Key Takeaway
|
Table of Contents
Digital Disruption จุดเปลี่ยนจากความก้าวหน้าทางนวัตกรรม
Digital Disruption คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเปลี่ยนแปลงด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลฉบับเฉียบพลัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นล้วนส่งผลต่อภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องปรับตัวเพื่อสอดคล้องกับเทคโนโลยีทันสมัย
“Digital disruption” เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับธุรกิจมากๆ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้ผู้คนมักจะคาดหวังกับบริการที่มีระดับ ส่งผลให้การแข่งขันทางธุรกิจกับคู่แข่งมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหากธุรกิจมีความแตกต่างและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากอย่างมีประสิทธิภาพเท่าไร ก็ทำให้เป็นผู้นำในตลาดได้มากกว่าธุรกิจเดิมๆ ยกตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการขายของผ่านทางหน้าร้านอย่างเดียวกลายเป็นการขายผ่านทางระบบออนไลน์ ด้วยบริการที่ล้ำสมัยจึงเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวาง
Digital Disruption เกิดจากอะไร
เชื่อว่าหลายคนก็คงเห็นคำว่า Digital Disruption มานานมากๆ หลายปีแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นจากอะไรกันแน่ บทความนี้จึงนำที่มาของ Digital Disruption มาอธิบายให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1. การพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล
Digital Disruption เกิดจาก “การพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล” อย่างระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเป็นตัวเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานลักษณะแบบซ้ำๆ เดิมๆ กลายเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากหรือคิดค้นการบริการรูปแบบใหม่ๆ ระยะเวลาอันสั้น แถมยังช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคได้อีกด้วย จึงทำให้หลายหน่วยงานเตรียมพร้อมรับมือที่จะเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
พฤติกรรมผู้บริโภคที่ปรับเปลี่ยนไปนิยมใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ซึ่งยุคปัจจุบันผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพราะมีความสะดวกและรวดเร็ว เช่น ปี 2567 ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับรูปแบบออนไลน์มากถึง 52% ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การจองที่พักออนไลน์ การสั่งอาหารออนไลน์ และการจองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ เป็นต้น จึงทำให้เกิด Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแบบเฉียบพลันนั่นเอง
3. การเกิดขึ้นของโมเดลธุรกิจใหม่
การเกิดขึ้นของโมเดลธุรกิจใหม่ๆ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอย่าง การเลิกใช้โทรศัพท์ปุ่มกด เลิกเช่าวิดีโอเพื่อดูหนัง และการเลิกใช้กล้องฟิล์ม ทำให้เกิด Digital Disruption เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนเหมือนในอดีต ทำให้สินค้าต่างๆ ถูกแทนที่เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
Digital Disruption ส่งผลดีต่อธุรกิจจริงไหม?
Digital Disruption ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อธุรกิจ เพราะต้องปรับตัวและพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากไม่สามารถปรับตัวได้ทันก็มีสิทธิ์ที่จะล้าหลังและสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ในทางกลับกัน Digital Disruption ก็ยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลมากขึ้นได้เช่นกัน
มาดูว่าDigital Disruption ส่งผลกระทบในแง่มุมไหนได้บ้าง ดังนี้
1. สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
เทคโนโลยีดิจิทัล Digital Disruption นำสู่การสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าได้ดี เพราะมีเทคโนโลยีที่สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะค้นหาอะไรก็ทำได้ง่าย เช่น การสั่งของผ่านทางระบบออนไลน์ เป็นต้น
2. ขยายฐานตลาดใหม่ๆ ให้ธุรกิจ
Digital Disruption ช่วยขยายฐานตลาดใหม่ๆ ให้ธุรกิจ ดึงธุรกิจต่างๆ ออกจากเซฟโซนแบบเดิมๆ ขับเคลื่อนความก้าวหน้าด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างตลาดใหม่หรือช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงตลาดที่มีอยู่ได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของการชอปปิงออนไลน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ เข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วโลก
3. สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ
Digital Disruption คือตัวช่วยสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เปลี่ยนแปลงโมเดลแบบเดิมๆ จึงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่า ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถแข่งขันและพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น Application บนมือถือสร้างโมเดลธุรกิจใหม่เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างผู้ขับขี่กับผู้รับบริการแบบเรียลไทม์
4. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Digital Disruption คือสิ่งที่ส่งผลต่อธุรกิจมากๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานผ่านกระบวนการอัตโนมัติทำให้พนักงานมีเวลามากขึ้น เช่น ธนาคารออนไลน์มีกระบวนการจัดการเงินแบบอัตโนมัติ พนักงานจึงมีเวลาทำหน้าที่อื่นๆ อย่างการบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. พัฒนาการสื่อสาร
พัฒนาการสื่อสารได้ดี ด้วยธุรกิจมักเน้นการสื่อสารกับลูกค้าเป็นพิเศษ Digital Disruption จึงสามารถช่วยให้ธุรกิจสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เช่น การใช้แช็ตบอทเพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สื่อสารกับลูกค้าได้สะดวก แถมลูกค้าก็ได้คำตอบที่รวดเร็วและง่ายดาย
6. ประหยัดงบประมาณ
Digital Disruption คือช่วยประหยัดงบประมาณสำหรับธุรกิจได้ ด้วยการลดความจำเป็นต่างๆ ของการทำงาน เพราะสามารถใช้ระบบอัตโนมัติด้วยการใช้เทคโนโลยีได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นตัวช่วยประหยัดค่าแรงได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้ซอฟต์แวร์บริการลูกค้าแบบอัตโนมัติ เพื่อลดพนักงาน Call Center
7. สร้างงานใหม่
Digital Disruption นำไปสู่การสร้างงานใหม่ ธุรกิจมักต้องการพนักงานที่มีประสิทธิภาพการทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แน่นอนว่าสิ่งนี้อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับบริษัท เพราะสามารถช่วยเพิ่มแหล่งบุคลากรที่มีความสามารถได้ แถมเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่หางาน เช่น การใช้ Social Media ที่เพิ่มขึ้นโดยธุรกิจต่างๆ ทำให้เกิดความต้องการพนักงานที่มีทักษะการตลาดออนไลน์
ธุรกิจปรับตัวให้เท่าทัน Digital Disruption ได้อย่างไร
Digital Disruption ก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากๆ บรรดาธุรกิจจึงต้องเร่งปรับตัวให้ทัน เพื่อตอบโจทย์กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป หากธุรกิจไหนปรับตัวไม่ทัน ก็ต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงอยากจะมาชี้แนะวิธีปรับตัวให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ ดังนี้
- พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ให้ตกยุค เตรียมรับมือด้วยการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับทักษะทางดิจิทัลใหม่ๆ
- เปลี่ยนแปลงด้วยข้อมูล ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการตัดสินใจตามระยะเวลา เป็นการเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
- สร้าง Partner ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเป็นตัวช่วยสร้างขั้นตอนต่างๆ และสร้างนโยบายใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวหน้า
- มองหาประสบการณ์ใหม่ๆ และสร้างผลลัพธ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร Digital Disruption มาพร้อมกับวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นตัวช่วยบริการลูกค้าและสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ให้มีความตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น
- สร้างการผสมผสานเทคโนโลยี มองหาธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ให้เข้ากับการบริการและให้เข้ากับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่
4 ตัวอย่างของ Digital Disruption ในอุตสาหกรรมต่างๆ
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า Digital Disruption คืออะไร? มาดู 4 ตัวอย่างของ Digital Disruption ในอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้
1. ธุรกิจค้าปลีก
ธุรกิจค้าปลีกหรือ Retail Business ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีลักษณะเชิงซื้อขายสินค้าและการบริการโดยตรงกับทางผู้บริโภค เมื่อเกิด Digital Disruption เข้ามาก็ทำให้ธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อตามทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ส่วนข้อดีก็คือช่วยขยายธุรกิจได้มากขึ้น ผ่านทางโลกออนไลน์ เพราะผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา ยกตัวอย่างธุรกิจที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่แล้ว ก็คือ ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร เป็นต้น
2. อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง
เมื่อเกิด Digital Disruption ขึ้นมาบนอุตสาหกรรมสื่อและการบันเทิง อย่าง กล้องดิจิทัล ส่งผลให้การถ่ายรูป การเคลื่อนย้ายข้อมูล สามารถทำได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น หากล้องฟิล์มก็จะได้รูปที่ช้ากว่า ขนย้ายข้อมูลก็มีความสะดวกน้อยกว่า จึงเริ่มไม่ได้รับความนิยม
3. ภาคการเงินและการธนาคาร
ภาคการเงินและการธนาคารที่มีหน้าที่เป็นตัวการบริการทางการเงินแก่ลูกค้า เมื่อเกิด Digital Disruption ขึ้นแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลง แต่ทางกลับกันธนาคารก็ยังคงใช้ประโยชน์จากสาขาที่มีอยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่ผู้บริโภคก็ยังคงให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับคนจึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการ แต่การเปลี่ยนแปลงทางที่ดีก็มี คือผู้รับบริการสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ทางการเงินได้สะดวกสบาย ผ่านทาง application บนมือถือได้
4. การขนส่งและโลจิสติกส์
การขนส่งและโลจิสติกส์ เมื่อเกิด Digital Disruption ได้รับประโยชน์ที่ชัดเจนมากๆ อันดับแรกสามารถจัดการบริหารต้นทุนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลวิเคราะห์เพื่อวางแผนจัดส่งสินค้าและบริหารบุคคลเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองต่างๆ ได้ เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมซื้อของออนไลน์ จึงทำให้ร้านค้าต่างๆ ปรับรูปแบบมาขายของออนไลน์ การขนส่งและโลจิสติกส์จึงได้รับประโยชน์แบบเต็มๆ
กลยุทธ์รับมือกับ Digital Disruption
มาถึงจุดนี้ คงเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นว่า Digital Disruption คืออะไร หลายธุรกิจอาจมองว่ามันคือความท้าทายที่ไม่อยากให้มาถึง แต่หากมีการวางแผนรับมือดีๆ ความท้าทายนี้อาจเป็นตัวช่วยทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองขึ้นไปอีกก็ได้ มาดูกลยุทธ์รับมือกับ Digital Disruption ที่ได้ผลดี ดังนี้
- มีวิสัยทัศน์ที่มีความยืดหยุ่น : ผู้นำธุรกิจต้องมาพร้อมกับวิสัยทัศน์ที่ดีและเปิดกว้าง ไม่ควรประมาททุกก้าวของการดำเนินงาน แม้ว่าธุรกิจใหญ่ก็มีโอกาสแพ้คู่แข่งอย่างธุรกิจเล็กที่มีความยืดหยุ่นและมีการปรับตัวทันต่อเทคโนโลยี
- อัปเดตเทคโนโลยีเสมอ : ธุรกิจต้องปรับตัวด้วยการอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแห่งการทำงานที่ทันสมัย เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มพูนผลกำไร ด้วยการจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขององค์กร มองหาเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบ AI เป็นต้น
- ใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กร : ข้อมูลเปรียบดังสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ ของธุรกิจ ที่จะต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อรู้ลึกถึงความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ด้วยการนำข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมของลูกค้า บวกกับข้อมูลธุรกิจคู่แข่ง เพื่อสร้างกลยุทธ์ใหม่ให้สอดรับกับเทคโนโลยี
- มองหาสิ่งที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้า : ปรับตัวตามผู้บริโภคด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารด้วยการคิดค้นการโปรโมตรูปแบบที่มีความทันสมัย ผ่านการนำเสนอบนสมาร์ตโฟนของลูกค้า เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา
สรุป
สุดท้ายนี้ Digital Disruption ก็คือการแทรกของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัยก้าวเข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนการสร้างผลกระทบและความพลิกผันต่อธุรกิจมากเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวขององค์กร หากปรับตัวไม่เท่าทันกับเทคโนโลยี ก็อาจถูกแทนที่ด้วยแบรนด์ใหม่ๆ ที่นำเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาช่วย ขณะเดียวกันหากรับมือได้อย่างมีกลยุทธ์และปรับตัวได้เท่าทันอย่างต่อเนื่องก็มอบโอกาสที่ดี เทคโนโลยีก็จะช่วยพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ทันสมัยก้าวทันสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถต่อยอดให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ในทุกยุคทุกสมัย สิ่งสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมขององค์กรและบุคคล ก็คือต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและจะต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง