร้างคอนเทนต์วิดีโอเกี่ยวกับสินค้า โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตรของ Lazada ด้วยการเลือก ไดเรคทอรีผู้ลงโฆษณา
  2. จากนั้นทำการเปลี่ยนประเทศที่ต้องการโปรโมตสินค้า
  3. จากนั้นคลิก ส่งแสริม คลิก สมัคร เพื่อรอการอนุมัติ
  4. หลังจากได้รับการอนุมัติแล้ว การจะสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการโปรโมตได้
  5. ใช้ Affiliate Link คือลิงก์ที่เชื่อมเข้าสู่หน้าสินค้าในการโปรโมตสินค้าในเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย
  6. ใช้เครื่องมือที่ Lazada ให้มาเพื่อติดตามการคลิกและการซื้อสินค้าผ่านลิงก์
  7. เมื่อมีการซื้อสินค้าผ่านลิงก์ ค่าคอมมิชชันจะถูกคำนวณและจ่ายตามเงื่อนไข

4. Agoda

Agoda เป็นแพลตฟอร์มจองที่พักและบริการท่องเที่ยวออนไลน์ที่โด่งดังในระดับโลก ให้บริการจองโรงแรม รีสอร์ต และที่พักหลากหลายประเภท รวมถึงตัวเลือกการจองตั๋วเครื่องบินและกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดย Agoda มีฐานข้อมูลที่พักขนาดใหญ่พร้อมตัวเลือกหลากหลายให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่โรงแรมระดับห้าดาวไปจนถึงที่พักแบบบูติกในราคาที่เข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอพิเศษและส่วนลดมากมายสำหรับผู้ที่จองผ่านแพลตฟอร์มนี้

การทำ Affiliate กับ Agoda คือการโปรโมตบริการจองที่พักและท่องเที่ยวผ่านลิงก์พิเศษของ Agoda ซึ่งสามารถทำคอนเทนต์เกี่ยวกับการรีวิวที่พัก ทริปท่องเที่ยว แนะนำสถานที่พักที่น่าสนใจ หรือการแชร์ลิงก์ผ่านโซเชียลมีเดีย หากเจ้าของที่พักหรือโรงแรมต้องการทำ Affiliate กับ Agoda ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  1. กรอกแบบฟอร์มเพื่อลงทะเบียนที่เว็บไซต์ Agoda จากนั้นรอทำการอนุมัติ
  2. โปรโมตโรงแรมผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อดึงดูดผู้สนใจ

5. Priceza

Priceza เป็นแพลตฟอร์มการค้นหาและเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสินค้าในราคาที่ดีที่สุดจากหลายๆ ร้านค้าและเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ Priceza ยังมีตัวเลือกสินค้าให้เลือกมากมาย จึงทำให้ผู้ต้องการเป็นพันธมิตรก็สามารถเลือกทำคอนเทนต์ได้หลากหลายตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และอื่นๆ อีกมากมาย ลงบนช่องทางที่มีให้ตรงตามความชอบและผู้เข้าชมของตนเอง ซึ่งใครที่สนใจทำ Affiliate กับ Priceza ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. สมัครลงทะเบียนที่เว็บไซต์ Priceza และกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง
  2. เลือกสินค้าที่ต้องการ
  3. จากนั้นลงคอนเทนต์บนช่องทางโซเชียลของตัวเอง และแนบ Affiliate Link คือ ลิงก์ที่เชื่อมเข้าสู่หน้าสินค้า เพื่อโปรโมตสินค้า
  4. จากนั้นรอรับค่าคอมมิชชั่นจาก Priceza
ทริคการทำ Affiliate Marketing ให้แซงรายได้ประจำ

ทริคการทำ Affiliate Marketing ให้แซงรายได้ประจำ

หาก Affiliate Marketing คือสิ่งที่คุณเพิ่งเริ่มต้นเป็นมือใหม่ และต้องการสร้างรายได้ที่สูงกว่าจากงานประจำ การเริ่มต้นด้วยทริคที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการประสบความสำเร็จ โดยทำได้ดังนี้

  1. หาแหล่งแพลตฟอร์มที่เฉพาะ เหมาะกับตัวเอง
  2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
  3. เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ
  4. ทำความรู้จักสิ่งที่กำลังโปรโมต
  5. สร้างกลยุทธ์เนื้อหาที่มั่นคง
  6. สร้างความสัมพันธ์กับผู้ชม
  7. ติดตามความสำเร็จ เพื่อนำมาปรับปรุงคอนเทนต์ในอนาคต
  8. ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อป้องกันการปิดกั้นการมองเห็น
  9. มีความอดทน เพราะอาจจะไม่เห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ ต้องอาศัยความสม่ำเสมอด้วย

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อทำ Affiliate Marketing

  • การทำ Affiliate Marketing ไม่ใช่เพียงเกี่ยวกับการโปรโมตผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างถูกวิธีเท่านั้น แต่อีกสิ่งที่มักถูกมองข้ามคือ ข้อห้าม หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อทำ Affiliate Marketing โดยมีสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงดังต่อไปนี้

    • อย่าเน้นขาย ให้เน้นคอนเทนต์ด้วย
    • อย่าเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณภาพต่ำ
    • อย่ามองข้าม หรือไม่ใส่ใจเรื่องความเร็วของเว็บไซต์
    • อย่าละเลยเนื้อหา ควรทำให้เข้าใจง่าย
    • อย่าขาย หากไม่รู้จักสินค้า
    • อย่ามองข้ามพื้นฐานของ SEO
    • การไม่ใช้เนื้อหาที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ในระยะยาว

สรุป

Affiliate Marketing คือวิธีทำเงินที่มีประสิทธิภาพโดยการแนะนำสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายเมื่อมีผู้คลิกลิงก์พิเศษที่โปรแกรมพันธมิตรจัดให้และทำการซื้อสินค้านั้นๆ โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม Affiliate Marketing ที่ได้รับความนิยมมากมายเช่น TikTok Shop, Shopee, Lazada, Agoda, และ Priceza

นอกจากนี้ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing ยังมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเริ่มต้นต่ำ ความเสี่ยงในการขายต่ำ และความยืดหยุ่นในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีผลตอบแทนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ Affiliate Marketing ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรายได้ แต่ยังเป็นโอกาสในการสร้างฐานรายได้ที่มั่นคงจากการแนะนำสินค้าหรือบริการที่คุณเชื่อมั่นและเชี่ยวชาญอีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

23 สิงหาคม 2024
22 สิงหาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024
05 กรกฎาคม 2024

เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้แบ่งปันข้อมูลดี ๆ ให้กับคุณ

หากคุณต้องการ เช่าออฟฟิศ สามารถติดต่อเราได้เลย